https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/issue/feed วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-08-19T00:00:00+07:00 ผศ.ดร.นิเทศ สนั่นนารี nites.san@mcu.ac.th Open Journal Systems <p><strong><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/marisa2020/untitled-1.jpg" alt="" width="250" height="97" /></strong></p> <p><strong>ISSN 2822-0374 (Print)<br />ISSN 2822-0366 (Online)</strong></p> <p>วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรมรับตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้านศิลปศาสตร์ ด้านพระพุทธศานา ปรัชญา การศึกษาเชิงประยุกต์ ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปกิณกะ (Book Review)<strong><br /></strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่วารสาร ปีละ 3 ฉบับ<br /></strong>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ<br /></strong>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – blind peer review)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียม</strong><br />ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความวารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม บทความละ 4,000 บาท โดยชำระค่าธรรมเนียมหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสาร ก่อนที่จะดำเนินการส่งบทความถึงผู้ทรงคุณวุฒิ</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275686 รัฐประศาสนศาสตร์ยุคใหม่ 2024-07-16T15:49:57+07:00 ฉัฐวัฒน์ ชัชณฐาภัฏฐ์ chattawat.sh@western.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำหนังสือ "รัฐประศาสนศาสตร์ยุคใหม่" ที่มุ่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการภาครัฐในยุคปัจจุบัน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและเทคโนโลยี หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมและละเอียดอ่อนในหลากหลายด้าน เพื่อตอบสนองความต้องการในการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภาครัฐ โดยหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 12 บท โดยบทที่ 1 อธิบายพื้นฐานและแนวคิดเบื้องต้นของรัฐประศาสนศาสตร์ บทที่ 2 เน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการทางการเงิน และเทคโนโลยี บทที่ 3 วิเคราะห์กระบวนการกำหนดและประเมินผลนโยบาย บทที่ 4 เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการภาครัฐ บทที่ 5 สำรวจบทบาทของเทคโนโลยีในการพัฒนาภาครัฐในยุคดิจิทัล บทที่ 6 นำเสนอความท้าทายและโอกาสในยุคดิจิทัล เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล บทที่ 7 กล่าวถึงการบริหารจัดการองค์กรและการพัฒนาโครงสร้างภาครัฐ บทที่ 8 แนะนำแนวคิดและวิธีการปฏิรูปรัฐประศาสนศาสตร์ บทที่ 9 และ 10 รวมกรณีศึกษาและตัวอย่างการปฏิบัติที่ดีจากต่างประเทศและประเทศไทย หนังสือยังสำรวจแนวโน้มและทิศทางในอนาคตของการบริหารจัดการภาครัฐในบทที่ 11 และสรุปแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในบทที่ 12 โดยให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ในบริบทที่หลากหลาย หวังว่า "รัฐประศาสนศาสตร์ยุคใหม่" เล่มนี้จะเป็นแหล่งความรู้ที่มีประโยชน์และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและศึกษาในด้านการบริหารจัดการภาครัฐในยุคปัจจุบันและอนาคตต่อไปในอนาคต โดยการนำเสนอเนื้อหาที่ครอบคลุมและมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาครัฐในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การบริหารจัดการมีความยั่งยืนและสามารถตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/273440 แนวทางการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทย ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2024-04-30T18:32:25+07:00 พระมหาชาตรี เชื้อบุญจันทร์ (ชาตรี เชื้อบุญจันทร์) chatree.chau@northbkk.ac.th พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิต chatree.chau@northbkk.ac.th ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ chatree.chau@northbkk.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการดำเนินภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะขององค์กรคณะสงฆ์ 2) ศึกษาปัจจัยการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทยภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มองค์กรคณะสงค์ในประเทศไทย จำนวน 400 วัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t- test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One way ANOVA) และ Multiple regression analysis การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์แนวทางใช้หลักการวิเคราะห์ SWOT Analysis<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะขององค์กรคณะสงฆ์ พบว่า ด้านจำนวนพระสงฆ์และสามเณรภายในวัด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ พบว่า ด้านการสั่งการ ด้านการประสานงาน และด้านการควบคุม ส่งผลต่อประสิทธิผลของภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. แนวทางการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทยภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งหมด 4 แนว ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี การพัฒนารูปแบบการควบคุมงบประมาณในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างพอประมาณ ส่งเสริมการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการพัฒนาบูรณาการดำเนินงานตามภารกิจของคณะสงฆ์</span></p> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275245 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี 2024-06-28T17:28:44+07:00 ชาญชัย ประพาน chanchai.ppn@gmail.com สุภาวดี วงษ์สกุล suparwadeewon@satit.pim.ac.th ตวงทอง นุกูลกิจ tuangthongnuk@pim.ac.th <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู และ 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 336 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></div> <div>1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.40, S.D. = 0.48) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการใช้ดิจิทัล ด้านการรู้และใช้ดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ตามลำดับ </div> <div>2. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.44, S.D. = 0.40) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านหลักสูตรและเนื้อหาความรู้ ด้านกิจกรรมและการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ </div> <div>3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ด้านการสร้างวัฒนธรรมการใช้ดิจิทัล และด้านการสื่อสารดิจิทัลส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู สามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครูได้ ร้อยละ 45.80 ในขณะที่ด้านการรู้และใช้ดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ไม่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู</div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/271396 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 2024-02-20T13:27:27+07:00 ชนิสรา มณีรัตน์ chanisara.kik@gmail.com ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร Chanisara.kik@gmail.com <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนบ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนบ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกขามและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นผู้วิจัยจะวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา </div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></div> <div>1. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ของชุมชนบ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของการดำเนินโครงการ รวมถึงการปรับรูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการให้เหมาะสมกับชุมชน กระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งการลงโทษทางกฎหมายและการบำบัดรักษาควรดำเนินการอย่างเป็นระบบและเห็นเป็นรูปธรรม</div> <div>2. แนวทางในการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนบ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ การปรับรูปแบบการทำกิจกรรมในชุมชนที่เอื้อต่อบริบทของชุมชนเป็นหลัก การลงพื้นที่พบปะประชาชนแบบเชิงรุก และความใส่ใจในการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างจริงจัง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์มากขึ้น</div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275618 การจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา 2024-07-16T15:58:07+07:00 นิธิมา ยืนยง Nithima@ptu.ac.th <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชน 2) ศึกษาการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา และ 3) ศึกษาการจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน </div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></div> <div>1. สภาพการจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.21, S.D. = 0.54) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ (x̅ = 4.42, S.D. = 0.63) ด้านสวัสดิการและการบริการ (x̅ = 4.39, S.D. = 0.79) และด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน (x̅ = 4.28, S.D. = 0.75) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน (x̅ = 3.69, S.D. = 0.62)</div> <div>2. การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.37, S.D. = 0.65) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ มีหลักสูตรและสาขาวิชาตรงตามความต้องการ (x̅ = 4.50, S.D. = 0.75) เพื่อนส่วนใหญ่นิยมเรียนสถาบันแห่งนี้ (x̅ = 4.47, S.D. = 0.75) และเป็นสถาบันที่สร้างโอกาสและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษา (x̅ = 4.46, S.D. = 0.76) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เชื่อว่าบัณฑิตมหาวิทยาลัยเอกชนสามารถประสบความสำเร็จในอาชีพการงานได้ไม่แตกต่างกับบัณฑิตมหาวิทยาลัยของรัฐบาล (x̅ = 4.25, S.D. = 0.94)</div> <div>3. การจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา พบว่า การจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนด้านบุคลากร (X<sub>4</sub>) ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน (X<sub>5</sub>) ด้านสวัสดิการและการบริการ (X<sub>7</sub>) และด้านสถานที่ตั้ง (X<sub>2</sub>) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถทำนายการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา ร้อยละ 40.3 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y' = 1.651 + .214(X<sub>4</sub>) + .228(X<sub>5</sub>) + .096(X<sub>7</sub>) + .098(X<sub>2</sub>) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .261(X<sub>4</sub>) + .275(X<sub>5</sub>) + .121(X<sub>7</sub>) + .112(X<sub>2</sub>)</div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/270462 ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-01-22T11:42:54+07:00 ชัญชนก ปรีชาชน bluessky28@gmail.com เกษมชาติ นเรศเสนีย์ chanchanok9169@gmail.com รัชฎา จิวาลัย chanchanok9169@gmail.com ชัยฤทธิ์ ทองรอด bluessky28@gmail.com สุเชาวน์ มีหนองหว้า bluessky28@gmail.com <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และ 2) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน </div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></div> <div>1. ศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านความยั่งยืนของการพัฒนาเด็ก (x̅ = 3.53, S.D. = 0.25) 2) ด้านคุณภาพชีวิตของเด็กแรกเกิด (x̅ = 3.49, S.D. = 0.26) และ 3) ด้านความพึงพอใจของผู้มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ (x̅ = 3.48, S.D. = 0.25) ตามลำดับ</div> <div>2. ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด พบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson Correlation ในการทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรก </div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/274932 การพัฒนารูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล โรงเรียนขามสะแกแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2024-06-28T17:14:52+07:00 สุภาพร วงศ์สุขสิน mubmib2518@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล 2) สร้างและพัฒนารูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล 3) ทดลองใช้รูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล และ 4) ประเมินคุณภาพผู้เรียนและรูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&amp;D) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 68 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ศึกษาจากโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ 1 โรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNI <sub>modified </sub>การวิเคราะห์เนื้อหา<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ข้อมูลพื้นฐานรูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบโรงเรียนคุณธรรม มี 6 องค์ประกอบ 2) มาตรฐานโรงเรียนคุณธรรม มี 6 ด้าน 3) กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมด้วย PACIM Model มี 5 ขั้นตอน 4) การประเมินองค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5) สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็น และ 6) แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) วิธีดำเนินการของรูปแบบ 5) การประเมินรูปแบบ และ 6) เงื่อนไขสำหรับการนำรูปแบบไปใช้ และคู่มือการใช้รูปแบบ มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ 1) บทนำ 2) สาระของรูปแบบ 3) การนำรูปแบบไปใช้ และ 4) เกณฑ์การประเมิน<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. ทดลองใช้รูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรูปแบบ และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ตนเองตามองค์ประกอบหลักของรูปแบบสูงขึ้น<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">4. ประเมินคุณภาพผู้เรียนและรูปแบบโรงเรียนคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัล พบว่า ผลการประเมินความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ของการพัฒนาโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/273476 แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่ตะเข็บชายแดนลุ่มแม่น้ำโขงจังหวัดเลย 2024-05-01T15:04:52+07:00 พระมหาสมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน (สมศักดิ์ สินนา) somsak_maha2011@hotmail.com <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) ศึกษากระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ และ 3) เสนอแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 30 รูป/คน อาสาสมัครตัวแทนสาธารณะสุข จำนวน 10 รูป/คน ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 30 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม แบบการสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาตามหลักอุปนัย </div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></div> <div>1. สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทุกพื้นที่ของจังหวัดเลยเงียบเหงา บ้านเรือนตลอดสองฝั่งถนนคนเดินปิดเงียบถือเป็นภาพที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม </div> <div>2. กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ ถือเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ไม่มีความประมาท โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการของโรคปอดอักเสบอันตรายถึงแก่ชีวิต โรคนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน จากการไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเราสามารถเริ่มต้นดูแลตัวเองได้ หากมีความสงสัยว่าพื้นที่มีความเสี่ยงควรหลีกเลี้ยงไม่เข้าไปในสถานที่ </div> <div>3. แนวทางสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้ฐานความคิดทางพระพุทธศาสนาให้เกิดสุขภาวะองค์รวม 4 มิติ คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านปัญญา โดยสุขภาวะแบบองค์รวมจากการพึ่งพากัน การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีทั้งทางด้านกาย จิต สังคม สอดคล้องกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา คือหลักภาวนา 4 คือ หลักการทำให้เป็นให้มีขึ้น การฝึกอบรมการพัฒนาด้านกาย ด้านศีล ด้านจิต และด้านปัญญา </div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/272225 คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 2024-03-15T15:51:41+07:00 ณัฐชยา สุติญญามณี S6543510014@sau.ac.th ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร S6543510014@sau.ac.th <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) พัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ แรงงานต่างด้าวในชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีจำนวน 176 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test ในการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร และค่าสถิติ One-way ANOVA </div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></div> <div>1. คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18, S.D. = 1.00) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคลอื่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน สภาพการทำงาน ด้านสิทธิส่วนบุคคลในสถานทำงาน ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ด้านจังหวะชีวิต ด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถตนเอง ตามลำดับ</div> <div>2. พัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน เมื่ออาศัยอยู่ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกัน</div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/274491 สภาพและความคาดหวังเกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากแข้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 2024-06-28T16:37:28+07:00 เกษมสันต์ ขันตี 64011381001@msu.ac.th วินัย ผลเจริญ 64011381001@msu.ac.th <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียน 2) ศึกษาสภาพและความคาดหวังการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงพรรณนา และเชิงอุปนัย</div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></div> <div>1. คุณลักษณะความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) หลักภราดรภาพ 2) หลักการมีส่วนร่วม 3) หลักเสียงข้างมาก 4) หลักความเสมอภาค และ 5) หลักเสรีภาพ ตามลำดับ</div> <div>2. สภาพและความคาดหวังเกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากแข้ง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีสภาพจริงโดยค่าเฉลี่ยมาก เป็นอันดับแรก ได้แก่ หลักเสียงข้างมาก รองลงมาคือ หลักความเสมอภาค หลักภราดรภาพ หลักการมีส่วนร่วม และหลักเสรีภาพ </div> <div>3. แนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากแข้ง พบว่า ด้านหลักเสรีภาพ นักเรียนควรมีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็นไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ด้านความเสมอภาค นักเรียนควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านหลักภราดรภาพ นักเรียนควรมีความเป็นกัลยาณมิตร ด้านหลักการยึดเสียงข้างมาก ควรให้ความสำคัญของประชาธิปไตยในการเลือกตั้งเป็นหลัก หลักการมีส่วนร่วม นักเรียนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนเคารพกฎระเบียบข้อตกลงที่โรงเรียนได้กำหนดขึ้น</div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/273321 ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น 2024-05-20T11:13:07+07:00 จิตราภรณ์ สารภักดี jittraporn.sara@gmail.com สุนทร สายคำ jittraporn.sara@gmail.com พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส (บุญช่วย อุ้ยวงค์) jittraporn.sara@gmail.com <div>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 289 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 12 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณนา</div> <div><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></div> <div>1. สภาพปัญหาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ด้านทักษะการบริหารจัดการองค์กรด้านทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ด้านทักษะการสื่อสาร และด้านทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ </div> <div>2. แนวทางการส่งเสริมทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านทักษะการสื่อสาร ควรส่งเสริมการสื่อสารในการกำหนดวิสัยทัศน์ และให้มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ด้านทักษะการบริหารจัดการองค์กร ควรส่งเสริมการตัดสินใจที่ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ การแก้ปัญหาตรงจุด ในการบริหารงานบุคคล/ทรัพย์สิน งบประมาณ ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์การคิดสร้างสรรค์ ควรส่งเสริมการแก้ไขปัญหานำพาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และด้านทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารถ่ายทอดเทคนิคการทำงานเป็นทีม </div> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/273325 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2024-07-23T17:37:56+07:00 ปรมินทร์ สีจันทร์ฮด poraminsjh@gmail.com เกษม แสงนนท์ poraminsjh@gmail.com สัมฤทธิ์ กางเพ็ง poraminsjh@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม และ 3) ศึกษาอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณกับคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 152 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า <br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม พบว่า 1) ปัจจัยด้านผู้บริหารและนโยบาย 2) ปัจจัยด้านบริหารจัดการ 3) ปัจจัยด้านบุคลากร 4) ปัจจัยด้านทรัพยากรและสิ่งสนับสนุน 5) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ทั้ง 5 ปัจจัยมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับความคิดเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านทรัพยากรและสิ่งสนับสนุน ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านบริหารจัดการ และปัจจัยด้านผู้บริหารและนโยบาย ตามลำดับ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. อิทธิบาท 4 ส่งผลต่อปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม 4 ปัจจัยคือ 1) ผู้บริหารและการกำหนดนโยบาย 2) การบริหารจัดการ 3) บุคลากรประกันคุณภาพการศึกษา 4) วัฒนธรรมองค์กร</span></p> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/268335 