วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij <p><strong><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/marisa2020/blobid0-ee0d17668d7f2d13103dedd88b1d48b4.jpg" /></strong></p> <p><strong>ISSN 2822-0374 (Print)<br />ISSN 2822-0366 (Online)</strong></p> <p>วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรมรับตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้านศิลปศาสตร์ ด้านพระพุทธศานา ปรัชญา การศึกษาเชิงประยุกต์ ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปกิณกะ (Book Review)<strong><br /></strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่วารสาร ปีละ 3 ฉบับ<br /></strong>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ<br /></strong>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – blind peer review)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียม</strong><br />ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความวารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม บทความละ 4,000 บาท โดยชำระค่าธรรมเนียมหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสาร ก่อนที่จะดำเนินการส่งบทความถึงผู้ทรงคุณวุฒิ</p> สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น th-TH วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2822-0374 ธรรมยาตราในแดนพุทธภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/258692 <p>หนังสือธรรมยาตราในแดนพุทธภูมิเป็นงานประพันธ์ของดร.อิสระ สุวรรณบล เป็นลักษณะหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คเนื้อหาสาระส่วนใหญ่จะมุ่งให้ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในด้านสภาพท้องถิ่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และอื่นๆ ในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล หรือดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน ผู้เขียนได้กล่าวเปิดเรื่องเป็นการกล่าวชี้นำให้ผู้อ่านตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องที่จะเขียน และขอบเขตเนื้อหาสาระที่จะเขียน การเสนอเรื่องให้ดำเนินไปอย่างน่าสนใจในการดำเนินเรื่องผู้เขียนจะต้องใช้ศิลปะเฉพาะของตนในการนำเสนอเรื่องราว เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้เกิดความคิด และเกิดความเพลิดเพลิน การเขียนปิดเรื่องมีการย้ำถึงความประทับใจ และความสุขของผู้เขียนหลังจากที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่นั้นๆ มา และมีการแสดงความคิดเห็นจากผู้เขียน มีการใช้โวหารเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิง และมีศิลปะ เพื่อสื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน และลึกซึ้ง ทำให้เกิดคุณค่าทางวรรณกรรม 4 ด้าน ได้แก่ คุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าทางด้านโบราณคดี คุณค่าทางด้านภูมิศาสตร์ และคุณค่าด้านขนบธรรมเนียมประเพณี</p> พระครูวิริยคุณสาร (สมศรี วงษา) พระครูสุธีคัมภีรญาณ (ประมวล บุลาลม) Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-28 2024-12-28 11 3 311 324 พุทธศาสนาจะวิกฤต ต้องคิดให้ไกล รู้ให้ทัน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/265907 <p>บทความวิจารณ์หนังสือพุทธศาสนาจะวิกฤติ ต้องคิดให้ไกล รู้ให้ทัน เป็นการบรรยายธรรมของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) มีวัตถุประสงค์ในการวิจารณ์เพื่อนำเสนอจุดเด่นและข้อบกพร่องของสาระธรรมที่ได้เรียบเรียงขึ้น ซึ่งท่าน ป.อ.ปยุตฺโต มุ่งหวังให้ผู้อ่านได้เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นวิกฤติต่อพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง (1) เหตุผลที่แท้จริงในการตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนา (2) ความสำคัญของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (3) จดหมายตอบ นพ.บรรจบ ชุณสวัสดิกุล เรื่อง “จิตวิญญาณ” และ (3) ภาพสะท้อนของการศึกษาไทยจากหนังสือพระมโน โดยเป็นการพูดถึงต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา อันเนื่องมาจากเสรีภาพตามหลักพุทธศาสนา ที่มีอิสระไม่บังคับ ทุกคนจึงมีสิทธิ์จะถือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ ไม่รังเกียจ ไม่ระแวงระวัง ไม่ป้องกันตัวเอง แต่คอยให้โอกาสคนอื่น จนกลายเป็นจุดอ่อนร้ายแรง ที่ทำให้ศาสนาพุทธมีภัย จนอาจทำให้พระพุทธศาสนาเกิดวิกฤติ ซึ่งผู้วิจารณ์พบว่าโครงสร้างเนื้อหาเป็นไปอย่างมีระบบ แบ่งเป็นบทชัดเจน แต่ย่อหน้าไม่สะดวกต่อการอ่าน เพราะไม่มีหมายเลขข้อกำกับไว้ข้างหน้าอย่างชัดเจน สำหรับในส่วนเนื้อหา มีคุณค่าต่อพระพุทธศาสนามาก เป็นสิ่งที่ชาวพุทธจำเป็นต้องคิดให้ไกล และรู้ให้ทัน และถึงแม้เป็นหนังสือธรรมะ แต่ไม่ค่อยมีคำบาลี แต่ก็มีการอธิบายความให้ผู้อ่านเข้าใจได้ มีการยกตัวอย่างประกอบ และใช้ภาษาที่ชวนให้ผู้อ่านคิดพิจารณาตามตลอดการดำเนินเรื่อง ถึงแม้ว่าสาระธรรมอาจจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายและการปกครองที่ค่อนข้างยากสำหรับผู้ริเริ่มศึกษาธรรม แต่ก็มีเนื้อหาที่มุ่งขจัดนานาปัญหา ที่จะเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับประเทศไทยไปตราบนานเท่านาน</p> พระประกฤษฎิ์ ธมฺมวํโส (ประกฤษฎิ์ แสงเทียมจันทร์) พระครูปริยัติพัฒนบัณฑิต (มิตร วันยาว) Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-28 2024-12-28 11 3 325 334 พลวัตโลกยุคบานี่กับบทบาทภาวะผู้นำสตรีในบริบทสถานศึกษา : ข้อสะท้อนการบูรณาการกลยุทธ์บนฐานพุทธธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/278776 <p>โลกยุคโกลาหลเป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ยากจะคาดคะเนในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตและการบริหารองค์กรเป็นอย่างยิ่ง บทความนี้มุ่งนำเสนอการพัฒนาภาวะผู้นำสตรีในบริบทสถานศึกษาโดยเฉพาะในยุค BANI ที่มีความเปราะบาง วิตกกังวล ไม่เป็นเชิงเส้น และไม่เข้าใจ การศึกษาและการจัดการเรียนรู้ต้องเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่า กลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำสตรีจำเป็นต้องมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยการบูรณาการหลักการของพุทธธรรมเข้ามาเป็นฐานในการพัฒนาจะช่วยเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับผู้นำสตรี การประยุกต์ใช้และบูรณาการหลักพุทธธรรม 4 ด้าน ได้แก่ อริยสัจ 4, วุฒิธรรม 4, กัลยาณมิตร 7 และภาวนา 4 เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาในมิติทางจิตวิญญาณและจริยธรรมนี้จะช่วยสร้างแนวทางในการพัฒนาผู้นำสตรีที่มีจริยธรรมและคุณค่าทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้รวมถึงการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาภาวะผู้นำสตรี การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนับสนุนซึ่งกันและกันการใช้เทคนิคการภาวนาเพื่อเสริมสร้างสติและการตัดสินใจที่มีจริยธรรมซึ่งจะช่วยพัฒนา ความเป็นผู้นำที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษา นักการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาภาวะผู้นำสตรี เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียมและยั่งยืน</p> ณฏฐพร สิงห์สร ลำพอง กลมกูล ณัฐกา สงวนวงษ์ เริงวิชญ์ นิลโคตร ณัฐพัชร สายเสนา Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 271 286 สื่อกับการเมืองไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/279208 <p>การศึกษาบทความวิชาการนี้วิเคราะห์บทบาทของสื่อในบริบทการเมืองไทยผ่านข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และหนังสือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอแง่มุมของสื่อที่มีต่อการเมืองไทย 2) ทำความเข้าใจความหมายของ “สื่อ” ในฐานะกระบวนการทางการเมืองที่ส่งผลผ่านปัจเจกบุคคล สื่อมวลชน สื่อสังคมเก่า-ใหม่ และช่องทางออนไลน์ และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างสื่อและการเมืองไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2567<br />ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติจริยธรรมสื่อ ปี 2561 มีส่วนช่วยเปิดโอกาสให้สื่อมีบทบาทสำคัญในแคมเปญทางการเมือง ทั้งการหาเสียง การสร้างภาพลักษณ์ และการดึงดูดคะแนนเสียง รวมถึงการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในประเด็นการพัฒนาประเทศและการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายสาธารณะ ตัวอย่างปรากฏการณ์สำคัญ ได้แก่ การติดแฮชแท็กบนสื่อออนไลน์ การชุมนุมแฟลชม็อบ และการสลายการชุมนุม ซึ่งสะท้อนถึงการใช้สื่อเพื่อสร้างกระแสและผลักดันนโยบายของพรรคการเมือง<br />บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อในกระบวนการสื่อสารทางการเมืองและเสนอโอกาสสำหรับการศึกษาต่อเกี่ยวกับบทบาทของสื่อในสถานการณ์การเมืองไทยเชิงเปรียบเทียบในอนาคต</p> นิพพิชฌน์ เครื่องสนุก ศิริพงษ์ มาณะศรี สุวิชญ ศิริไกรวัฒนาวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-28 2024-12-28 11 3 287 298 การปรับพฤติกรรมของมนุษย์แนวทางจิตวิทยาตะวันตกกับตามแนวทางพระพุทธศาสนา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277097 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ตามแนวทางของจิตวิทยาตะวันตกและตามแนวทางพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมหมายถึงการกระทำหรือปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกหรือภายใน นักจิตวิทยาตะวันตกแบ่งพฤติกรรมออกเป็นสองประเภทหลักคือ พฤติกรรมภายนอก ซึ่งเป็นการกระทำที่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น การร้องไห้ หรือการพูด และพฤติกรรมภายใน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น ความรู้สึกหิวหรือเสียใจ การปรับพฤติกรรมตามแนวทางตะวันตกเน้นการสังเกตและวัดผลที่เห็นได้ชัด รูปแบบการปรับพฤติกรรมในบทความนี้ศึกษาในกรอบของจอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) และ บีเอฟ สกินเนอร์ (B. F. Skinner) โดยวัตสันเน้นการเรียนรู้แบบคลาสสิกที่มุ่งเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองอัตโนมัติ ขณะที่สกินเนอร์เน้นการเรียนรู้แบบปฏิบัติที่ใช้การเสริมแรงและการลงโทษในการปรับพฤติกรรม<br />ในทางพระพุทธศาสนา “พฤติกรรม” หมายถึงการกระทำที่เกิดจากเจตนาและมีความจงใจ โดยแบ่งเป็นพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ พฤติกรรมตามหลักพระพุทธศาสนาแบ่งเป็นสองประเภทหลักคือ พฤติกรรมตามแนวสังขารและพฤติกรรมตามแนวจริต ซึ่งมีระดับต่างๆ ของพฤติกรรมที่เกิดจากกิเลส ได้แก่ พฤติกรรมละเอียด พฤติกรรมอย่างกลาง และพฤติกรรมอย่างหยาบ รูปแบบการปรับพฤติกรรมมี 3 ระดับคือ ระดับศีล (พื้นฐาน) ใช้ปรับพฤติกรรมอย่างหยาบ คือ พฤติกรรมทางกาย ทางวาจา ให้มีพฤติกรรมแสดงออกทางกาย ทางวาจาที่พึงประสงค์ โดยการสมาทานรักษาศีลประพฤติตามแนวทางที่อนุญาต งดเว้นข้อที่ห้าม ระดับสมาธิ (กลาง) ใช้ปรับพฤติกรรมทางจิตใจให้มีความมั่นคงไม่หวั่นไหว โดยการฝึกสมาธิตามแนวทางของสมถกรรมฐาน และระดับปัญญา (สูง) ใช้ปรับพฤติกรรมอย่างละเอียด ทำให้จิตใจเกิดปัญญาพิจารณาเหตุผลความถูกต้อง โดยการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน การปรับพฤติกรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ 2 ประการคือ 1) ประโยชน์ตนเอง (อัตตัตถะประโยชน์) และ 2) ประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะประโยชน์)</p> พระมหาวราทิต