วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru <p>วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นวารสารทางวิชาการเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั่วไป ได้เผยแพร่บทความทางวิชาการ และบทความจากผลงานวิจัยในศาสตร์ทางด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts and Humanities) ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ และการบัญชี (Business, Management and Accounting) ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences)</p> th-TH <p>บทความ&nbsp; ข้อความ&nbsp; ภาพประกอบ&nbsp; และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์&nbsp; กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป&nbsp; และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ&nbsp; ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว</p> bhathravej@yahoo.com (อาจารย์ ดร.ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง) rdibsrujo@bsru.ac.th (จิรภรณ์ คล้ายวิจิตร) Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 VUCA สู่ BANI : ความท้าทายของการจัดการศึกษาปฐมวัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271427 <p>บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมกับความท้าทายจากสภาพการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันทางดิจิทัล (Digital Disruption) หลังการเกิดการแพร่ระบาด Covid19 ทำให้วงการศึกษาทั่วโลกตระหนักถึงการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ผันผวน และไม่อาจคาดเดาได้ การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์จึงจำเป็นที่จะเตรียมความพร้อมให้เด็กได้มีพัฒนาการโดยเฉพาะพัฒนาการ ความรู้ ทักษะและสมรรถนะต่าง ๆ และให้เข้าใจต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้พวกเขายืนหยัด ตั้งรับและรับมือกับโลกที่พลิกผันแบบ VUCA World และเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคที่แสนจะเปราะบาง และยากเกินความเข้าใจในยุค BANI World เนื้อหาในบทความนี้จะกล่าวถึงความท้าทายของการจัดการศึกษาปฐมวัยในมิติของผู้บริหารสถานศึกษา ครู ที่จะต้องปรับกระบวนทัศน์ต่าง ๆ ให้การศึกษาปฐมวัย ผลลัพธ์คือการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกปัจจุบันสู่โลกอนาคต ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน รวดเร็ว ซับซ้อน เปราะบาง ไม่แน่นอน ในยุค BANI World อีกด้วย</p> กรรณภรณ์ รุ่งแจ้ง Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271427 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของภาคประชาสังคมกับการพัฒนาทางการเมือง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270143 <p>การเมืองภาคประชาสังคมนับว่ามีพลังและคุณค่าต่อการพัฒนาทางการเมืองที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคล กลุ่มคนเพราะไปเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคน บุคคลได้มีโอกาสในสังคมการเมืองหรือในขณะที่ระบบการเมืองแบบตัวแทนกำลังมีปัญหาของระบบเกิดปัญหาเชิงโครงสร้างและกลไก กระบวนการดำเนินงานของระบบตัวแทนให้ชะงักในการตอบสนองสมาชิกในสังคมการเมืองนั้นคือ ประสิทธิภาพและความชอบธรรมของระบบการเมืองแบบตัวแทนกำลังมีข้อจำกัดทำให้มีการกล่าวขานถึง การเมืองแบบใหม่ที่ต้องการเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศโดยไม่หวังผลตอบแทนแต่ต้องการพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นต่อการกำหนดนโยบาย สร้างความร่วมมือกันระหว่างรัฐกับองค์กรประชาสังคม ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในยุคโลกาภิวัตน์</p> พัชรี กล่อมเมือง, ณัฏฐา เกิดทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270143 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 กลวิธีการแปลชื่อหนังสือเกาหลีเป็นภาษาไทย กรณีศึกษา : หนังสือเกาหลีที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ.2012-2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/272247 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจจำนวนและประเภทของหนังสือเกาหลีฉบับแปลภาษาไทยที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ.2012-2023 และวิเคราะห์กลวิธีการแปลของชื่อหนังสือเกาหลีฉบับแปลภาษาไทยดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-Method Research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณ (Quantitative Content Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis)</p> <p>ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 พบว่า หนังสือเกาหลีที่มีชื่อภาษาเกาหลีปรากฏบนหน้าปกพร้อมทั้งชื่อฉบับแปลภาษาไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 241 เล่ม แบ่งเป็น 3 ประเภท เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง 2) วรรณกรรม และ 3) ประเภทอื่น ๆ โดยผลการศึกษาที่พบว่าหนังสือเกาหลีประเภทจิตวิทยาและการพัฒนาตนเองได้รับการแปลจำนวนมากที่สุด สะท้อนความต้องการของผู้อ่านในปัจจุบันหวังจะได้รับการเยียวยาจิตใจและกำลังใจผ่านการอ่านหนังสือ ผลการศึกษาส่วนที่ 2 พบว่า มีการใช้กลวิธีการแปลชื่อหนังสือเกาหลีทั้งสิ้น 4 กลวิธีหลัก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การตั้งชื่อใหม่ 2) การแปลตรงตัว 3) การแปลบางส่วน และ 4) การแปลทับศัพท์ กลวิธีการแปลชื่อหนังสือเกาหลีสามารถนำไปปรับใช้กับการแปลชื่อหนังสือภาษาเอเชียตะวันออกอื่น ๆ ทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน รวมถึงประยุกต์กับการแปลงานด้านสื่อบันเทิงแขนงอื่น เช่น การแปลชื่อซีรีส์ การแปลชื่อภาพยนตร์เกาหลี ฯลฯ</p> ชุลีวรรณ ไหลเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/272247 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271052 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานรายชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยการจัดการโครงการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ และ 4) นำเสนอแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณโดยการวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 357 ชุด ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 37 คน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ พบว่า (1) ระยะเวลาดำเนินโครงการที่จำกัด (2) มหาวิทยาลัยและชุมชนไม่พร้อมเข้าร่วมโครงการ (3) ปัญหาและความต้องการของชุมชนมีความหลากหลาย (4) งบประมาณสนับสนุนที่จำกัด (5) การติดตามและประเมินผลโครงการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และ (6) ปัญหาข้อมูลพื้นฐานรายชุมชนในปัจจุบันที่ไม่แน่นอน 2) ประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการแตกต่างตามปัจจัยข้อมูลพื้นฐานรายชุมชนได้แก่ งบประมาณที่ชุมชนได้รับ จำนวนผลิตภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศักยภาพการบริหารจัดการที่ดี และศักยภาพของการพัฒนาตำบล ต่างกันให้ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยการจัดการโครงการ ด้านการประสานงาน ด้านการสื่อสาร ด้านการให้คำปรึกษา ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร และด้านรายงานผล ส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้แก่ แนวทางสังคมร่วมมือเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน และแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์สำหรับความร่วมมือในชุมชน</p> นเรศ นิภากรพันธ์, อนันต์ ธรรมชาลัย, ปัญญาวัฒน์ จุฑามาศ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271052 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/272423 <p>ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก ประชากรประกอบด้วยผู้รับผิดชอบด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการจัดการบำรุงรักษา และด้านการจัดการอุตสาหกรรมพลาสติก ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 3 โรงงาน โรงงานละ 2 คน รวม 6 คน 2) สร้างรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประเมินองค์ประกอบแล้วนำผลการประเมินมาออกแบบรูปแบบหลังจากนั้นสร้างเป็นคู่มือรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 3) รับรองรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก เป็นขั้นตอนการนำคู่มือรูปแบบไปทดลองใช้กับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกฝ่ายซ่อมบำรุง จำนวน 20 คน จากนั้นประเมินการใช้รูปแบบ ประเมินค่าพลังงานจากการใช้รูปแบบ และประเมินความสมบูรณ์ของรูปแบบ และสุดท้ายประเมินความสมบูรณ์ของคู่มือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า:</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ด้านการจัดการบำรุงรักษา การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน กระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติก กระบวนการในการจัดการผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมทุกด้าน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความเหมาะสมของประเด็นคำถามว่าทั้งหมดนั้นซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก มีค่ามัธยฐาน (Mdn) ระหว่าง 3.00-5.00 มีความจำเป็นจากระดับความจำเป็นปานกลางจนถึงระดับมากและมากที่สุด และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) ตั้งแต่ 0.00-1.00 แสดงว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงได้คัดแยกองค์ประกอบที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตอบโดยมีความสอดคล้องกันมากที่สุดอย่างมีนัยที่สำคัญ คือมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) ต่ำที่สุดคือ 0.00 ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 17 คน มีความเห็นตรงกันเป็นเอกฉันท์ ในขั้นตอนการออกแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า กำหนดองค์ประกอบไว้ คือ การจัดการบำรุงรักษา การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน กระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติก กระบวนการในการจัดการผลิต ขั้นตอนในการสร้างคู่มือ ประกอบด้วย ด้านการวางแผนการอนุรักษ์พลังงานด้านการปฏิบัติตามแผนการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติ ด้านการทบทวนแผนการอนุรักษ์พลังงาน</span></p> <p>3. ผลการรับรองรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 เมื่อจำแนกรายข้อพบว่า ในด้านการนำไปปฏิบัติเป็นลำดับแรกโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 รองลงมา คือการวางแผน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 และการทวบทวน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ด้านการตรวจสอบและติดตาม เป็นลำดับสุดท้ายโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ผลการประเมินผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกผลการเปรียบเทียบค่าพลังงานไฟฟ้าพบว่า กระบวนการหลอมเม็ดพลาสติก จากเดิม 596.00 kW หลังปรับปรุง 575.00 kW กระบวนการฉาบหน้าฟิล์ม จากเดิม 578.20 kW หลังปรับปรุง 556.25 kW กระบวนการยืดตามแนวฟิล์ม จากเดิม 587.10 kW หลังปรับปรุง 548.15 kW