วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin <p>TLA Bulletin is the journal of the Thai Library Association (TLA)&nbsp;Under the Royal Patronage of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn</p> <p>วารสารห้องสมุด เป็นวารสารวิชาการของ<a title="สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ" href="https://tla.or.th/" target="_blank" rel="noopener">สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ</a> มีวัตถุประสงค์ เพื่อ<br>&nbsp;&nbsp; 1. ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ความคิด ในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง<br>&nbsp;&nbsp; 2. เผยแพร่ผลการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยของสถาบันที่เกี่ยวข้อง<br>&nbsp;&nbsp; 3. เป็นสื่อกลางในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกและผู้สนใจ <br>มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายนและกรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p>&nbsp;</p> Thai Library Association สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ th-TH วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ 0857-0086 Analysis of information literacy skills with data mining techniques https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/264010 <p>The objective of this research was to classify the patterns of information literacy skills of Grade 12 students using data mining techniques. The research sample consisted of 384 Grade 12 students in Thailand in the academic year 2021, who had a confidence level of 95%. The data analysis was divided into two steps: The first step was clustering to group the information literacy skills of the students with similar characteristics using the K-means method, which resulted in three clusters based on three indicators: 1) Information sources and information resources, 2) Information retrieval strategies, and 3) Ethical and legal use of the information. The second step was classification to predict the patterns of the information literacy skills of the Grade 12 students obtained from the clustering, which had a total of 74 conditions.</p> Phanisara Chanyam Praweenya Suwannatthachote Sungworn Ngudgratoke Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 28 46 Needs and necessity assessment on the develop a cloud-based learning by using design thinking process and gamification concepts to promote the ability to create service innovation in libraries of information studies students. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/266180 <p>The purpose of this study was to study the conditions and needs on the develop a cloud-based learning by using design thinking process and gamification concepts to promote the ability to create service innovation in libraries of information studies students. Undergraduate students studying in the fields of Library Science, Information Science and Information Studies in public higher education institutions in the central region were drawn to be the sample of the study. The research instrument, a questionnaire, was used to collect the data. The results showed that the process and concept were applied to most undergraduate students.</p> Thiti Atichartchayakorn Pornsuk Trantrarungroj Praweenya Suwannatchote Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 47 59 คุณลักษณะของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นองค์กรนวัตกรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/261554 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นองค์กรนวัตกรรม ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา และศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารห้องสมุด บรรณารักษ์ ผู้ใช้บริการ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน รวม 20 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดจำนวน 271 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) องค์กรที่มีวิสัยทัศน์และผู้นำเชิงนวัตกรรม 2) ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) องค์กรที่เน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง 4) องค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด 5) องค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนบทบาทและกระบวนการทำงาน 6) องค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบเปิด และ7) องค์กรที่มีเครือข่ายความร่วมมือ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ได้แก่ 1) องค์กร 2) ผู้นำห้องสมุด 3) ทรัพยากรและงบประมาณ 4) เทคโนโลยีสารสนเทศ&nbsp; และ 5) ผู้ใช้บริการ และสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีลักษณะเป็นองค์กรนวัตกรรมมากที่สุด คือ ด้านองค์กรที่เน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง รองลงมาได้แก่ ด้านการปรับเปลี่ยนบทบาทและกระบวนการทำงาน และด้านองค์กรที่มีความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตามสภาพจริง&nbsp; พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผู้ใช้บริการ รองลงมาได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านผู้นำห้องสมุด</p> ศุมรรษตรา แสนวา Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 60 81 รูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาสำหรับห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/263076 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยที่สนับสนุนการจัดบริการ พัฒนารูปแบบการจัดบริการ ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาสำหรับห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือครูบรรณารักษ์ 330 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปและจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็น