อาทิตวโร (วราทิต คำกมล) พระมหามีชัย กิจฺจสาโร (มีชัย แสงคำภา) พระครูปริยัติพุทธิคุณ พระมหาเศรษฐา เสฏฺฐมโน (เศรษฐา หินศิลา) พระมหาบัวพันธ์ ฉนฺทโสภโณ (บัวพันธ์ ประสังคะโท) Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-28 2024-12-28 11 3 299 310 ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277429 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร 2) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร และ 4) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารเป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 339 คน ตามสูตรของยามาเน่ จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ปัจจัยทางการบริหารที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านสมรรถนะครู ด้านการบริหารจัดการทางเทคโนโลยี ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านนโยบายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการสร้างเครือข่าย และด้านวัฒนธรรมองค์กร<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานทั่วไป การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = .670) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /></span>4. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร ได้แก่ การบริหารจัดการทางเทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร สมรรถนะของครู นโยบายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน เท่ากับร้อยละ 47.40 โดยมีข้อเสนอแนะในนำผลการวิจัยไปใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรนำผลการวิจัยไปใช้กำหนดนโยบาย วางแผนบริหาร พัฒนาครูและบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และประยุกต์ใช้ในการวิจัยอื่น ๆ ต่อไป</p> ภานุมาศ บัวจีน โสภนา สุดสมบุรณ์ อรรณพ จีนะวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 1 18 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานรัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการแห่งหนึ่งในประเทศไทย : บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275950 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการบริหารจัดการความหลากหลาย การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน และ 3) ศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การในความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 407 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และการบริหารจัดการความหลากหลาย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .95, .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้ PROCESS macro Model 4 <br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับการรับรู้ของพนักงานด้านการบริหารจัดการความหลากหลาย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 6.27, S.D. = 0.70) การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ </span><span style="font-size: 0.875rem;">(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> </span><span style="font-size: 0.875rem;">= 6.07, S.D. = 0.70) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> </span><span style="font-size: 0.875rem;">= 6.14, S.D. = 0.54) พบว่า อยู่ในระดับสูงมาก<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. การบริหารจัดการความหลากหลายและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.379 และการบริหารจัดการความหลากหลายมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.658 และ 0.456<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การเป็นตัวแปรสื่อแบบบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</span></p> พิมพ์ประภัส นุ่มนิยม กฤตกร นวกิจไพฑูรย์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 19 34 การพัฒนาศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชนสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/276456 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชนสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มตัวแทนภาครัฐ และกลุ่มตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 25 คน ผ่านการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในการดำเนินกิจกรรมการวิจัยและสร้างความร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยการจัดการความรู้ด้วย SECI Model สร้างต้นแบบการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> การจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นในการดำเนินกิจกรรม คือ 1) การแลกเปลี่ยนความรู้ (Socialization) ได้หัวข้อความรู้แนวทางการสร้างต้นแบบ การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน สร้างนวัตกรชุมชนหาแนวทางกาพัฒนาร่วมกัน เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอกและเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของคนในพื้นที่ 2) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) โดยพัฒนากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ ผ่านฐานการเรียนรู้ 3) การรวบรวมความรู้ (Combination) รวบรวมองค์ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ อาทิเช่น ความรู้บริหารจัดการขยะ กระบวนการผลิตพลังงานชุมชน ความรู้การผลิตดินพร้อมปลูก การขายอออนไลน์ และ 4) การผนึกความรู้ (Internalization) เกิดนวัตกรชุมชนที่เป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้</p> รวิธร ฐานัสสกุล Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 35 48 เครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษา บริษัท เอส คิว ไอ กรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277841 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานในภาคเอกชนที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) 2) ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานที่เกิดจากการใช้เครื่องมือเหล่านี้ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานในด้าน HRM โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน แบ่งออกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน HRM 5 คน และนักวิชาการด้าน HRM 5 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มประชากร จำนวน 895 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 273 คน คำนวณตามสูตรทาโร ยามาเน่ ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามปลายปิดและมาตราส่วนการประเมินค่า วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ รวมถึงสถิติเชิงอนุมาน เช่น t-test และ ANOVA เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ การศึกษา และประสบการณ์ มีอิทธิพลต่อการใช้เครื่องมือ HRM โดยพนักงานเพศหญิงอายุ 31-40 ปี มีการใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. เครื่องมือกำหนดเป้าหมายและวัดผล เช่น KPIs, SMART Goals, OKRs, 360-Degree Feedback, BSC และ Performance Appraisal System ส่งเสริมการบริหารและพัฒนาพนักงาน โดยเฉพาะ BSC ช่วยสร้างสมดุลระหว่างการบรรลุเป้าหมายธุรกิจและพัฒนาศักยภาพพนักงาน<br /></span>3. ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ HRM ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการองค์กร ส่งผลต่อความสำเร็จและพัฒนาทักษะพนักงานอย่างต่อเนื่อง</p> ฉัฐวัฒน์ ชัชณฐาภัฏฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 49 60 ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/276955 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ช่วยให้เข้าใจถึงแนวทางในการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำของผู้นำชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และ 2) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 380 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.45, S.D. = 0.47) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความคิดริเริ่ม ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ และด้านการตัดสินใจ ตามลำดับ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และรวดเร็ว ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตรงไปตรงมา มีความเสียสละเพื่อประชาชน รองลงมาคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรเป็นคนรุ่นใหม่ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรมีความสามารถในการติดต่อประสานงานและขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น เพื่อให้การสนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาในชุมชน</span></p> สิริมล กะชิรัมย์ สถาพร วิชัยรัมย์ ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 61 74 การสื่อสารทางการเมืองด้วยหลักสาราณียธรรมของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275606 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นตามความคิดเห็นของประชาชน 2) เปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองโดยการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 399 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ตามความคิดเห็นของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อยู่ในระดับมาก คือ ด้านผู้ส่งสาร และระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร ด้านผู้รับสาร อยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการวางแผน<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองโดยการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น ดังนี้ 1) ด้านผู้ส่งสาร ต้องมีความรอบรู้ในการสื่อสารโดยใช้เมตตากายกรรม เมตตามโนกรรม การแสดงออกด้วยการกระทำที่มีเมตตาและสร้างสรรค์ 2) ด้านสาร มีทัศนคติที่ดี ใช้สาธารณโภคิตา เมตตากายกรรม การมุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ 3) ด้านช่องทางการสื่อสาร นักการเมืองมีเมตตากายกรรม เมตตามโนกรรม ส่งเสริมความสงบสุข ความไว้วางใจ 4) ด้านผู้รับสาร ทัศนคติที่ดีโดยประยุกต์หลักสีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา ทำให้การเมืองที่สะอาดเป็นธรรม มีความปรองดอง และศรัทธาในระบบการเมือง</span></p> ศิริกล้า แก้วสุทอ ปัญญา คล้ายเดช ไพฑูรย์ มาเมือง Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 75 86 การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่ตะเข็บชายแดน ลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดเลย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277256 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการฟื้นฟูและการขับเคลื่อนนโยบายการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ และ 2) เสนอแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 60 คน โดยวิธีแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาตามหลักอุปนัย<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. สภาพปัญหาการขับเคลื่อนนโยบายการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ตามแนวตะเข็บชายแดนในจังหวัดเลย ประชาชนในจังหวัดเลยมีการตื่นตัวในทางด้านการป้องกันตัวในโควิด 19 