กระบวนการตรวจสอบความหนาบางฟิล์ม จากเดิม 510.23 kW หลังปรับปรุง 497.34 kW และกระบวนการตัดม้วนตามขนาดของฟิล์ม จากเดิม 535.00 kW หลังปรับปรุง 525.60 kW อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ 3.64 (บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ผลการประเมินความสมบูรณ์ของรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน พบว่ารายการประเมินทุกข้อมีความเหมาะสม ร้อยละ 100</p> ส่งสุข ศรีน้อยขาว, ศิริกาญจน์ โพธิ์เขียว, นุกูล สาระวงศ์, ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/272423 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270126 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู และตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 600 คน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของมาร์ชแลช และแจคสัน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ ครอบคลุมพฤติกรรมที่แสดงออก 3 ด้าน คือ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน 2) การตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู ด้านความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก และความเที่ยง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ จำนวน 32 ข้อ 2) ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล จำนวน 46 ข้อ 3) ด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน จำนวน 22 ข้อ 2. มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา ทุกข้อมีค่าเท่ากับ 1.0 และดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .91 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .47 - .78 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .99 ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตนมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 แสดงว่ามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้วัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูได้เป็นอย่างดี</p> สุมนา อภิวัฒน์นวพล, พีร วงศ์อุปราช, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270126 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 สถานภาพการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270877 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (2556-2566) เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี โดยใช้ระเบียบวิจัยในขั้นตอนแรกดังนี้ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยมีขอบข่ายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง 6 ประเด็นคือ 1. ด้านการบริหารจัดการที่สนับสนุนการเรียนการสอน 2. ด้านรูปแบบหลักสูตร 3. ด้านรูปแบบการเรียนการสอน 4. ด้านการวัดและการประเมินผล 5. ด้านการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียน และ 6. ด้านสื่อหรือเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนการสอน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เพื่อเป็นตรวจสอบและยืนยันข้อมูลผ่านผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 ท่าน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และใช้เทคนิค Snowball เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามปลายปิดชนิดประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาในเชิงคุณภาพ และการใช้สถิติวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน และขอบเขตพิสัยระหว่างควอไทล์ ในเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทยมีประเด็นนำมาพิจารณา 6 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการที่สนับสนุนการเรียนการสอน ด้านรูปแบบหลักสูตร ด้านรูปแบบการเรียนการสอน ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียน และด้านสื่อหรือเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนการสอน พบว่าแต่ละด้านมีสิ่งที่ต้องร่วมกันพัฒนาและแก้ไขต่อไป</p> ปาริชาติ ปรีชากร, คณกร สว่างเจริญ, พงศ์ หรดาล, ชไมภัค ไม้กลัด Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270877 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271398 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) ของลูกค้า และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยปัญหาและปัจจัยที่มีอิทธิพต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) ของลูกค้า โดยออกแบบให้เป็นการวิจัยแบบผสม ได้แก่ (1) การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ อาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นวิธีแบบง่าย และ (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t – test, One – way ANOVA และ Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ลูกค้ามีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ด้านอายุของลูกค้าที่แตกต่างกัน ทำให้มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ลูกค้าที่มีพฤติกรรมการซื้อด้านสาเหตุการซื้อแตกต่างกัน ทำให้มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) ของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (5) ปัญหาในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) อยู่ในระดับน้อย จากสาเหตุสินค้าที่ได้รับเกิดความเสียหายจากการขนส่ง ระยะเวลาการขนส่งสินค้ามากกว่า 1 วัน</p> อรุณวรรณ อินต๊ะใจ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271398 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้น และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดสมุนไพรในตำรับยาอำมฤควาที https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271076 <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบกลุ่มสารพฤกษเคมี และเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรเดี่ยวในตำรับยาอำมฤควาทีด้วยวิธี DPPH assay โดยนำสมุนไพรในตำรับทั้ง 6 ชนิดได้แก่ รากชะเอมเทศ โกฐพุงปลา เนื้อลูกมะขามป้อม เทียนขาว ลูกผักชีลา และเนื้อลูกสมอพิเภก มาทำการสกัดด้วยวิธี Maceration โดยใช้ตัวทำละลาย 95%Ethanol ในภาชนะปิดเป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อทำการตรวจสอบสารพฤกษเคมีและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดสมุนไพรเดี่ยวทั้ง 6 ชนิดในตำรับ พบสารกลุ่มอัลคาลอยด์ และสารกลุ่มแทนนิน จำนวน 5 ชนิด พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ จำนวน 1 ชนิด แต่ไม่พบสารกลุ่มแอนทราควิโนนกลัยโคไซด์ และสารกลุ่มสเตียรอยด์ จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดทุกชนิดด้วยวิธี DPPH assay โดยใช้ Ascorbic acid ที่ความเข้มข้น 80 ppm เป็นสารมาตรฐาน พบว่าสารสกัดเนื้อลูกมะขามป้อม (<em>Phyllanthus embica</em> Linn.) และสารสกัดเนื้อลูกสมอพิเภก (<em>Terminalia bellirica</em> (Gaertn.) Roxb.) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด เมื่อใช้ความเข้มข้นเพียงเล็กน้อยหากเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ผลการศึกษาที่ได้ชี้ให้เห็นว่าสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในตำรับยาอำมฤควาทีนั้น อาจมีองค์ประกอบทางเคมีที่มีศักยภาพและส่งเสริมให้ตำรับยาอำมฤควาทีถูกนำไปใช้ในการรักษาโรคมากยิ่งขึ้นในอนาคต</p> กุสุมาศ ตันไชย, ปัฐมาภรณ์ ราชวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271076 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการผลิตนักศึกษาครูสู่ครูมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271629 <p>การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะนักศึกษาครู 2) พัฒนาเครื่องมือประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานักศึกษาครู และ 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาครู มีตัวอย่างวิจัยจำนวน 600 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู ระยะที่ 2 การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางและรูปแบบในการผลิตนักศึกษาครูอิงสมรรถนะ 2) พัฒนารูปแบบการผลิตนักศึกษาครูอิงสมรรถนะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) พัฒนาคู่มือการผลิตนักศึกษาครูสู่ครูมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาครู ผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ</p> <p> ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะนักศึกษาครู และการพัฒนาเครื่องมือประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานักศึกษาครู พบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( c<sup> 2</sup> = 1465.121 df = 612 p= 0.000 GFI = 0.884 AGF = 0.844 RMR = 0.024 RMSEA = 0.048) และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรในโมเดล พบว่า ตัวแปรทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.00 1) แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีโครงสร้างตรงตามที่ทฤษฎีกำหนดไว้ สามารถนำไปใช้วัดสมรรถนะนักศึกษาครูได้อย่างมีความน่าเชื่อถือ 2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของนักศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ ทำวิจัยที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้เรียน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน (PNI เท่ากับ 0.07) 3. ผลการศึกษาแนวทางและพัฒนารูปแบบการผลิตนักศึกษาครูอิงสมรรถนะ ควรมีดังนี้ 1) ส่งเสริมการลงมือปฏิบัติจริง 2) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนบนพื้นฐานที่จำเป็นต่อสมรรถนะที่ต้องการพัฒนา 3) ส่งเสริมการเข้าร่วมอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดเวทีเสวนา หรือการศึกษา ดูงาน 4) ส่งเสริมการวัดและประเมินผล 5) ส่งเสริมการทำวิจัย 6) ส่งเสริมการจัดระบบโค้ช (Coaching) 7) ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 8) ส่งเสริมระบบเครือข่าย และ 4. ผลการพัฒนาคู่มือผลิตนักศึกษาครูสู่ครูมืออาชีพ พบว่า คู่มือ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) จุดมุ่งหมาย 3) แนวคิดพื้นฐาน 4) หลักการ 5) กรอบสมรรถนะ 6) โครงสร้างเนื้อหา 7) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ 8) การวัดและประเมินผลโดยที่กรอบสมรรถนะ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.69, SD=0.67)</p> ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271629 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในกิจกรรม One Class - One Project ของนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271595 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรม (One class - One Project) โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 3, 5 และ 6 และโครงงาน IS (Independent Study )ระดับชั้น ม.2 และ ม.4 ด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยแบบประเมินโครงการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน PBl (Project-based Learning) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวนนักเรียน 832 คน 36 ห้อง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวิเคราะห์ข้อมูลผลการเรียนรู้ก่อนและหลังกิจกรรม แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีการทดสอบต่อความคิดสร้างสรรค์หลังทำกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) นักเรียนสามารถจัดโครงการตามความสนใจเพื่อรับการประเมินทักษะการคิดในการสร้างสรรค์ผลงานตามเกณฑ์ร้อยละ 80 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในระดับมาก ทั้งด้านสิ่งสนับสนุน และด้านความรู้</p> พุฒิพงค์ ปรีเปรม Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271595 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 โดยใช้เปลือกข้าวโพด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271556 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 โดยใช้เปลือกข้าวโพดเป็นตัวดูดซับ ทำการทดลองแบบแบตซ์ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับ ได้แก่ พีเอช เวลาในการดูดซับ และความเข้มข้นเริ่มต้นของสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 ผลการทดลองพบว่า พีเอชที่เหมาะสมในการดูดซับคือ พีเอช 2 เวลาที่ เข้าสู่สมดุลของการดูดซับคือ 120 นาที และการเพิ่มความเข้มข้นเริ่มต้นของสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 มีผลทำให้ความสามารถในการดูดซับเพิ่มสูงขึ้น จลนศาสตร์ของการดูดซับศึกษาจากแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมและแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม พบว่า จลนศาสตร์ของการดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 สอดคล้องกับแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม เมื่อศึกษาไอโซเทอมของการดูดซับ พบว่า ข้อมูลการดูดซับที่สมดุลสอดคล้องกับไอโซเทอมการดูดซับแบบแลงเมียร์มากกว่าไอโซเทอมการดูดซับแบบฟรุนดลิช แสดงให้เห็นว่า การดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 โดยใช้เปลือกข้าวโพดเป็นการดูดซับแบบชั้นเดียว และมีค่าความสามารถในการดูดซับสูงสุดเท่ากับ 43.86 มิลลิกรัมต่อกรัม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า เปลือกข้าวโพดซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาใช้เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพ ราคาถูก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้</p> หทัยรัตน์ สุขเพรียบพร้อม, วาทินี จันมี, อารี แจ้งเรือง, ฐิติมา ละอองฐิติรัตน์, นิศามณี ฉุ้นย่อง Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271556 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้แท่งรสหม้อแกงโดยใช้แป้งข้าวสินเหล็กทดแทนแป้งสาลีบางส่วน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270440 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุกกี้แท่งเสริมรสด้วยหม้อแกงโดยทดแทนแป้งสาลีบางส่วนด้วยแป้งข้าวสินเหล็กที่ปลูกในจังหวัดอุตรดิตถ์ คัดเลือกสูตรที่เหมาะสมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร และตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และการทดสอบทางประสาทสัมผัส ผลการวิจัยพบว่าคุกกี้แท่งปรุงรสด้วยส่วนผสมหม้อแกงร้อยละ 60 (ปริมาณ 120 กรัม) ได้รับคะแนนความชอบมากกว่าการเสริมที่ร้อยละ 30, 40, 50, 70, 80 และ 100 ของส่วนผสมสูตรต้นแบบ และเมื่อนำไปพัฒนาด้วยแป้งสินเหล็กทดแทนแป้งสาลีบางส่วน พบว่า การทดแทนที่ร้อยละ 20 (ปริมาณ 60 กรัม) มีคะแนนความชอบโดยรวม 7.62±1.31 สูงกว่าการทดแทนที่ร้อยละ 35 และ 50 แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลิตภัณฑ์คุกกี้แท่งรสหม้อแกงโดยทดแทนแป้งสาลีร้อยละ 20 ด้วยแป้งสินเหล็กพบว่ามีค่า L* เท่ากับ 30.02 ค่า a* เท่ากับ 32.71 ค่า b* เท่ากับ 31.61 เนื้อสัมผัสมีค่าเท่ากับ 90 (g force) มีคุณค่าทางโภชนาการปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เถ้าเท่ากับ 4.26, 15.89, 28.11, 56.97, 1.77 กรัมตามลำดับมีพลังงาน 516.43 กิโลแคลอรี่ต่อปริมาณ 100 กรัม สามารถเก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์แบบกระปุกฝาปิดสนิทชนิด Polyethylene Terephthalate (PET) ได้เป็นอย่างน้อย 15 วัน และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นตรวจไม่พบเชื้อจุลินทรีย์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคุกกี้ (มผช.118/2546)</p> สุทธิพันธุ์ แดงใจ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270440 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270950 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และ 4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยศึกษาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ในกลุ่มประชากรทั้งหมดที่เรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง จำนวน 109 คน พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบและแผนจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 1- 4 มีระดับคะแนนความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันโดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.50 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดปัญหา/คำถาม ทำความเข้าใจปัญหา ศึกษาค้นคว้าหาทางเลือก ทดสอบและสังเคราะห์ความรู้ สะท้อนคิดและประเมินค่าและนำเสนอและประเมินผลงาน 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนด้านความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นต่อการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิดมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p> สิรภพ เทพพิทักษ์, กนกกาญจน์ กาญจนรัตน์, ณัฐมน พันธุ์ชาตรี Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270950 