วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin <p>TLA Bulletin is the journal of the Thai Library Association (TLA)&nbsp;Under the Royal Patronage of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn</p> <p>วารสารห้องสมุด เป็นวารสารวิชาการของ<a title="สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ" href="https://tla.or.th/" target="_blank" rel="noopener">สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ</a> มีวัตถุประสงค์ เพื่อ<br>&nbsp;&nbsp; 1. ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ความคิด ในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง<br>&nbsp;&nbsp; 2. เผยแพร่ผลการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยของสถาบันที่เกี่ยวข้อง<br>&nbsp;&nbsp; 3. เป็นสื่อกลางในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกและผู้สนใจ <br>มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายนและกรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p>&nbsp;</p> th-TH tla.bulletin@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน) suvaphab.suchit@gmail.com (สุจิตร สุวภาพ) Tue, 24 Dec 2024 18:04:55 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพัฒนาห้องสมุดที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ : สาระจากการประชุมทางวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/280274 <p>บทความนี้นำเสนอสาระสำคัญจากการประชุมวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง แนวทางการพัฒนาห้องสมุดที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จัดโดยชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา ชมรมห้องสมุดเฉพาะ ชมรมผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566&nbsp; ประกอบด้วย &nbsp;1) การบรรยายเรื่อง การสร้างนวัตกรรมและกลยุทธ์การตลาดสำหรับงานห้องสมุด 2) แนวโน้มการวิจัยสู่ความยั่งยืนของห้องสมุดในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง และ 3) การเสวนาเรื่อง เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ส่งทอดมายังห้องสมุด เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดี สำหรับบรรณารักษ์ นักวิชาชีพ บุคลากรห้องสมุดและผู้บริหารในการวางบทบาทของห้องสมุดในการแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญต่อไป</p> ปริญญ์ ขวัญเรียง, สุภาณี เลิศจิระประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/280274 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/272840 <p>ความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมเป็นสมรรถนะที่จำเป็นประการหนึ่งของการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการพัฒนาบุคคลให้มีความคิดเชิงนวัตกรรมนับเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญและปรากฏในแผนการลงทุนขององค์กร เนื่องจากนวัตกรรมเป็นผลที่เกิดจากความคิดของบุคลากรที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรและประเทศ ดังนั้น การพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถทางนวัตกรรมขั้นสูงจึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคคลให้มีความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมซึ่งทุกองค์กรและทุกประเทศจะต้องให้ความสำคัญ <br />บทความนี้ผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสืบค้นข้อมูลที่ตีพิมพ์ในปี 2000 เป็นต้นไปจากฐานข้อมูล Academic Search Ultimate, Emerald Management, ERIC, ScienceDirect, SpringerLink, Thai Journals Online ตลอดจนโปรแกรมค้นหา Google Web Search และ Google Scholar โดยนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมในประเด็นเกี่ยวกับความหมาย คุณลักษณะ ตัวแบบ เกณฑ์การวัด และปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่ต้องการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติให้มีคุณลักษณะของผู้ที่มีความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรม นับเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมขององค์กรและประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน</p> นราธิป ปิติธนบดี Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/272840 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแหล่งสารสนเทศในท้องถิ่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/273148 <p>บทความเรื่องการพัฒนาแหล่งสารสนเทศในท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาแหล่งสารสนเทศในท้องถิ่น และประโยชน์ของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น การพัฒนาแหล่งสารสนเทศในท้องถิ่นมีกระบวนการสำคัญ ได้แก่ 1) การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ 2) การจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ 3) การจัดระบบสารสนเทศ 4) การจัดภูมิทัศน์ และ 5) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การพัฒนาแหล่งสารสนเทศในท้องถิ่นจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นตามตัวแบบรหัสอักษร L-O-C-A-L-I-T-Y ซึ่งหมายถึงการพัฒนาไปตามลักษณะ “เฉพาะที่เฉพาะถิ่น” ประกอบด้วย L-Lifelong Learning Support Resource ด้านการเป็นแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต O-Opportunities and Equality Society ด้านการสร้างสังคมแห่งโอกาสและความเท่าเทียมทางสังคม C-Creative Economy ด้านการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ A-Aging Gracefully ด้านการสร้างสังคมผู้สูงวัยให้สง่างาม L-Local Wisdom Preservation ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น I-Ideal Society ด้านการสร้างสังคมอุดมคติ T-Transitioning towards Sustainability ด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน และ Y-Yield Positive Results ด้านการให้ผลลัพธ์เชิงบวก การพัฒนาแหล่งสารสนเทศในท้องถิ่นเป็นหนึ่งในกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป</p> ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/273148 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทวิจารณ์หนังสือ : Practical Data Science for Information Professionals https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/279633 <p>หนังสือเรื่อง Practical Data Science for Information Professionals (วิทยาศาสตร์ข้อมูลเชิงปฏิบัติสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ) เขียนโดย David Stuart มีเนื้อหาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลและสารสนเทศสามารถเข้าใจและใช้เทคนิคของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ผ่านการอธิบายที่ชัดเจนและตัวอย่างที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้จัดเป็นคู่มือสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ โดยเนื้อหาถูกแบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ และภาคผนวกที่ช่วยเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคนิคและเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) อย่างเป็นระบบ</p> พงศกร สุกันยา Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/279633 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อออกแบบบริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/273046 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อออกแบบบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการออกแบบดับเบิลไดอะมอน (The Double diamond design process) ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 51 คน ได้แก่ <br />1) กลุ่มผู้ใช้/ไม่ใช้บริการ จำนวน 40 คน ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญจากนั้นสุ่มแบบอ้างอิงปากต่อปาก <br />2) ผู้ให้บริการ จำนวน 11 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบการสังเกตการณ์การลงพื้นที่ แนวคำถามสัมภาษณ์ เทมเพลตแผนผังประสบการณ์ผู้ใช้ เทมเพลตแบบจำลองผู้ใช้ แนวคำถามระดมสมอง และ แผนผังการคัดเลือกความคิด ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการห้องสมุดส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะนิติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการใช้ห้องสมุดเพื่อศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้แบบออนไลน์ เช่น รับชมวิดีโอคำบรรยายย้อนหลัง การบรรยายสดผ่านห้องเรียน ปัญหาหลักที่ผู้ใช้ต้องการให้ห้องสมุดออกแบบและปรับปรุงเป็นบริการใหม่เกี่ยวกับการที่ผู้ใช้บริการไม่ทราบหนังสือที่ถูกแนะนำโดยอาจารย์และรุ่นพี่ ไม่ทราบว่าต้องอ่านหนังสือหรือตำราเรียนเพื่อใช้สำหรับการอ่านสอบ รวมถึงผู้ใช้ไม่ทราบวิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและบริการของห้องสมุด</p> นิรชา อินทร์ศรี, ศศิพิมล ประพินพงศกร, กันยารัตน์ เควียเซ่น Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/273046 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัลเพื่อการสงวนรักษาและเผยแพร่สารสนเทศ: กรณีศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/273836 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่สารสนเทศ: กรณีศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัล และนักวิชาการด้านงานศิลปวัฒนธรรมไทย จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มบุคคลทั่วไปที่เข้าใช้งานคลังภูมิปัญญาดิจิทัลจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 416 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) คลังภูมิปัญญาดิจิทัลจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี ที่จัดทำขึ้นด้วยกระบวนการสงวนรักษาในรูปแบบดิจิทัล 2) แบบประเมินคลังภูมิปัญญาดิจิทัล 3) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานคลังภูมิปัญญาดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินคุณภาพคลังภูมิปัญญาดิจิทัล ด้านเนื้อหามีคุณภาพในด้านความถูกต้อง ความสมบูรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา ปริมาณของเนื้อหา การใช้ภาษา และภาพประกอบ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานในด้านการออบแบบและการจัดรูปแบบคลังภูมิปัญญาดิจิทัลภาพรวม และด้านประโยชน์และการนำไปใช้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> บรรพต พิจิตรกำเนิด, เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว, ฐิติยา เนตรวงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/273836 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์แหล่งสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคในเขตอีสานใต้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/274163 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์แหล่งสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคในเขตอีสานใต้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บริการเว็บไซต์แหล่งสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคในเขตอีสานใต้ จำนวน 400 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่มีอิสระต่อกัน (<em>t</em>-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA- - <em>F</em>-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าถึงสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคไม่แน่นอนมากที่สุด ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ไปเที่ยวแหล่งสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคในเขตอีสานใต้ 1-5 ครั้ง ร้อยละ 41.75 โดยส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตในการรับสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาค ร้อยละ 100.00 รองลงมาคือ โทรทัศน์ ร้อยละ 81.75 และหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 77.75 แหล่งสารสนเทศส่วนใหญ่ที่ผู้ใช้เว็บไซต์ได้รับสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาค คือ วัด ร้อยละ 100.00 รองลงมาคือ โบราณสถาน ร้อยละ 96.50 