ยุทธศาสตร์ผู้นำกับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแบบร่วมมืออย่างยั่งยืน 2024-04-02T10:42:29+07:00 เรียงดาว ทวะชาลี riangdow@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ผู้นำในการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแบบร่วมมืออย่างยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับ บทบาทสำคัญของผู้นำในการสร้างความร่วมมือและยั่งยืนและหน้าที่สำคัญของผู้นำในการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและการรับผิดชอบที่มากขึ้นในการกำหนดและส่งเสริมนโยบายและแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับเมืองอัจฉริยะมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเชื่อมโยงกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นโดยมีการสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจในแผนการและนโยบายที่มีการสร้างเมืองอัจฉริยะโดยการเปิดโอกาสให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้นำควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารและการสร้างสรรค์ช่องทางการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมในกระบวนการตัดสินใจ เพราะความเป็นผู้นำมีบทบาทสำคัญในบริบทของการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เฉพาะ เช่น เมือง ภูมิภาค หรือชุมชน ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการชี้แนะและอำนวยความสะดวกในการพัฒนาภาวะผู้นำถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่น ผู้นำในบริบทนี้จะต้องมีวิสัยทัศน์ มุ่งเน้นชุมชน ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีในพื้นที่ของตน ผู้นำที่ดีสามารถบริหารจัดการทรัพยากรและบุคลากรอย่างมืออาชีพวางแผนและดำเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของชาติสามารถแสดงความความน่าเชื่อถือและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวอย่างให้คนในท้องถิ่นและสามารถชักชวนให้ปฏิบัติตามเพื่อสร้างความมั่นใจให้คนในท้องถิ่น</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/274736 ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยในปัจจุบัน 2024-06-28T16:53:25+07:00 นิพพิชฌน์ เครื่องสนุก knip1996@gmail.com มุจลินท์ นทีประสิทธิพร nippeach@northcm.ac.th ณัฐพร อินทะกันฑ์ nippeach@northcm.ac.th พลอยพัชชา โค้วสุวรรณกิจ nippeach@northcm.ac.th <p>บทความวิชาการนี้นำเสนอเพื่อต้องการศึกษาด้วยกระแสสังคมที่ให้ความสนใจกับขบวนการเคลื่อนไหวรูปแบบใหม่ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยและบางขบวนการเคลื่อนไหวถูกยอมรับพร้อมทั้งมีเสียงตอบรับและได้รับความนิยมชมชอบอย่างแพร่สะพัดในประเด็นขับเคลื่อนทางการเมืองและยุทธวิธีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันและยังทรงอิทธิพลต่อผู้มีอำนาจได้ไม่มากก็น้อย การใช้ยุทธวิธีเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการรับรู้ต่อสังคมไทยและเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานตามขนบหรือวิถีประชาคือกับดักสำคัญคอยกัดกินเสรีภาพมนุษย์ที่พึงมีจึงเกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมหลากหลายสาขาอาชีพให้เราพบเห็นในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลฟ์มากยิ่งขึ้น<br />จากการศึกษาได้ค้นพบว่า ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวอันส่งผลให้ขบวนการคนรุ่นใหม่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ด้วยยุทธวิธีการสร้างการรับรู้สาธารณะ ยุทธวิธีการอารยะขัดขืน ยุทธวิธีการลงชื่อทางกฎหมาย ยุทธวิธีการระดมมวลชนในโซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มดาวดิน กลุ่มยังไพร์ดคลับ กลุ่มนักเรียนเลว กลุ่มเยาวชนปลดแอก ซึ่งกลุ่มเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่เพื่อออกมาชี้มูลปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอีกทั้งการใช้ยุทธวิธีใหม่ในการเคลื่อนไหวต่างจากคนรุ่นเก่า</p> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275075 นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาผ่านกระบวนการ Makerspace 2024-06-28T18:02:03+07:00 พัชราภรณ์ ดวงชื่น patcharapornd@christian.ac.th อรุณศรี อัครปัญญาธร patcharapornd@christian.ac.th <p>บทความวิชาการนี้นำเสนอเกี่ยวกับกระบวนการ Makerspace หรือพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่และเป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาให้เป็นนวัตกรรมด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้ระบบคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ซึ่งมีองค์ประกอบของการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา คือ การบริหารจัดการ การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม การประเมินผล การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารงานแบบบูรณาการในการจัดพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ร่วมกันผลิตนวัตกรรมใหม่ เป็นนวัตกรรมการศึกษาซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมทักษะนวัตกรรมของผู้เรียน 3 ด้าน คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านความคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา และด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งหวังการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำและแนวคิดการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะนวัตกรรม พัฒนาทักษะการสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในการทำงาน รวมถึงการจัดการเรียนรู้ของครูในรูปแบบใหม่ที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมในการบริหารสถานศึกษาผ่านกระบวนการ Makerspace</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม