วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru
<p>วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นวารสารทางวิชาการเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั่วไป ได้เผยแพร่บทความทางวิชาการ และบทความจากผลงานวิจัยในศาสตร์ทางด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts and Humanities) ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ และการบัญชี (Business, Management and Accounting) ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences)</p>
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
th-TH
วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2774-1176
<p>บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว</p>
-
การใช้ผงหมึกเหลือใช้ทดแทนสารตั้งต้นผง Fe2O3 เพื่อการสังเคราะห์ Ni0.5Zn0.5Fe2O4 เฟอร์ไรท์ด้วยวิธีการเผาแคลไซน์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270679
<p>การสังเคราะห์ Ni<sub>0.5</sub>Zn<sub>0.5</sub>Fe<sub>2</sub>O<sub>4</sub> เฟอร์ไรท์ จากผงหมึกเหลือใช้โดยวิธีการเผาแคลไซน์ของสารตั้งต้น NiO ZnO และผงหมึกเหลือใช้โดยสัดส่วนโดยโมล (NiO : ZnO : ผงหมึกเหลือใช้ คือ 0.5 : 0.5 : 1) ที่อุณหภูมิห้อง และ 1,100<sup>o</sup>C นาน 2 ชั่วโมง เมื่อทำการทดสอบโครงสร้างผลึกด้วยหลักการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) พบว่าที่อุณภูมิการเผาแคลไซน์ 1,100<sup>o</sup>C นาน 2 ชั่วโมง ส่งผลให้เกิดโครงสร้างผลึกของ Ni<sub>0.5</sub>Zn<sub>0.5</sub>Fe<sub>2</sub>O<sub>4</sub> เฟอร์ไรท์ แบบคิวบิกสปิเนล โดยมีค่าคงที่แลตทิช (a) เท่ากับ 8.21 Å และมีขนาดผลึกเฉลี่ย (D<sub>XRD</sub>) เท่ากับ 11.87 nm และเมื่อทำการทดสอบสมบัติความเป็นแม่เหล็กของวัสดุด้วยเครื่องทดสอบความเป็นแม่เหล็กแบบตัวอย่างสั่น (VSM) พบว่า Ni<sub>0.5</sub>Zn<sub>0.5</sub>Fe<sub>2</sub>O<sub>4</sub> เฟอร์ไรท์ที่เผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 1,100<sup>o</sup>C นาน 2 ชั่วโมง มีสมบัติแม่เหล็กแบบชั่วคราว โดยมีค่าการอิ่มตัวทางแม่เหล็กของวัสดุ (M<sub>s</sub>) เท่ากับ 16 emu/g ค่าคงค้างความเป็นแม่เหล็กของวัสดุ (M<sub>r</sub>) เท่ากับ 0.03 emu/g และค่าลบล้างความเป็นแม่เหล็กของวัสดุ (H<sub>C</sub>) เท่ากับ 7 Oe จากสมบัติทางโครงสร้างผลึกและสมบัติทางแม่เหล็กของ Ni<sub>0.5</sub>Zn<sub>0.5</sub>Fe<sub>2</sub>O<sub>4</sub> เฟอร์ไรท์ ที่สังเคราะห์ได้ พบว่าเป็นสมบัติที่ดีในกลุ่มของวัสดุแม่เหล็กแบบชั่วคราว ดังนั้นจึงสามารถนำผงผมึกเหลือใช้มาเป็นสารตั้งต้นทดแทน Fe<sub>2</sub>O<sub>3</sub> ได้</p>
อังทินี กิตติรวีโชติ
สุนิศา จิตสุนทรชัยกุล
อนุวัฒน์ หัสดี
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
9 2
18
26
-
การจำแนกนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ตรงกับความต้องการของโรงเรียนด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271597
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับจำแนกนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามความต้องการของโรงเรียนเครือข่าย และเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบจำลองสำหรับจำแนกนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามความต้องการของโรงเรียนเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเลือกมา 5 เขตจากการสุ่มตัวอย่างง่าย และคัดเลือกโรงเรียนมาเขตละ 2 โรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา โดยเก็บข้อมูลกับครูภายในโรงเรียนทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนเป็นโรงเรียนต่างขนาดกันทำให้มีจำนวนครูไม่เท่ากันโดยเฉลี่ย 10 ถึงประมาณ 30 คน ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลจากครูภายในโรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโรงเรียนละ 10 คน จำนวน 10 โรงเรียนรวมเป็น 100 คน</p> <p>เมื่อนำแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาหาประสิทธิภาพของแบบจำลองด้วยวิธี Confusion Matrix ในการประเมินแบบจำลองสำหรับจำแนกนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามความต้องการของโรงเรียนเครือข่ายได้ผลลัพธ์ดังนี้ ค่าคะแนนความถูกต้องของแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 92 ส่วนค่าความแม่นยำ (Precision) ของโรงเรียนส่วนใหญ่อยู่ที่ 1.00 หรือทำนายได้ถูกต้องทั้งหมด ยกเว้นโรงเรียนที่ 3 ค่าความแม่นยำ อยู่ที่ร้อยละ 83 และโรงเรียนที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 67 ด้านค่าความระลึก (Recall) ของโรงเรียนส่วนใหญ่อยู่ที่ 1.00 ยกเว้นโรงเรียนที่ 1 อยู่ที่ร้อยละ 80 และโรงเรียนที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 33 และค่าความถ่วงดุลย์ (F1-Score) ของโรงเรียนส่วนมากได้คะแนน 1.00 ยกเว้นโรงเรียนที่ 1 อยู่ที่ 0.89 โรงเรียนที่ 2 อยู่ที่ 0.50 โรงเรียนที่ 3 อยู่ที่ 0.91 และโรงเรียนที่ 4 อยู่ที่ 0.80</p>
อังคาร ปริญญาชัยศักดิ์
นิธิวดี พะเทพ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
9 2
43
51
-
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชวงศ์ขิงบางชนิดต่อการต้าน เชื้อรา Rhizoctonia solani Kuhn
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271670
<p>การวิจัยนี้มุ่งเน้นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากเหง้าแห้งของพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) 3 ชนิด ได้แก่ ขิง (<em>Zingiber officinale </em>Roscoe.) ข่า <em>(</em><em>Alpinia galanga </em>(L.) Willd.) และกระชาย<em> (</em><em>Boesenbergia rotunda </em>(L.) Mansf.) ที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิด ได้แก่ ไดคลอโรมีเทน(CH<sub>2</sub>Cl<sub>2</sub>และเมทานอล ( (CH<sub>3</sub>OH) ตามลำดับ โดยนำสารสกัดมาทำการทดสอบการต้านการเจริญของรา <em>Rhizoctonia solani </em>Kuhn. เชื้อก่อโรคกาบใบแห้งในข้าว ในระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยเทคนิคการทำให้อาหารเป็นพิษ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Duncan’s Multiple Range Tests (DMRT) จำนวน 3 ซ้ำ ที่ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร (ส่วนในล้านส่วน) พบว่า สารสกัดไดคลอโรมีเทนจากข่าแสดงประสิทธิภาพในการต้านการเจริญของรา <em>R. solani </em>ได้สูงสุด (86.30%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>£0.05) จากผลการทดลองหาประสิทธิภาพของสารสกัดไดคลอโรมีเทนจากข่าที่ความเข้มข้น 200 400 600 800 1,000 และ 1,200 ส่วนในล้านส่วน ต่อการต้านการเจริญของรา <em>R. Solani</em> พบว่า สารสกัดนี้สามารถต้านเชื้อราดังกล่าว 50% (IC<sub>50</sub>) ที่ระดับความเข้มข้น 583.02 ส่วนในล้านส่วน และสามารถต้านเชื้อราดังกล่าวได้ถึง 100% ที่ระดับความเข้มข้น 1,176 ส่วนในล้านส่วน จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า สารสกัดไดคลอโรมีเทนจากข่ามีประสิทธิภาพในการต้านการเจริญของรา <em>R. solani</em> เชื้อก่อโรคกาบใบแห้งในข้าวในระดับห้องปฏิบัติการ ผลลัพธ์ที่ได้นี้สามารถเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาสารป้องกันกาบใบแห้งในข้าวจากสารสกัดของพืชวงศ์ขิงในอนาคต</p>
ภัทรภร เอื้อรักสกุล
กิตติยา ศิลาวงศ์
นิลุบล สอนแก้ว
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
9 2
52
61
-
พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ และความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271053
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของครูที่มีต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี จำแนกตามเพศ และประสบการณ์สอนของครู และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี โดยดำเนินการวิจัยด้วยการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ ประจำปีการศึกษา 2566 โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ และความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ผ่านระบบออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ครูมีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ที่มีต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด ขณะที่ความแตกต่างระหว่างเพศและประสบการณ์สอนที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ที่มีต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรีที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านความพึงพอใจของครูต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยในชั้นเรียนออนไลน์ของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ปราณี ใจบุญ
บาทหลวงลือชัย จันทร์โป๊
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
กนก พานทอง
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
9 2
62
72
-
การสร้างระบบเตือนภัยฝุ่นละอองและแบบจำลองการพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/272956
<p>การวิจัยนี้พัฒนาระบบตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่สามารถแจ้งเตือนปริมาณฝุ่นเมื่อเกินค่ามาตรฐานผ่าน Application Line และพยากรณ์ปริมาณฝุ่นล่วงหน้าโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม การสร้างแบบจำลองการพยากรณ์นี้ใช้โปรแกรม Rapid Miner Studio โดยมีจุดติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร, ตำบลบางโทรัด จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มีนาคมถึง 31 พฤษภาคม 2565 เพื่อสร้างแบบจำลอง และระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มิถุนายน 2565 เพื่อเปรียบเทียบผลพยากรณ์ ตัวแปรที่ใช้รวมถึง PM2.5 อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม ผลการวิเคราะห์พบว่าการพยากรณ์ที่มีความแม่นยำสูงสุดเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีค่าความผันผวนต่ำที่สุดที่ 0.03% (MAE = 0.155, MAPE = 0.4%) ในขณะที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรสาครมีค่าความผันผวนที่ 2.31% (MAE = 0.43, MAPE = 5.2%) และ 5.54% (MAE = 2.08, MAPE = 6.5%) ตามลำดับ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการพยากรณ์คุณภาพอากาศ ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อไป</p>
คณกร สว่างเจริญ
สมบัติ ทีฆทรัพย์
พงษ์พันธ์ นารีน้อย
ภักดี โตแดง
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
9 2
73
96
-
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับมรดกศิลปวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271581
<p>การศึกษาวิจัยเรื่อง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับมรดกศิลปวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์ <br />1. ศึกษาเกี่ยวกับประวัติและผลงานทางศิลปวัฒนธรรมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) <br />2. ศึกษาสถานที่โดนเด่นทางศิลปวัฒนธรรมที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เกี่ยวข้อง 3. ศึกษาเส้นทางที่เกี่ยวกับสถานที่ทางศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ <br />(ช่วง บุนนาค) เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถเผยแพร่เพื่อการศึกษาหรือทางธุรกิจ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ (Historical Research) การวิจัยทางเอกสารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ <br />โดยใช้หลักฐานชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) และหลักฐานชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) ทำการลงพื้นที่เพื่อสำรวจ (Field research) ซึ่งรายงานผลการวิจัยในรูปของการพรรณนา (Descriptive)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1. ประวัติของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)เป็นบุคคลสำคัญต่อประเทศชาติ ท่านเกิดตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) <br />และถึงแก่พิราลัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีผลงานทางศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก และหลายแขนงด้วยกัน เช่น วรรณกรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ 2. สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่มีความโดดเด่น เช่น พระนครครี พระนารายณ์<br />ราชนิเวศน์ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร วัดบุปผารามวรวิหาร ฯลฯ 3. เส้นทางเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีหลายเส้นทางทั้งในกรุงเทพมหานคร เมืองราชบุรี และเมืองเพชรบุรี ฯลฯ</p>
สหภัส อินทรีย์
นนท์ณธี ดุลยทวีสิทธิ์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
9 2
97
112
-
การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทเพลงกล่อมเด็ก “จันทร์เจ้า”
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271232
<p>การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทเพลงกล่อมเด็ก “จันทร์เจ้า” มีวัตถุประสงค์<br />เพื่ออนุรักษ์บทเพลงกล่อมเด็กจันทร์เจ้า แสดงคติ ความเชื่อ ค่านิยมของสังคมไทยจากรุ่นสู่อีกรุ่นผ่านการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์ โดยมีองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ 8 ประการ อีกทั้งยังบูรณาการแนวคิดคติชนวิทยา ความหมายของพระจันทร์ วิเคราะห์และตีความเพลงกล่อมเด็กจันทร์เจ้า ผ่านกระบวนการละครแบบร่วมสร้าง (Devised Theatre) เพื่อพัฒนาบทและสรรค์สร้างการแสดงร่วมกัน โดยผ่านการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย</p> <p>ผลการวิจัยและการสร้างสรรค์ พบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทเพลงกล่อมเด็ก “จันทร์เจ้า” นี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่ 1) บทการแสดงซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ความทรงจำวัยเยาว์ ช่วงที่ 2 วงโคจร และช่วงที่ 3 ลาจันทร์ 2) นักแสดง เป็นผู้มีความรู้และทักษะด้านศิลปะการแสดงและนาฏศิลป์ร่วมสมัย 3) ลีลานาฏศิลป์ นำเสนอผ่านการเต้นร่วมสมัย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเทคนิคด้นสดแบบใช้วิธีปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย (Body Contact Improvisation) 4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรีหลัก คือ กีตาร์ และเปียโน รวมทั้งเสียงสังเคราะห์ เสียงประกอบพิเศษ และเสียงบรรยากาศ 5) เครื่องแต่งกาย การใช้สีดำและสีเหลืองในการออกแบบเครื่องแต่งกายช่วยเพิ่มความแตกต่างทางองค์ประกอบภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการแสดงด้วยความลึกของสัญลักษณ์และอารมณ์ 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบโดยคำนึงถึงความสวยงาม พลิ้วไหว และความรู้สึกไร้น้ำหนัก 7) แสง เลือกใช้แสงจากโพรเจกเตอร์รูปดวงจันทร์เพื่อสร้างบรรยากาศท้องฟ้าในยามค่ำคืน และ 8) พื้นที่ในการแสดง เลือกสถานที่แสดงที่มีลักษณะเป็นลานกว้าง โดยคำนึงถึงสภาพอากาศ ขนาด และความแตกต่างของพื้นที่การแสดง</p>
ขนิษฐา บุตรไชย
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
128
142
-
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/274788
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองใช้และรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการออกแบบสารสนเทศเพื่อการนำเสนอ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน คัดเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ กลุ่มรับรองรูปแบบ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง และใช้แบบประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยการเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการความรู้ 3 ครั้ง ของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยรูปแบบดังกล่าวตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (2) ผลการรับรองรูปแบบพบว่า ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมากที่สุด และผู้เชี่ยวชาญทุกท่านให้การรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว จึงถือได้ว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเรียนรู้ในรายวิชาที่เหมาะสมต่อไป</p>
อภิญญา หนูมี
ศิริกาญจน์ โพธิ์เขียว
นุกูล สาระวงศ์
สมบัติ ทีฆทรัพย์
วิมล อุทานนท์
อัจฉรา ผ่องพิทยา
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
143
159
-
ความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดทำเเผนพัฒนากับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/275097
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการมีส่วนร่วมในการจัดทำเเผนพัฒนาในเขตเทศบาลตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตลอดจนการศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนากับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผ่านการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชน ภาพรวมของประชาชนมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาของประชาชน และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชน พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพที่แตกต่างกัน คุณภาพชีวิตของประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วน เพศ ที่แตกต่างกัน คุณภาพชีวิตของประชาชนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนากับคุณภาพชีวิตของประชาชน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับประเมินผลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสามารถอธิบายคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้ร้อยละ 64.1 ส่วนผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตของประชาชน พบว่า ทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตของประชาชน</p>
กัณญาณัฐ เสียงใหญ่
พงค์พันธ์ นารีน้อย
ศิวพร โพธิวิทย์
อัญมณี ศรีประสิทธิ์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
160
171
-
การพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเทคนิค เพื่อนคู่คิดของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/275682
<p>การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเทคนิคเพื่อนคู่คิดของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเทคนิคเพื่อนคู่คิด และศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลโดยเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 3 วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำนวน 47 คน โดยใช้ แบบสอบถามความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล บทเรียนออนไลน์ และ แบบทดสอบเก็บคะแนนทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล <br />มีสภาพที่คาดหวังในระดับมาก (4.31) และสภาพที่เป็นจริงในระดับปานกลาง (2.75) ค่าความต้องการจำเป็นในภาพรวม มีค่า PNI <sub>modified</sub> (Priority Needs Index) เท่ากับ 0.57 คะแนนทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในด้านการจัดการเรียนการสอนควรมีการกระตุ้นเปิดโอกาสให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น การอภิปราย การช่วยเหลือ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งยังควรให้นักศึกษาได้ตรวจสอบความถูกต้องของผลงานร่วมกัน เช่นเดียวกันกับการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างโจทย์ปัญหาด้วยตนเองและค้นคว้าคำตอบในสิ่งที่ตนเองสนใจ</p>
พรทิวา ชนะโยธา
พระมหาเกรียงไกร สิริวฑฺฒโน
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
184
193
-
ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดกรีนโอ๊คที่ปลูกใช้ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/275843
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดกรีนโอ๊ค (<em>Lactuca sativa </em>var<em>. crispa</em> L.) ที่ปลูกในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบ NFT (Nutrient Film Technique) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์โดยใช้สูตรสารละลายธาตุอาหาร ได้แก่ น้ำหมักชีวภาพนมสด สารละลายธาตุอาหารน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ สารละลายธาตุอาหารตามกรรมวิธีของเกษตรกร และสารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า เพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบในการเจริญเติบโตของผักกาดหอมกรีนโอ๊ค โดยทำการปลูกเป็นเวลา 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า สารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า + สารละลายธาตุอาหารตามกรรมวิธีของเกษตรกร อัตราส่วน 1:1 ให้ค่าการเจริญเติบโตทางด้านจำนวนใบ ความสูงต้น และน้ำหนักสดสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.55±1.23 ใบ 27.00±1.3 เซนติเมตร 101.61±9.83 กรัมต่อต้น ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการเติมสารละลายธาตุอาหารสารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า (Treatment 3) กับน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ (Treatment 2) พบว่า น้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ ให้ค่าความกว้างทรงพุ่มที่ดีกว่า ในวันที่ 7 14 และ 21 หลังจากย้ายปลูก โดยมีค่าเฉลี่ยความกว้างทรงพุ่มเท่ากับ14.25±0.88 24.35±1.50 และ 25.20±1.74 เซนติเมตรตามลำดับ ในขณะที่ ชุดการทดลองควบคุม (ไม่เติมสารละลายธาตุอาหาร) (Treatment 1) สารละลายธาตุอาหารน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ (Treatment 2) และสารละลายธาตุอาหารน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ + สารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า อัตราส่วน 1:1 (Treatment 5) มีปริมาณไนเตรทสะสมน้อยที่สุด และทั้ง 3 กรรมวิธีไม่แตกต่างทางสถิติที่ P= 0.05 โดยปริมาณไนเตรทสะสมเฉลี่ยเท่ากับ 155.00 ±2.00 235.63 ±1.23 และ 273.30 ±1.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และค่าที่พบไม่สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด (2,500 มก./น้ำหนักสด 1 กก.) โดยสรุปข้อมูลที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้เป็นข้อเสนอแนะให้เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก และใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นทางเลือกทดแทนเพื่อลดความเสี่ยงปริมาณไนเตรทตกค้างเกินมาตรฐาน</p>
จาริวัฒณ์ ศิริอินทร์
นุกูล สาระวงศ์
สมบัติ ทีฆทรัพย์
จักรพงษ์ หรั่งเจริญ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
194
204
-
แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/275512
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย ปัจจัยการบริหารจัดการโครงการสนามกีฬาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย และแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 164 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน</p> <p>ผลการวิจัยในส่วนของกระบวนการบริหารจัดการโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย พบว่า ควรทบทวน แผนพัฒนาและวิเคราะห์ภารกิจ ประเมินผลอย่างเป็นระบบ จัดอบรมบุคลากร บูรณาการงบประมาณร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น และสนับสนุนกิจกรรมเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน ขณะที่ปัจจัยการบริหารการจัดการโครงการสนามกีฬาในชุมชนชนบทในประเทศไทย ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการโครงการสนามกีฬาในชุมชนชนบทโดยรวมได้ร้อยละ 75.4 ส่วนแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทยมีจำนวน 5 แนวทาง กล่าวคือ การจัดกิจกรรมประชาพิจารณ์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวางแผนและบริหารจัดการสนามกีฬา การหาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การปรับปรุงแผนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในชุมชน และการจัดทำแผนการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ</p>
ชัยยศ ใคร่ครวญ
พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์
อนันต์ ธรรมชาลัย
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
205
215
-
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของการดำเนินกิจกรรมเสริม กรณีศึกษาเกษตรกรปลูกอ้อย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/276791
<p>ปัจจุบันเกษตรกรไร่อ้อยในประเทศไทยเผชิญความท้าทายหลายด้าน เช่น การผันผวนของราคาผลผลิต การขาดแคลนแรงงาน และภัยแล้ง ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผลผลิตและรายได้จากการปลูกอ้อยผันผวน เกษตรกรจึงหากิจกรรมเสริมเพื่อสร้างรายได้ระหว่างรอเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น การปลูกพืชแซม และการขายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินของการดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ของเกษตรกรปลูกอ้อย เกษตรกรสามารถใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกกิจกรรมเสริมรายได้ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของการดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ของเกษตรกรปลูกอ้อย โดยอาศัยข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ แบ่งเป็นเกษตรกรปลูกอ้อยที่ดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ จำนวน 11 ราย และเกษตรกรปลูกอ้อยที่ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ จำนวน 9 ราย การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการใช้ดัชนีมูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: B/C ratio)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมเสริมที่เกษตรกรปลูกอ้อยเลือกมากที่สุด คือ การปลูกพืชแซม ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรอ้อยที่ทำกิจกรรมเสริมรายได้มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทำกิจกรรมเสริมรายได้ เนื่องจากการปลูกพืชแซมเสียค่าใช้จ่ายเมล็ดพันธุ์และค่าเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่ม อย่างไรก็ตามผู้ที่ทำกิจกรรมเสริมได้รับรายได้เฉลี่ยมากกว่าผู้ที่ไม่ทำกิจกรรมเสริม ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิของเกษตรกรที่ดำเนินและไม่ดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ เท่ากับ 52,337.92 บาท และ 33,913.67 บาท ส่วนค่าอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน เท่ากับ 1.34 และ 1.27 ตามลำดับ</p>
จุมทิพย์ เสนีย์รัตนประยูร
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
216
230
-
การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/276780
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี จำนวน 600 คน การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ด้วยโปรแกรม LISREL Version 8.80 ผลการวิจัยปรากฏว่า มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู มีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ จำนวน 32 ข้อ ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล จำนวน 46 ข้อ และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน จำนวน 22 ข้อ โมเดลภาวะหมดไฟในการทำงานของครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า <em>c<sup>2</sup></em> = 15467.46 (<em>p </em>= 0.00), <em>df</em> = 4647, <em>RMSEA</em> = .068, <em>SRMR</em> = .072, <em>NNFI</em> = .980 และ <em>CFI</em> = .980 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปว่า มาตรวัดที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง และสามารถวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
สุมนา อภิวัฒน์นวพล
พีร วงศ์อุปราช
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
231
245
-
อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าที่มีต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ และการกลับมาซื้อซ้ำ ของผู้ใช้บริการตลาดนัดในเขตอยุธยา
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/277243
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของการรับรู้คุณค่าที่มีต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ และการกลับมาซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการตลาดนัดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วยตัวแปรแฝงจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรอิสระ คือ คุณค่าที่รับรู้ด้านความคุ้มค่า คุณค่าที่รับรู้ด้านราคา และคุณค่าที่รับรู้ด้านคุณภาพ ตัวแปรคั่นกลางคือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ และตัวแปรตาม ได้แก่ การกลับมาซื้อซ้ำ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการวิจัยเชิงประจักษ์ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการตลาดนัดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 431 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่า ร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของการรับรู้คุณค่าที่มีต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ และการกลับมาซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการตลาดนัดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค-สแควร์ (χ<sup>2</sup>) เท่ากับ 209.342 ที่องศาอิสระ (df) 229 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ<sup>2</sup>/df) เท่ากับ 1.00 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.503 