ระยะที่ 3 การวิจัยอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูบรรณารักษ์ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ของ การจัดบริการเพื่อรวบรวมและจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศสะเต็มไว้ให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่ที่จัดให้บริการ ได้แก่ หนังสือชุดวิทยาศาสตร์ หนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ และหนังสือสารคดีวิทยาศาสตร์ ครูบรรณารักษ์ส่วนใหญ่จัดบริการทรัพยากรสารสนเทศสำหรับสะเต็มศึกษาและบริการสารสนเทศสะเต็มสำหรับสื่อและอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่จัดให้บริการ ได้แก่ อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ครูบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือหรือความช่วยเหลือจากครูผู้สอนสะเต็มศึกษาภายในโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ ครูบรรณารักษ์ประสบปัญหาการจัดบริการโดยรวมในระดับปานกลาง ปัญหาที่ประสบมากที่สุด คือ ด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร ครูบรรณารักษ์ต้องการการจัดบริการโดยรวมในระดับมาก บริการที่ต้องการจัดบริการมากที่สุด คือ บริการทรัพยากรสารสนเทศสำหรับสะเต็มศึกษา (2) ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดบริการมีผลต่อความสำเร็จในการจัดบริการโดยรวมในระดับมาก ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดบริการมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ (3) รูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาสำหรับห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย มี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบายและบริบท นักเรียน ครูผู้สอนสะเต็มศึกษา ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ ครูบรรณารักษ์ บริการ พื้นที่ สิ่งสนับสนุน สื่อ และการเรียนรู้สะเต็ม และ (4) ผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนเห็นว่ารูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาสำหรับห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยโดยรวมมีความเหมาะสม</p> นราธิป ปิติธนบดี Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 82 106 การรับรู้สารสนเทศจากการระบาดของโรคโควิด-19 ของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/263876 <p>บทความนี้นำเสนอการรับรู้สารสนเทศจากการระบาดของโรคโควิด-19 ของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้สารสนเทศโรคโควิด-19 และ 2) เปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศโรคโควิด-19 จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 421 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้สารสนเทศโรคโควิด-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.14) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้สารสนเทศอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเก็บรักษาสารสนเทศ (x̄ = 4.28) รองลงมาคือ การทำความเข้าใจและตีความหมายสารสนเทศ (x̄ = 4.18) และการเปิดรับสารสนเทศ (x̄ = 4.00) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศโรคโควิด-19 พบว่า ระดับการศึกษาแตกต่างกันมีระดับการรับรู้สารสนเทศโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศแตกต่างกัน และกลุ่มอายุแตกต่างกัน มีการรับรู้สารสนเทศโรคโควิด-19 โดยรวมไม่แตกต่างกัน</p> ธนัฏฐา สุวรรณากาศ วิภากร วัฒนสินธุ์ ศศิพิมล ประพินพงศกร Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 107 126 การค้นหากฎความสัมพันธ์ของการใช้หนังสือด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล กรณีศึกษาห้องสมุด ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/264939 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หากฎความสัมพันธ์ของการใช้หนังสือของห้องสมุดศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล และขั้นตอนวิธีเอฟพี-โกรท (FP-Growth algorithm) ดำเนินการวิธีตามมาตรฐานกระบวนการพัฒนาเหมืองข้อมูล คือ คริสป์-ดีเอ็ม (CRISP-DM: Cross-Industry Standard Process for Data Mining) มีจำนวน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทำความเข้าใจธุรกิจ 2) การทำความเข้าใจข้อมูล 3) การเตรียมข้อมูล 4) การสร้างแบบจำลอง 5) การวัดประสิทธิภาพของแบบจำลอง และ 6) การนำแบบจำลองไปใช้งาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า รายการหนังสือที่มีโอกาสยืมพร้อมกัน มีจำนวน 11 รายการ ด้วยค่าความเชื่อมั่นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50</p> พงศกร สุกันยา ปานใจ ธารทัศนวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 127 145 แนวทางการพัฒนาบริการห้องสมุดประชาชนเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในวิถีใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/265234 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบริการห้องสมุดประชาชนเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชน สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้ใช้บริการ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ห้องสมุดประชาชนได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ คือ การดูแลสุขภาพในยุคโควิด-19 ร้อยละ 74.00 รองลงมาคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ร้อยละ 66.25 การดำเนินชีวิตในยุคโควิด-19 ร้อยละ 59.75 และการป้องกันตนเองในบ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา ร้อยละ 53.25 ตามลำดับ โดยผู้ใช้บริการมีความต้องการให้พัฒนางานห้องสมุดประชาชนเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในวิถีใหม่ โดยรวม (=4.04) และทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ (=4.10) &nbsp;ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ &nbsp;(=4.09)&nbsp; ด้านทรัพยากรสารสนเทศ (=4.00) และด้านการให้บริการสารสนเทศของ (=3.98) &nbsp;&nbsp;ตามลำดับ&nbsp;โดยผู้ใช้ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และการเป็นสมาชิกห้องสมุดต่างกันมีความต้องการให้พัฒนางานห้องสมุดประชาชนเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในวิถีใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ใช้บริการเพศชายและเพศหญิงมีความต้องการไม่แตกต่างกัน</p> ประภาส