@article{นันทบุรมย์_2017, place={Bangkok, Thailand}, title={ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสานวิธี ห้องเรียนกลับด้าน พื้นที่การเรียนรู้ และการเรียนรู้เชิงรุก}, volume={61}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/109383}, abstractNote={<p>การเรียนรู้เชิงรุกเป็นการเรียนที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายดำเนินการลงมือเรียนรู้ด้วยตนเองแทนที่จะเป็นฝ่ายรับความรู้จากผู้สอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่สามารถจัดให้ตอบสนองกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนได้หลากหลาย และส่งผลทางบวกกับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เชิงรุกยังสามารถจัดร่วมกับหลักการเรียนรู้แบบผสานวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกห้องเรียนแบบไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เพียงมีอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และหลักการห้องเรียนกลับด้านที่ให้<br>บทบาทผู้เรียนได้เรียนรู้บทเรียนล่วงหน้าสามารถช่วยให้การจัดการการเรียนรู้ในห้องเรียนเป็นไปอย่างเข้มข้นลุ่มลึก และรอบด้านมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การจัดพื้นที่การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียนยังช่วยส่งเสริมผลการเรียนรู้ได้ และพื้นที่การเรียนรู้ที่เหมาะสมนอกห้องเรียนสามารถช่วยสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้นอกเวลาเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบที่สนับสนุนให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกมีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดข้อจำกัดหากมีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับบริบททางการศึกษา</p>}, number={2}, journal={วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ}, author={นันทบุรมย์ สุรไกร}, year={2017}, month={ธ.ค.}, pages={45–63} }