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.949 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.917 ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า พารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.004 นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า 1) คุณค่ารับรู้ด้านความคุ้มค่า คุณค่าที่รับรู้ด้านราคา และคุณค่าที่รับรู้ด้านคุณภาพ มีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของผู้ใช้บริการตลาดนัดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) คุณค่ารับรู้ด้านความคุ้มค่า คุณค่าที่รับรู้ด้านราคา และคุณค่าที่รับรู้ด้านคุณภาพ และความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการตลาดนัดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการตลาดนัดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 4) ความไว้เนื้อเชื่อใจและความพึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการกลับมาซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการตลาดนัดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</p>
สมเกียรติ แดงเจริญ
กันทิมา มั่งประเสริฐ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-26
2024-12-26
9 2
255
271
-
ทรัพย์สินทางปัญญาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270871
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร พร้อมนำเสนอกรณีศึกษาที่น่าสนใจ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารให้กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว โดยทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถดึงดูดและมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยวได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าการประยุกต์ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในอุตสาหกรรมดังกล่าวยังคงมีอุปสรรคและข้อจำกัด ทั้งในด้านกฎหมายที่ขาดความชัดเจนในการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญา มรดกทางวัฒนธรรม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงปัญหาในการเข้าถึงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการบริหารจัดการสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านความรู้ ความเข้าใจของผู้ประกอบการ กระบวนการทางกฎหมายที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และการขาดการประสานความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง</p> <p>บทความฉบับนี้จึงเสนอให้มีการส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการและชุมชนในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว พร้อมเสนอให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงเครื่องหมายการค้ารูปแบบใหม่</p>
เสสินา นิ่มสุวรรณ์
คณิตพัฒน์ นาคะรัต
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-12
2024-11-12
9 2
1
17
-
ภัยคุกคามกับการจัดการด้านความมั่นคงพื้นที่ชายแดนในยุคดิสรัปชัน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270553
<p>จากการวิเคราะห์พบว่าปัจจุบันปัญหาความมั่นคงชายแดนเป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงกับ 6 ปัญหาสำคัญ ได้แก่ การสู้รบตามแนวชายแดนและความไม่ชัดเจนจากเส้นเขตแดน การลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ยาเสพติด การค้าอาวุธสงคราม การค้ามนุษย์ และทรัพยากรธรรมชาติและสาธารณภัยขนาดใหญ่ อีกประการหนึ่งภัยคุกคามที่มาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่นำมาซึ่งภัยแทรกซ้อนในรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบในทุกระดับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเป็นสำคัญโดยร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ นับวันยิ่งจะมีความซับซ้อนและครอบคลุมในทุกมิติทางสังคม ทั้งด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลมาจากการพัฒนา การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่งและเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่า “ดิสรัปชัน” ด้วยบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนให้ครอบคลุมและมีแนวโน้มประสบความสำเร็จในอนาคต ดังนั้นการสร้างความร่วมมือจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และองค์กรระดับประเทศควรให้ความสำคัญและแสดงบทบาทในการขยายความร่วมมือเพื่อธำรงรักษาไวซึ่งอธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักความมั่นคงภายในประเทศและต่างประเทศ</p>
วชิรวัชร งามละม่อม
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
9 2
27
42
-
CSR และ ESG: แนวคิดและแนวทางการดำเนินงานของภาคเอกชนเพื่อความยั่งยืน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271614
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกสารทางวิชาการ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) และแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Environment Social Governance : ESG) โดยนำเสนอและอธิบายถึงการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ความรับผิดชอบต่อสังคม พีระมิดของความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคมโดยอาศัยเกณฑ์การจำแนกตามกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ มาตรฐาน ESG และการเปรียบเทียบ CSR กับ ESG ซึ่งพบว่า CSR เป็นคำที่ใช้แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่สังคมคาดหวังและตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผ่านการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ และใช้สื่อถึงภาพลักษณ์และ<br />ผลการปฏิบัติงาน ส่วน ESG เป็นคำที่ใช้แสดงถึงธุรกิจที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับกิจการที่ดี โดยใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของนักลงทุน นอกจากนี้บทความวิชาการได้นำเสนอตัวอย่างการศึกษาการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบ CSR กับ ESG ในแง่มุมของการดำเนินงานของภาคเอกชน ซึ่งอาจประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินธุรกิจ</p>
ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร
เดชา พนาวรกุล
กมลวรรณ ทองฤทธิ์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
113
127
-
การประยุกต์ใช้แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ในต่างประเทศและประเทศไทย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/276792
<p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดการบริการสาธารณะใหม่ การประยุกต์ใช้แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ในต่างประเทศ การประยุกต์ใช้แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ในประเทศไทย และแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณะแนวใหม่ของประเทศไทย</p> <p>จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารต่าง ๆ พบว่า แนวคิดการบริการสาธารณะใหม่นำไปสู่การปรับบทบาทใหม่ในการบริการสาธารณะของภาครัฐ เน้นให้รัฐเป็น “ผู้ฟัง” เสียงของพลเมืองมากกว่าเป็น “ผู้สั่ง” ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สวีเดน แคนาดา ออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ให้ความสำคัญกับการบริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน ทั้งนี้การบริการสาธารณะของประเทศไทย กรณีตัวอย่างโครงการบ้านมั่นคง สะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะโดยหน่วยงานในรูปองค์การมหาชนทำหน้าที่หนุนเสริมองค์กรชุมชนและเครือข่ายในการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่น และแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณะแนวใหม่ของประเทศไทยที่สำคัญ คือ รัฐฟังมากกว่าสั่ง เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ การบูรณาการทุนทางสังคมในชุมชน การให้ความสำคัญกับรูปแบบและแนวทางการบริการสาธารณะที่มีความหลากหลาย และมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริการสาธารณะ</p>
ชมภูนุช หุ่นนาค
จุมพล หนิมพานิช
พลัฐวัษ วงษ์พิริยชัย
ปรรณิกา โตตลาภิวงศ์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-23
2024-12-23
9 2
172
183
-
#NewsOnTikToK การรายงานข่าวบนแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นความบันเทิง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/277330
<p>TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำหรับวิดีโอสั้นที่ขับเคลื่อนด้วยเพลง ได้ขยายขอบเขตสู่การเป็นช่องทางสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ชมวัยรุ่น ด้วยคุณลักษณะเฉพาะของแพลตฟอร์มที่สามารถดึงดูดและสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการใช้รูปแบบพิเศษ (Feature) ของแพลตฟอร์ม เช่น การออกอากาศสด (Live) และการแนะนำเนื้อหาเฉพาะบุคคลผ่านระบบอัลกอริธึม ส่งผลให้ TikTok มีอิทธิพลต่อการกำหนดวาระข่าวสารที่แพร่กระจายอยู่ในสังคม โดยการพิจารณาคุณค่าข่าวให้ความสำคัญแก่ความรวดเร็ว ความใกล้ชิดกับผู้ชม ความแปลกใหม่ และความเชื่อมโยงส่วนบุคคล ซึ่งทั้งหมดสอดคล้องกับลักษณะเด่นของแพลตฟอร์ม ทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดบันเทิงสารสนเทศ (Infotainment) ที่นำมาใช้ในการนำเสนอรายงานข่าวบนแพลตฟอร์ม TikTok แม้ว่าอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความถูกต้องและการแพร่กระจายข้อมูลที่ผิดพลาด บทความนี้จึงมีเป้าหมายในการแสดงให้เห็นถึงแง่มุมที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อการรายงานข่าวบนแพลตฟอร์มที่เน้นสร้างความบันเทิงเป็นหลัก ให้มีความเหมาะสมแก่การรายงานและเผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่สังคม</p>
เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
9 2
246
254