พาวินันท์ Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 146 166 การพัฒนาและออกแบบคลังหนังสือหายากด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ: กรณีศึกษาหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/265257 <p>การพัฒนาระบบจัดเก็บและสืบค้นหนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงได้สะดวก และนำไปใช้วิจัยขั้นสูง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบและพัฒนาคลังสารสนเทศหนังสือหายากด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และเพื่อประเมินการใช้งานคลังหนังสือหายาก หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานี้นำกระบวนการคิดเชิงออกแบบของ Standford d.school มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคลังหนังสือหายาก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน ผลประเมินความพึงพอใจการใช้คลังหนังสือหายากโดยรวมพบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก และด้านระบบอยู่ในระดับมากที่สุด คือ เมนูต่าง ๆ ใช้งานอย่างเหมาะสม ใช้ง่าย มีความสะดวกและมองเห็นได้ชัดเจน การค้นหาข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางในการออกแบบช่วยให้การสร้างต้นแบบสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ที่ช่วยสร้างแนวคิดและมุมมองใหม่ แนวคิดเชิงออกแบบยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับวงจรการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสารสนเทศ และเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้</p> <p> </p> ปิยาภัสร์ จารุสวัสดิ์ พิเชษฎ์ จุลรอด Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 167 185 การออกแบบเกมแอปพลิเคชันสำหรับเด็กออทิสติก: การบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ Gagne https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/268204 <p>การวิจัยนี้เป็นการนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ช่วยในการออกแบบเกมแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างแรงจูงใจ สร้างแรงกระตุ้น ก่อให้เกิดการเรียนรู้บนสื่อ โดยเกมแอปพลิเคชันสามารถมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะและรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กออทิสติก การวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ผู้ใช้ นักเทคโนโลยีการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กออทิสติก นักออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ผลลัพธ์งานวิจัยนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบเกม ตัวละคร ฉาก และคุณลักษณะที่เพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้สำหรับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก อีกทั้งการออกแบบและพัฒนาเกมนี้ยังมอบประสบการณ์การเรียนรู้แบบโต้ตอบและมีส่วนร่วมที่ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ สังคม และอารมณ์ ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงความต้องการเฉพาะของผู้เรียน จึงสามารถส่งเสริมเด็กออทิสติกให้เกิดการเรียนรู้และเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่สนุกสนานได้</p> สุธิวัชร ศุภลักษณ์ บุญเสริม แก้วกำเหนิดพงษ์ ฉัตรชัย แพงคําฮัก วริศรา ลิ้มพรจิตรวิไล ณัฐธชา บุญศรี Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 186 207 บทบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/269846 ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ สุทธินันท์ ชื่นชม พงศกร สุกันยา ธณิศา สุขขารมย์ Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 i i บทวิจารณ์หนังสือ : Digital preservation metadata for practitioners: Implementing PREMIS https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/259680 นราธิป ปิติธนบดี Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 208 210 ความท้าทายในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 16 เรื่องเว็บเมตริก อินฟอร์เมทริก และไซเอนโทเมตริก (WIS) และการประชุมคอลเน็ตครั้งที่ 21 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/263809 <p>แนะนำการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 16 เรื่อง เว็บเมตริก อินฟอร์เมทริก และไซเอนโทเมตริก (WIS) &amp; การประชุมคอลเน็ตครั้งที่ 21 ในด้านประวัติความเป็นมาของ COLLNET หน่วยงานเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพร่วมที่รับผิดชอบในการจัดประชุม COLLNET 2022 บทบาทของหน่วยงานเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ คณะกรรมการบริหารการประชุม กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการประชุม โปรแกรมและธีมของการจัดประชุม การศึกษาดูงานห้องสมุดและการทัวร์ทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดประชุม ตลอดจนโอกาส ความท้าทาย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดประชุมวิชาการ COLLNET 2022 ในฐานะเจ้าภาพร่วม</p> ระเบียบ แสงจันทร์ Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 1 17 บรรณารักษ์ในยุคปัญญาประดิษฐ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/266335 <p class="05-"><span lang="TH">บทความนี้ต้องการนำเสนอมุมมองการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์<br />เข้ามาเกี่ยวข้องกับห้องสมุด ด้วยความสามารถที่หลากหลายของปัญญาประดิษฐ์ทำให้การทำงานต่าง ๆ รวมถึงการให้บริการของห้องสมุด อาทิ การบริหาร การจัดหาสารสนเทศ การทำดัชนีเนื้อหา การทำรายการ และการค้นหาข้อมูลด้วยเสียง โดยประสิทธิภาพของบริการเหล่านี้จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์เป็นเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงห้องสมุด ดังนั้นบรรณารักษ์จำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาศักยภาพตนเองให้พร้อมที่จะงานในยุคปัญญาประดิษฐ์</span></p> บรรพต พิจิตรกำเนิด Copyright (c) 2023 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 67 2 18 27