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์มูลค่าการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการโดยวิธีโฮลท์-วินเทอร์และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271657 <p>ปัจจุบันการใช้งานบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะใช้งานมาก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบจำลองด้วยวิธีโฮลท์-วินเทอร์และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์และเพื่อเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์มูลค่าการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการโดยวิธีโฮลท์-วินเทอร์และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ โดยใช้ข้อมูลการใช้จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566<br />เป็นระยะเวลา 167 เดือน ซึ่งรวบรวมข้อมูลมาจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด<br />คือ ชุดข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จำนวน 133 เดือน และชุดข้อมูลเพื่อการทดสอบตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยใช้ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (Root Mean Square Error: RMSE) และ ร้อยละของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percentage Error: MAPE) ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบการพยากรณ์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองแบบ บ็อกซ์-เจนกินส์เหมาะสมกว่าแบบจำลองโฮลท์-วินเทอร์ ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต สถาบันการเงินสามารถนำผลลัพธ์ของแบบจำลองพยากรณ์ใช้ในงานด้านแผนการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อกระตุ้นลูกค้าของสถาบันการเงินให้มาใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตมากขึ้นในช่วงเวลาที่ปริมาณการใช้ลดลง และวางแผนด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อรองรับลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต</p> พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271657 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271676 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงของนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นกรณีศึกษา คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบางกลาง จังหวัดระนอง จำนวน 3 คน จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ (Critical Case) เนื่องจากนักเรียนมีปัญหาในการอ่านออกเสียง</p> <p>เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย จำนวน 9 แผน 2) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย จำนวน 9 ชุด 3) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านออกเสียงมาตราตัวสะกด 8 มาตรา จำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการบรรยายพัฒนาการของนักเรียนเป็นรายบุคคล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงประกอบด้วย 9 ชุด 2) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมีค่าประสิทธิภาพ 80.00/85.83 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 3) คะแนนการอ่านออกเสียงมาตราตัวสะกดของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยสูงกว่าก่อนเรียน</p> แวอัสรียา แวนะไล, วิชัย ตรีเล็ก, ธัชกร สุวรรณจรัส Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271676 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การใช้ภาษาสื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทยในโรงพยาบาลสำหรับผู้เรียนชาวกัมพูชา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271308 <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาที่สื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทยในโรงพยาบาลสำหรับผู้เรียนชาวกัมพูชา โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโรงพยาบาลในประเทศไทยโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลจักษุรัตนิน ศูนย์แพทย์พัฒนา และ คลินิก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องชาวกัมพูชา 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตในโรงพยาบาลและบัณฑิตเอกภาษาไทยที่ฝึกประสบการณ์ในโรงพยาบาลไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ผลการวิจัยพบว่า วัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทยได้แก่ การใช้คำบุรุษสรรพนาม การใช้คำทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” การใช้ภาษาแสดงความสุภาพ และการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ส่วนอวัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทย ได้แก่ การแต่งกาย การแสดงออกทางใบหน้า และ ท่าทางและการเคลื่อนไหวทางร่างกาย อัตลักษณ์ดังกล่าวหล่อหลอมด้วยวัฒนธรรมไทยและการประพฤติปฏิบัติของคนไทยที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวกัมพูชาและสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนชาวกัมพูชาที่เรียนภาษาไทยได้คุ้นเคยกับสถานที่ฝึกประสบการณ์คือโรงพยาบาล และสร้างความมั่นใจแก่ผู้เรียนชาวกัมพูชาที่จะฝึกประสบการณ์ในโรงพยาบาลไทยได้</p> NARONG SARATH, สุภัค มหาวรากร Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271308 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 Strategic Management Elements for Mining Enterprises Sustainability and Growth in Guangxi, China https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270430 <p>Mining resources are very important to the world, country, and community. Guangxi is one of the most important provinces in China in terms of mining resources. To maintain rapid, orderly, and healthy development, it is vital to implement strategic management for mining enterprises. The objective of this study is to deeply investigate strategic management elements of mining enterprises in Guangxi for their sustainable development through in-depth interviews with 20 industry experts and subsequently evaluations by another 18 experts. The key strategic management elements of mining enterprises in this area were identified. The findings revealed the elements of strategic management of mining enterprises in Guangxi, including a strategic analysis, strategy formulation, strategic implementation, control and evaluation strategies. The strategic analysis can be divided into an environmental analysis and organization direction setting. Strategy formulation needed to be considered at the company level, business level and intelligence level. As for strategic implementation, it was necessary to consider the organization structure, corporate culture, technology leadership, resource planning, people, and systems.</p> Jun Feng, Sirigarn Phokheaw, Sombat Teekasap, Natdanai Singkhleewon, Yu Zhong Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/270430 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 สงครามยาเสพติดในโรงเรียนกับปฏิบัติการน่านน้ำสีคราม : แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิงรุก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271340 <p>งานวิจัยนี้เป็นเชิงผสมผสานแบบแผนแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) มีกระบวน 2 ขั้น ตอนแรก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวังของการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดของนักเรียน โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 214 คน ใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดในการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และลำดับความต้องการจำเป็นด้วยสูตร PNI<sub>Modified</sub> และตอนที่สอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดของนักเรียน โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยกลยุทธ์เชิงรุก “น่านน้ำสีคราม” โดยให้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน จำนวน 9 คน พิจารณาผลการวิจัยเชิงปริมาณก่อน จากนั้น จึงสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ค่าเฉลี่ยของสภาพที่คาดหวังสูงกว่าสภาพที่เป็นอยู่ทุกด้าน แสดงให้เห็นว่าแนวทางที่โรงเรียนใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อป้องกันและแก้ไขการใช้สารเสพติดของนักเรียนยังต้องได้รับการปรับปรุง</span></p> <p>2. โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการควรมีการ “ตัด ลด เพิ่ม สร้าง” การบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดของนักเรียน โดยเฉพาะการ “เพิ่ม” กิจกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงรุก และ “สร้าง” ความเข้มแข็งทางจิตใจแก่นักเรียน เพื่อให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากโรงเรียน</p> จิราวรรณ จันทร์น้อย, มีชัย ออสุวรรณ, สุดารัตน์ สารสว่าง Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271340 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 Development of Live Broadcast Management Model of Fresh Fruit E-commerce for Consumers’ Online Purchase in Guangxi, China. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271182 <p>The objective of this research is to develop a live broadcast management model of fresh fruit e-commerce for consumers' online purchase in Guangxi, China. The first step was to study the elements of live broadcast management of fresh fruit e-commerce for consumers' online purchase in Guangxi by interviewing 12 live broadcast experts. The second step was to evaluate consistency of the elements of live broadcast management of fresh fruit e-commerce for consumers' online purchase in Guangxi by another 17 experts. The third step was to create and evaluate the live broadcast management model by another 6 experts. The data analysis methods included frequency, percentage, median, quartile, mean, and standard deviation.</p> <p> After the above three steps were completed, the following results were obtained: At Step 1, the elements of live broadcast consisted of 8 elements with 46 dimensions; At Step 2, from the appropriate elements, 43 items were retained, 3 items were deleted and 12 texts were revised; and at Step 3, the live broadcast management model was drawn in an appropriate manner, which consisted of 3 contents with 11 classifications, all of which were totally accepted by the experts.</p> Liu Yanbo, Sirigarn Phokheaw, Nukul Sarawong, Natdanai Singkhleewon, Sombat Teekasap Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rdibsru/article/view/271182 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700