แต่ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตัวจึงทำให้ไม่มีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. แนวทางสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้ฐานความคิดทางพระพุทธศาสนาให้เกิดสุขภาวะองค์รวม 4 มิติ คือ ทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ ทางด้านสังคม และทางด้านปัญญา การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีต้องดูแลแบบบูรณาการทั้งทางด้านกาย จิต สังคม เพราะหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะทำให้ขาดความสมดุล สิ่งสำคัญที่เป็นสารตั้งต้น คือ สุขภาพจิตที่แข็งแกร่ง จะเป็นฐานรากให้คนเราสามารถยืนยัดต่อสู้และเผชิญปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้ การมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เข็มแข็งทำให้กายเป็นสุข สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบที่ต้องอยู่ร่วมกันหากขาดส่วนใดชีวิตก็จะสูญเสียการทำงานไป ส่งผลต่อองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหลือมีผลให้ร่างกายโดยรวมเจ็บป่วย จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ครอบคลุมร่างกายทุกระบบทั้งทางด้านร่างกาย ซึ่งสอดคล้องกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา คือหลักภาวนา 4 หมายถึง หลักการเจริญ การทำให้เป็นให้มีขึ้น การฝึกอบรมและการพัฒนาด้านกาย ด้านศีล ด้านจิต และด้านปัญญา ที่เกี่ยวกับสุขภาวะ</span></p> ธงชัย สิงอุดม ศตวรรษ สงกาผัน พระมหาสมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน (สมศักดิ์ สินนา) พระมหาวสันต์ วสนฺตเวที (วสันต์ หงอกชัย) Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 87 102 การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนในสถาบันการศึกษาปอเนาะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/278929 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถาบันการศึกษาปอเนาะ 2) การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 406 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้จังหวัดที่ตั้งเป็นเกณฑ์แล้วสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถาบันการศึกษาปอเนาะ พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.37, S.D. = 0.11) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความผูกพันต่อองค์กร การให้ความไว้วางใจ การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การกระจายอำนาจและการตัดสินใจร่วมกัน การเป็นอิสระในงานที่รับผิดชอบ และการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.38, S.D. = 0.08) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การเสริมสร้างทักษะอาชีพผ่านการจัดหลักสูตรระยะสั้น การเสริมสร้างทักษะอาชีพโดยการจัดฐานการเรียนรู้ และการเสริมสร้างทักษะอาชีพในรูปแบบโครงงานอาชีพ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 832) กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">4. การบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถทำนายการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน ได้ร้อยละ 73.30</span></p> โสภนา สุดสมบูรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 103 116 การศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277084 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อปี 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 381 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กำนัน ผู้นำตำบลทุ่งวัง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบอุปนัยวิธี<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.64, S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการประหยัด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการลดรายจ่าย ด้านการดำรงชีวิต ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านความเอื้ออาทร และด้านการเพิ่มรายได้<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลเปรียบเทียบการศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนรายได้ต่อปี มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรลดรายจ่ายด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว การใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรเต็มที่ การส่งเสริมการออมและเข้าร่วมสหกรณ์ การอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น การรักษาสิ่งแวดล้อม และการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ เพื่อคอยช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน</span></p> วราภรณ์ สร้อยเสน สถาพร วิชัยรัมย์ ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-26 2024-12-26 11 3 117 130 ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนคติของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275923 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนคติของครู 2) เปรียบเทียบทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนคติของครู จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนคติของครู เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครู จำนวน 344 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ 2) กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอนจำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) <br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนคติของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.41, S.D. = .35)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. การเปรียบเทียบทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนคติของครู จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน<br /></span>3. แนวทางการพัฒนา ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า 1) ทักษะด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายการดำเนินงานภายในองค์กร 2) ทักษะการสื่อสาร ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีวิธีการสื่อสารทำให้บุคลากรเกิดการรับรู้ร่วมกัน 3) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม 4) ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถคิดเชื่อมโยงอย่างเป็นองค์รวม 5) ทักษะการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาให้มีความทันสมัยด้วยวิธีการที่หลากหลาย และ 6) ทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีกระบวนการถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลอย่างถูกต้องชัดเจน</p> นวพร ศรีสวัสดิ์ สมฤทัย เตาจันทร์ ชวนคิด มะเสนะ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 131 146 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277259 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตจำแนกตามแต่ละหมู่บ้าน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 6 หมู่บ้าน จำนวน 237 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ประธานและเลขานุการกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลบ้านตะโก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.81, S.D. = 0.26) โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดองค์กร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.90, S.D. = 0.41) ด้านการอำนวยการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.85, S.D. = 0.40) ด้านการบริหารบุคลากร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.84, S.D. = 0.46) ด้านการควบคุม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.82, S.D. = 0.33) และด้านการวางแผน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.64, S.D. = 0.40)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลบ้านตะโก จำแนกตามแต่ละหมู่บ้าน พบว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลบ้านตะโกแต่ละหมู่บ้าน มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ที่ตั้งไว้<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พบว่า ด้านการวางแผน ควรวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก ด้านการจัดการองค์กร ควรระบุหน้าที่และอำนาจในการตัดสินใจของแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน ด้านการบริหารบุคลากร ควรกระตุ้นให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการอำนวยการ ควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมความร่วมมือ การสื่อสารที่ดี และความรับผิดชอบร่วมกัน ด้านการควบคุม ควรระบุและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงาน</span></p> ฐาปกรณ์ ทองทิพย์ สถาพร วิชัยรัมย์ ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงศ์ชัยชาญ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 147 160 สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/276991 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน 2) เปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรผู้มีชื่อในทะเบียนราษฎร อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 380 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก <br />(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.17, S.D. = </span>0.30<span style="font-size: 0.875rem;">) ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ </span><span style="font-size: 0.875rem;">มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.31, S.D. = </span>0.42<span style="font-size: 0.875rem;">) รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ </span><span style="font-size: 0.875rem;">(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.25, S.D. = </span>0.45<span style="font-size: 0.875rem;">) และด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.11, S.D. = </span>0.37<span style="font-size: 0.875rem;">) </span><span style="font-size: 0.875rem;">สภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.48, S.D. = 0.26) ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.58, S.D. = 0.37) รองลงมาคือ </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.53, S.D. = 0.30) และด้านความเข้าใจและ</span><span style="font-size: 0.875rem;">เห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.29, S.D. = 0.30)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชน </span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. แนวทางการพัฒนาการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน ได้แก่ ควรมีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอต่อจำนวนประชาชนที่มาใช้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บริการของประชาชน และยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการให้บริการประชาชนมากยิ่งขึ้น</span></p> สุพัตรา อุบัติ สถาพร วิชัยรัมย์ ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 161 174 ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีบริหารส่วนตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275493 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนวการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเลือกตั้ง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 358 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนา<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านคุณสมบัติของตัวผู้สมัคร ด้านนโยบาย ด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพล และด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. เปรียบเทียบปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนก เพศ อายุ การศึกษา และอาชีพ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. แนวการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเลือกตั้ง คือ 1) ด้านการประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการระดมความคิด 2) ด้านการพร้อมเพรียงกันประชุม เป็นการฝึกวินัยและขันติธรรมให้มีความอดทนและรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย 3) ด้านการไม่บัญญัติหรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติตามอำเภอใจ 4) ด้านการเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ 5) ด้านการให้เกียรติ และคุ้มครองสิทธิสตรี 6) ด้านการส่งเสริม และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 7) ด้านการอารักขา คุ้มครอง ปกป้อง อันชอบธรรม มีความปลอดภัยและเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักประชาธิปไตย</span></p> ปัญญา แสงโยธา ปัญญา คล้ายเดช ไพฑูรย์ มาเมือง Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 175 186 การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/278810 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 4) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 21 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test)<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 24.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.74 คิดเป็นร้อยละ 96.88 ก่อนการจัดประสบการณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 18.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.73 คิดเป็นร้อยละ 74.28 และความก้าวหน้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 5.65 คิดเป็นร้อยละ 22.6<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 22.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.03 คิดเป็นร้อยละ 94.52 ก่อนการจัดประสบการณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 17.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.98 คิดเป็นร้อยละ 71.09 และความก้าวหน้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 5.62 คิดเป็นร้อยละ 23.43<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">4. เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> นิตยา ศรีมกุฎพันธุ์ สุดารัตน์ เปรมชื่น สุดาพร วิชิตชัยชาคร Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 187 198 การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277641 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอน 2) ศึกษาเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาสร้างเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสอนศีลธรรม จำนวน 171 รูป ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณนา<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ทักษะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอน พบว่า พระสอนศีลธรรมมีทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะในฐานะผู้สอนรายวิชาพระพุทธศาสนา เน้นการสอนตรงตามเนื้อหารายวิชา 2) ทักษะในฐานะผู้สอนวิชาธรรมศึกษา เน้นการสอนอธิบายความ 3) ทักษะในฐานะผู้สอนสมาธิ บริหารจิต เจริญปัญญา เน้นการสอนแบบวิเคราะห์แยกแยะ และ 4) ทักษะในการสอนเชิงบูรณาการ เน้นการสอนครบวงจร ทั้งการจดจำ อธิบายขยายความ พระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็นในด้านนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> </span>=<span style="font-size: 0.875rem;"> 4.51)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. เทคนิคการสอนโดยใช้สื่อสร้างสรรค์ พบว่า มีการพัฒนาด้วยการอบรมวิธีการนำโปรแกรมประยุกต์หลากหลายรูปแบบมาใช้ ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft PowerPoint, Microsoft Excel นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มทักษะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย พระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็นในด้านนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> </span>=<span style="font-size: 0.875rem;"> 4.63)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. การสร้างเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมของพระสอนศีลธรรม พบว่า ได้ดำเนินการเริ่มจากการสร้างเครือข่ายภายในโรงเรียน แล้วขยายเครือข่ายออกไปภายนอกโรงเรียน ได้แก่ 1) การสร้างเครือข่ายภายในโรงเรียน พระสอนศีลธรรมเป็นผู้ขับเคลื่อนเครือข่าย 2) การสร้างเครือข่ายนอกโรงเรียน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน และ 3) การสร้างเครือข่ายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างกัน พระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> </span>=<span style="font-size: 0.875rem;"> 4.80)</span></p> ปัญญา กันภัย พระมหามนกมล กิตฺติญาโณ (มนกมล มีดีหาญ) Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 199 212 จริยศาสตร์อาหารในวิถีอาหารแห่งอนาคต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/278054 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย พัฒนาการ และคุณค่าของวิถีอาหารแห่งอนาคต