https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/issue/feed Warasan Ratthasat Mo So Tho 2019-08-27T22:41:15+07:00 Open Journal Systems <p><strong>วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช </strong></p> <p>จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเวที<wbr>แสดงออกทางความรู้ ความคิด ตลอดจนทรรศนะต่างๆ ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์<wbr>และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นแหล่งให้นักศึ<wbr>กษาสถาบันการศึกษาต่างๆได้สร้<wbr>างสรรค์ผลงานวิชาการสู่สังคม</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/article/view/212113 การทุจริตการเลือกตั้ง: อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย 2019-08-27T22:41:15+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร [email protected] <p>บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทุจริตการเลือกตั้งที่เป็นอุปสรรคต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตยของไทย โดยพบว่าการทุจริตการเลือกตั้งถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตยของไทย มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การสร้างระบบการทุจริตการเลือกตั้งคือ การใช้เงินในการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในกระบวนการเลือกตั้งจนส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำให้ระบอบการเมืองขาดความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพราะประชาชนจะได้ตัวแทนที่ไม่พึงปรารถนาและไม่เป็นประโยชน์ต่อระบบการเมือง อีกทั้งการคัดกรองตัวแทนทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยผ่านกระบวนการเลือกตั้งก็ควรจะเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และเชื่อถือได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้การทำให้เป็นประชาธิปไตยเป็นจริงได้ในอนาคต</p> 2019-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2018 Warasan Ratthasat Mo So Tho https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/article/view/212124 ปัญหาสิทธิของชนกลุ่มน้อยในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 2019-08-27T19:27:49+07:00 พ.ต.ท.ดร.เทิดสยาม บุญยะเสนา [email protected] <p>ปัญหาเรื่องสิทธิของชนกลุ่มน้อยที่สำคัญด้านหนึ่งคือการถูกเลือกปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ในทางปฏิบัติแล้วอาจไม่ตรงกับกรอบแนวความคิดในเรื่อง “บุคคลทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย” แม้ว่าหลักการในเรื่องการห้ามเลือกปฏิบัติ จะเป็นหลักการที่สำคัญทั้งในระดับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในรัฐ เพราะปัญหาการเลือกปฏิบัตินำไปสู่ปัญหาในเรื่องความขัดแย้งในรูปแบบต่าง ๆ ตามมา ถึงแม้รัฐจะได้พยายามปฏิบัติตามหลักการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการถูกเลือกปฏิบัติ โดยการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายแล้วก็ตาม แต่หากเจ้าหน้าที่และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญายังคงไม่ตระหนักถึงสิทธิของชนกลุ่มน้อยแล้ว ปัญหาในเรื่องนี้ก็ยังคงมีอยู่ต่อไป</p> 2019-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2018 Warasan Ratthasat Mo So Tho https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/article/view/212125 นวนิยายเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ในบริบทการเมืองไทย 2019-08-27T19:32:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล [email protected] <p>บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่า นวนิยายเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2495 เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามฟื้นฟูกระแสกษัตริย์นิยมในการเมืองไทยในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 นวนิยายเรื่องนี้ฉายภาพทางบวกให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย และฉายภาพทางลบให้กับระบอบใหม่หลังการปฏิวัติพ.ศ. 2475 นวนิยายดังกล่าวช่วยวางพื้นฐานทางวาทกรรมให้กับผู้มีอำนาจในยุคต่อมาคือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในการฟื้นฟูบทบาททางการเมืองและสังคมของสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาใหม่หลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2500</p> 2019-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2018 Warasan Ratthasat Mo So Tho https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/article/view/212126 ประวัติศาสตร์เพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ: การเปรียบเทียบชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทย 2019-08-27T19:35:06+07:00 นายอดินันท์ พรหมพันธ์ใจ [email protected] <p>ชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทยถูกนำมาใช้ทางการเมืองและได้ส่งผลต่อความขัดแย้งในสังคมนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา การศึกษานี้ใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เป็นหลักเสริมด้วยแนวคิดโครงสร้างนิยม และพบว่าชุดความรู้ประวัติศาสตร์ไทยในแต่ละช่วงเวลาเป็นวาทกรรมที่แบ่งออกเป็นห้าช่วง ได้แก่ ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประวัติศาสตร์ชาตินิยมเชื้อชาติไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามประวัติศาสตร์เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ประวัติศาสตร์หลัง 14 ตุลา และประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับกรมศิลปากร ค.ศ. 2015 โดยที่ชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์เหล่านี้มีลักษณะของวาทกรรมที่ใช้สนองความมั่นคงเชิงอำนาจของชนชั้นนำ นำไปแก้ปัญหาที่รัฐเผชิญอยู่ในแต่ละช่วงเวลา และส่งผลต่อค่านิยมที่ฝังรากลึกในสังคมไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง หากสังคมไทยยังไม่เข้าใจว่าแต่ละชุดความรู้ประวัติศาสตร์ผลิตขึ้นมาด้วยเป้าประสงค์ใดก็จะทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยยังดำรงอยู่ต่อไป</p> 2019-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2018 Warasan Ratthasat Mo So Tho https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/article/view/212127 ความสัมพันธ์บนเส้นขนานของการบริหารและการเมือง 2019-08-27T19:38:32+07:00 อาจารย์ ดร.ปะการัง ชื่นจริง [email protected] <p>“การบริหารและการเมือง” เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และอยู่คู่ขนานกันมาโดยตลอดตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกับการเมืองเป็นประเด็นหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของนักวิชาการหลายท่านในแวดวงวิชาการเนื่องจากการตอบคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าวจะช่วยไขปัญหาในด้านการบริหารหลายประการ โดยเฉพาะการตอบคำถามที่ว่าการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองให้ประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้า ควรจะมีรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม? การเมืองกับการบริหารควรจะแยกออกจากกัน หรือควรจะไปด้วยกัน? กุญแจที่จะไขปัญหาเหล่านี้ได้ คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบริหารกับบริบททางการเมืองที่เกี่ยวข้องในแต่ละช่วงเวลา บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวความคิดทางวิชาการในงานคลาสสิคทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการเมือง ผลการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารและการเมืองในงานคลาสสิคทางรัฐประศาสนศาสตร์ อาจจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่หนึ่ง : การบริหารแยกขาดจากการเมือง รูปแบบที่สอง : การบริหาร คือการเมือง และรูปแบบที่สาม : การบริหารปรับเปลี่ยนไปตามการเมือง</p> 2019-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2018 Warasan Ratthasat Mo So Tho https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/article/view/212128 GOVERNANCE IN PUBLIC ADMINISTRATION: DOES IT RELY N PUBLIC TRUST 2019-08-27T19:40:48+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา จิตตรุทธะ [email protected] <p>ความไว้วางใจสาธารณะเป็นชุดขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งเกิดจากขบวนการเคลื่อนไหวในเรื่องวัฒนธรรมความไว้วางใจของสมาชิกในสังคมองค์การ ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญจากความพยายามของสมาชิกที่จะสะท้อนให้เห็นธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐ1 นักวิชาการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่าธรรมาภิบาลเป็นสิ่งที่ได้รับการคาดหมายล่วงหน้าและเป็นหัวใจสำคัญของ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารรัฐกิจ บทความนี้มุ่งศึกษาระดับของธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐของไทยจากองค์ประกอบ 4 ด้าน ซึ่งส่งผลต่อระดับ ความไว้วางใจสาธารณะใน3 มิติ สำรวจอุปสรรคของธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐของไทย และศึกษาตัวชี้วัดหรือมาตรการในการเสริมสร้างความไว้วางใจสาธารณะของประชาชน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน อาศัยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูล ผลวิจัยสรุปว่าประชาชนไทยรับรู้ระดับความไว้วางใจสาธารณะและธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐที่ระดับปานกลาง ตัวแปรธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐของไทยมีความสัมพันธ์กับตัวแปรความไว้วางใจสาธารณะในทิศทางเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r.864) และเป็นความสัมพันธ์แบบสองทาง ธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐที่ประชาชนรับรู้อยู่ที่ระดับกลาง(ค่าเฉลี่ย 2.64) ต่างจากที่คาดหวังซึ่งอยู่ที่ระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.21) ในทิศทางตรงกันข้าม(T -76.735) การวิจัยนี้ได้ข้อสรุปตัวชี้วัด 7 ประการ ซึ่งจะเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐอันนำไปสู่ความไว้วางใจสาธารณะ ได้แก่ (1) จริยธรรมความซื่อสัตย์ (2) ระบบราชการที่มีคุณธรรม (3) ผู้นำที่สร้างวัฒนธรรมความไว้วางใจ (4) การธำรงคุณค่าประชาธิปไตย(5) ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่ยุติธรรม (6) ข้าราชการมืออาชีพที่มีจรรยาบรรณ(7) อุดมการณ์ในการบริการสาธารณะของข้าราชการ</p> 2019-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2018 Warasan Ratthasat Mo So Tho https://so06.tci-thaijo.org/index.php/polsci-stou/article/view/212130 ขันติธรรมที่แท้จริง: เสรีนิยมและสิ่งที่จำเป็นในการตัดสินใจ 2019-08-27T19:43:45+07:00 ดร.ขนิษฐา สุขสง [email protected] <p>บทวิจารณ์หนังสือชิ้นนี้เป็นการศึกษาคุณประโยชน์ของหนังสือ “ขันติธรรมที่แท้จริง: เสรีนิยมและสิ่งที่จำเป็นในการตัดสิน” ที่ตั้งประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิดว่าด้วย “ขันติธรรมที่แท้จริง” ในแง่มุมที่สอดคล้องกับแนวคิดเสรีนิยมและการพิจารณาเกี่ยวกับการนำเอาแนวคิด “ขันติธรรม” ในหลายระดับมาใช้เพื่อการตัดสิน รวมไปถึงการพิจารณาเกี่ยวกับกรณีศึกษาในการนำแนวคิด “ขันติธรรม” ไปใช้ในแง่มุมที่มีความหลากหลายทั้งขันติธรรมในด้านการศึกษาและการเลี้ยงดู ขันติธรรมในการแสดงออก และขันติธรรมในด้านศาสนา</p> 2019-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2018 Warasan Ratthasat Mo So Tho