สำหรับเว็บไซต์ที่ผู้ใช้เว็บไซต์ได้รับสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาค คือ เว็บไซต์ของวัด ร้อยละ 98.75 รองลงมาคือ เว็บไซต์ของโบราณสถาน ร้อยละ 90.00 ส่วนบุคคลที่ให้สารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคมากที่สุดคือพระสงฆ์ ร้อยละ 98.75 รองลงมาคือผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ ร้อยละ 79.00 และ (2) ผู้ใช้เว็บไซต์มีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์แหล่งสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคในเขตอีสานใต้โดยรวม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" />=3.88) และรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการออกแบบเว็บไซต์ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" />=3.88) และด้านเนื้อหาของเว็บไซต์ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" />=3.87) โดยผู้ใช้ที่มีเพศและภูมิลำเนาต่างกันมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ใช้ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพการทำงานต่างกันมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์แหล่งสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมพญานาคในเขตอีสานใต้ไม่แตกต่างกัน</p> ประภาส พาวินันท์ Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/274163 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเขตภาคเหนือ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/274590 <p>งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรมของนักศึกษา และ 2) พัฒนาแนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรมของนักศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคเหนือ จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรมสำหรับนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือวิจัยคือ ประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของแนวทางการป้องกันโจรกรรมทางวรรณกรรมของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และสถิติแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการโจรกรรมทางวรรณกรรมโดยภาพรวมในระดับมาก นักศึกษามีพฤติกรรมการโจรกรรมทางวรรณกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สาเหตุการโจรกรรมทางวรรณกรรมของนักศึกษาเกิดจากปัจจัยภายในตัวบุคคลในระดับมาก ได้แก่ ขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ต้องการได้เกรด/คะแนนที่ดี และชอบความสะดวกสบาย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรมของนักศึกษามี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การป้องกัน องค์ประกอบที่ 2 การตระหนักรู้ และองค์ประกอบที่ 3 การสนับสนุน ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายตัวแปรปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรมได้ร้อยละ 70.139 และ 2) แนวทางการป้องกันการโจรกรรมทางวรรณกรรมของนักศึกษามี 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การป้องกัน แนวทางที่ 2 การให้ความตระหนักรู้ และแนวทางที่ 3 การสนับสนุน</p> น้อย คันชั่งทอง, สุขแก้ว คำสอน, บุญส่ง กวยเงิน, สวนีย์ เสริมสุข Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/274590 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงปี ค.ศ. 2014-2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/276168 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์จำนวนผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรากฏในฐานข้อมูล MUSC E-Publication ของคณะฯ ในช่วงปี ค.ศ. 2014-2023 รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพวารสาร และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพวารสารกับจำนวนการถูกอ้างอิง (Citations)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในช่วง 10 ปี ค.ศ. 2014-2023 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,119 รายการ จำแนกเป็นประเภทของสิ่งพิมพ์ (Source type) ได้แก่ วารสาร (Journal) จำนวน 3,872 รายการ คิดเป็นร้อยละ 94.00 ประกอบด้วย ประเภทของเอกสารหรือบทความ (Document type) ได้แก่ บทความวิจัย (Article) จำนวน 3,691 รายการ คิดเป็นร้อยละ 89.61 บทความปริทัศน์ (Review) จำนวน 140 รายการ คิดเป็นร้อยละ 3.40 จดหมาย (Letter) จำนวน 23 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.56 บทบรรณาธิการ (Editorial) จำนวน 13 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.32 และ หมายเหตุ (Note) จำนวน 5 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.12 และ ประเภทของสิ่งพิมพ์ (Source type) ประเภทการประชุมวิชาการ (Conference proceeding) จำนวน 185 รายการ คิดเป็นร้อยละ 4.49 และ หนังสือชุด (Book Series) จำนวน 62 รายการ คิดเป็นร้อยละ 1.51 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (Journal Quartile) และ Top 10% กำหนดผลงานเฉพาะ ประเภทของสิ่งพิมพ์ (Source type) ประเภทวารสาร (Journal) และประเภทของเอกสารหรือบทความ (Document type) เป็นบทความวิจัย (Article) และ บทความปริทัศน์ (Review) มีจำนวนทั้งสิ้น 3,831 รายการ โดยจำแนกผลงานตามวารสารกลุ่ม Q1 จำนวนทั้งหมด 2,146 รายการ (ร้อยละ 56.02) และมีกลุ่ม Top 10% จำนวน 725 รายการ (ร้อยละ 33.78 คำนวณจากจำนวนวารสารกลุ่ม Q1) รวมถึงวารสารกลุ่ม Q2 จำนวน 1,004 รายการ (ร้อยละ 26.21) วารสารกลุ่ม Q3 จำนวน 381 รายการ (ร้อยละ 9.95) วารสารกลุ่ม Q4 จำนวน 152 (ร้อยละ 3.97) และวารสารกลุ่มที่ไม่ปรากฏค่า Q (No Q) จำนวน 148 รายการ (ร้อยละ 3.86) ตามลำดับ</p> ครรชิต บุญเรือง, เฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ, กนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/276168 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/280262 พงศกร สุกันยา, สุทธินันท์ ชื่นชม, ธณิศา สุขขารมย์, ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/280262 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700