และ 2) วิเคราะห์จริยศาสตร์อาหารในวิถีอาหารแห่งอนาคต เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการรวบรวมหนังสือ เอกสาร บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์อาหารและวิถีอาหารแห่งอนาคต จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ศึกษาวิเคราะห์มาสังเคราะห์ในรูปแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า <br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความหมายและพัฒนาการของวิถีอาหารแห่งอนาคต เกิดจากการที่ระบบอาหารถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรมต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นคุณค่าผ่านกระบวนการผลิต การประกอบการ และการบริโภคอาหาร<br /></span>2. จริยศาสตร์อาหารในวิถีอาหารแห่งอนาคต คือวิถีแห่งการสร้างความมั่นคง ความยุติธรรม และอธิปไตยให้กับอาหาร โดยความมั่นคงสามารถสร้างได้ใน 4 มิติ ได้แก่ ความเพียงพอ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และเสถียรภาพทางอาหาร ความยุติธรรมสร้างได้ด้วยการคืนสิทธิการเข้าถึงอาหาร ด้วยการคืนที่ดินและแรงงานให้กลับคืนถิ่น และอธิปไตยสามารถสร้างได้โดยการยกเลิกเสรีนิยมทางการค้า และหันมาตระหนักถึงสิทธิแรงงานและสิทธิสัตว์ รวมไปถึงการกระจายการใช้เทคโนโลยีการเกษตรอย่างทั่วถึง</p> เฌอรีนร์ กันตา ปิยะมาศ ใจไฝ่ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 213 226 การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชนในอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277359 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปรากฏการณ์ประชาธิปไตยชุมชน 2) ศึกษารูปแบบการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน และ 3) พัฒนากระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และดำเนินการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ให้้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บข้อมูลแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลในลักษณะการพรรณนาความ<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า <br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. ชุมชนมีความต้องการเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้นโดยเสนอปัญหาความต้องการ และต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา โดยใช้กิจกรรมประชาธิปไตยชุมชน ในลักษณะประชาธิปไตยชุมชนแบบปรึกษาหารือ และประชาธิปไตยชุมชนแบบการปกครองตนเอง<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน มี 3 รูปแบบ คือ 1) การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบชุมชน 2) การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และ 3) การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบปกครองตนเอง <br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">3. พัฒนากระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน โดยใช้การบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักอปริหานิยธรรม โดยมีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ 1) การประชุมปรึกษาหารือ 2) การสร้างพลังชุมชน 3) การปฏิบัติตามวัฒนธรรมชุมชน 4) การรับฟังความคิดเห็นปราชญ์ชุมชน 5) การส่งเสริมบทบาทสตรีชุมชน 6) การสร้างอุดมคติชุมชน และ 7) การจัดสวัสดิการชุมชน</span></p> ทักษิณ ประชามอญ ปัญญา คล้ายเดช Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 227 240 บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277631 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) นำเสนอชุดความรู้บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 ท่าน และ กลุ่มเป้าหมายคือพระสอนศีลธรรม จำนวน 300 รูป โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากกลุ่มตัวอย่าง 171 รูป วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดย SWOT Analysis<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. บทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) การเลือกใช้กระบวนการเรียนการสอนและสื่อการสอนได้เหมาะสม อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.68, S.D. = 0.75) 2) การมีส่วนร่วมในกระบวนการสอน อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.15, S.D. = 0.69) และ 3) การสร้างความเชื่อมั่นโดยคุณลักษณะส่วนตัว อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.08, S.D. = 0.74)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัญหาที่เกิดจากการเลือกใช้กระบวนการเรียนการสอน คือไม่มีทักษะในการเลือกใช้ ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา ไม่เหมาะสมกับผู้เรียนและทักษะผู้สอน การขาดแคลนสื่อการสอน ชั่วโมงการสอนน้อยขาดความต่อเนื่อง ไม่มีเครื่องมือการสอน ปัญหาจากสถานศึกษา ตัวชี้วัดการเรียนการสอนไม่ชัดเจน<br /></span>3. ชุดความรู้บทบาทพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยองค์ความรู้ 6 ด้าน คือ ความรู้เกี่ยวกับพระสอนศีลธรรม ความรู้ด้านการสอน ความรู้ด้านการแก้ไขปัญหา ความรู้ด้านคุณลักษณะและพฤติกรรมในการสอนที่เหมาะสม ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้และการบูรณาการหลักธรรม และการกำหนดระดับของกระบวนการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทบาทพระสอนศีลธรรม</p> พระปลัดวุฒิพงษ์ กิตฺติวณฺโณ (วุฒิพงษ์ ผลไม้) พระปลัดพีระพงศ์ ฐิตธมฺโม (พีระพงศ์ โชตินอก) พระครูประโชติพัชรพงศ์ (นัฐพงษ์ พิทักษ์อัมพรกุล) พระมนูศักดิ์ อุตฺตโร (มนูศักดิ์ คำผา) เครือวัลย์ มโนรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2024-12-27 2024-12-27 11 3 241 254