วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">และเทคโนโลยีอีสเทิร์น </span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ตามหนังสือสำคัญแสดงการเขียนแจ้งการพิมพ์ตามประกาศการพิมพ์ 2550 เลขที่สศก. </span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ที่ 9 อบ / 07/2562 ขอยกเลิก ISSN ต้นฉบับคือ 1686-7440 (เดิมชื่อ วารสารโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และขอแจ้งหมายเลข ISSN ใหม่คือ 2673-0618 (ชื่อใหม่วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น) โดยวารสารฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ของนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ หลากหลายสาขาวิชา และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรและนักวิชาการได้มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้</span></span></span></span><br /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">กองบรรณาธิการ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">มหาวิทยาลัยการจั</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์นพิจารณาบทความตามหลัก</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">วิชาการ มีระเบียบบริหารคุณ</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ภาพวิชาการเป็นไปตามมาตรฐาน</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">การเผยแพร่ผลงานวิชาการ</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">วารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Center) โดยผ่านการขั้นตอนการพิจารณาบทความจากคุณ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและมีความหลากหลาย ซึ่งได้การรับรองคุ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ณภาพของวารสารจาก TCI (กลุ่มที่ 2) ตั้งแต่ปี 2563-2567 โดยมีค่า Thai Journal Impact Factors ปีตั้งแต่ปี 2559 - 2561 มีค่าระดับ 0.028 เพื่อสนับสนุนให้นักวิชาการได้มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการและเรียนรู้และการเผยแพร่งานตีพิมพ์บทความด้านวิชาการในด้านการศึกษา การบริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences) เรื่องที่จะเสนอเพื่อตีพิมพ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความและบทวิจารณ์ ที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน ผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน (double blinded) ผู้เขียนต้องอนุญาตให้มีการปรับปรุงความสมบูรณ์และปฏิบัติตามข้อกำหนดของวารสารฯ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับคือ ฉบับที่ 1 (มกราคมถึงมิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคมถึงธันวาคม) และหากมีฉบับเสริม(supplementary) ปีละ 1 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามมาตฐาน TCI</span></span></span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความต่าง</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ๆ ในวารสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">นักวิชาการและผู้ที่สนใจ กองบรรณาธิการมีความมุ่งหวัง</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">เพื่อสร้างสังคมไปสู่</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ปัญญา </span></span></span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">"Imagine Beyond Knowledge" จินตนาการนำความรู้ </span></span></span></span></p> <p> </p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์</span></span></span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">บรรณาธิการ</span></span></span></span></p> มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น th-TH วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2673-0618 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/266136 <div> <p class="Default" align="center"><strong><span lang="TH">บทคัดย่อ</span></strong></p> </div> <div> <p><span lang="TH"> การวิจัยครั้งนี้</span><span lang="TH">เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ </span><span lang="TH">มีวัตถุประสงค์ </span><span lang="EN-US">1</span><span lang="TH">) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (</span><span lang="EN-US">Open Approach) </span><span lang="TH">เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ </span><span lang="EN-US">2</span><span lang="TH">) เพื่อศึกษา</span><span lang="TH">ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู กลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ </span><span lang="EN-US">5 </span><span lang="TH">โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต </span><span lang="EN-US">1 </span><span lang="TH">ปีการศึกษา </span><span lang="EN-US">2565</span><span lang="TH"> จำนวน </span><span lang="EN-US">7</span><span lang="TH"> คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำแนกเป็น </span><span lang="EN-US">3 </span><span lang="TH">ประเภท คือ</span> <span lang="EN-US">1</span><span lang="TH">) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก จำนวน</span><span lang="EN-US">9 </span><span lang="TH">แผน</span> <span lang="EN-US">2</span><span lang="TH">) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่</span> <span lang="TH">แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้</span> <span lang="TH">แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ </span><span lang="EN-US">3</span><span lang="TH">) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 การวิจัยในครั้งนี้ แบ่งเป็น </span><span lang="EN-US">3 </span><span lang="TH">วงจรปฏิบัติการ </span><span lang="TH">นำข้อมูลที่ได้มาสะท้อนผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ </span><span lang="TH">สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ<br /></span></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยามี 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นที่ 1 การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ขั้นที่ 3 การนำเสนอ อภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดของนักเรียนในชั้นเรียน และขั้นที่ 4 การร่วมกันสรุปด้วยการเชื่อมโยงแนวคิด<br />การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และพบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 79.14 คิดเป็นร้อยละ 87.94 และส่วนเบี่ยงมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 6.31 ซึ่งนักเรียนทุกคนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มากกว่าร้อยละ 75</p> </div> อมเรศ จิตะรักษ์ และพงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 1 18 การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร” สำหรับเด็กและยุวเกษตรกร โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดสุพรรณบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/265692 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร” เพื่อพัฒนาทักษะอนาคต สำหรับเด็กและยุวเกษตรกรในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่น “เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร” เพื่อพัฒนาทักษะอนาคตสำหรับเด็กและยุวเกษตรกรในโรงเรียน สาธิตละอออุทิศ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยหน่วยการสุ่มระดับห้องเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า เด็กและยุวเกษตรกรที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร มีทักษะอนาคตและเกิดประสิทธิผลของหลักสูตรหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> </p> นนทพร ชอบตะคุ นวลศรี สงสม และบุญญาพร เชื่อมสมพงษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 19 30 ศึกษาความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงิน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/264664 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><br />การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงินพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร” โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้รายงานทางการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงิน และเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินกับปัจจัยส่วนบุคคล ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 74 ชุด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA) และหาผลแตกต่างเมื่อพบจึงทดสอบค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณ (Multiple Comparison) โดย Post Hoc Tests <br />ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้รายงานทางการเงินส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41 - 50 ปี มากที่สุด ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 15 ปี ประเภทธุรกิจของผู้ใช้รายงานทางการเงินส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงิน รูปแบบธุรกิจเป็นแบบบริษัทจำกัด และเป็นผู้บริหารขององค์กร โดยพบว่า 1) ระดับความคาดหวังของผู้ใช้รายงานทางการเงินต่อคุณภาพของข้อมูลทางการเงินเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านความทันเวลามาเป็นอันดับ 1 ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.30 ซึ่งเป็นข้อมูลทางการเงินมีการบันทึกได้ทันตามรอบระยะเวลาบัญชีต่างๆ ที่กำหนดไว้ และนำข้อมูลไปในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเวลา 2) การวิเคราะห์การเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ใช้รายงานการเงินต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงิน พบว่า ผู้ใช้รายการทางการเงินที่มีประสบการณ์แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุภาพ อัครปทุมวงศ์ , กฤษฎา สังขมณี, ปราณี ตรีทศกุล, อโนชา โรจนพานิช, หุดา วงษ์ยิ้ม, รุ่งลักษมี รอดขำ, วรางคณา จิตราภัณฑ์, อภิญญา วิเศษสิงห์ และขวัญฉัตร วงศ์จันทร์ทิพย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 31 43 ความต้องการงานชุมชนสัมพันธ์ของประชาชนรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/268485 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการงานด้านชุมชนสัมพันธ์ของประชาชนรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในระยะรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร จำนวน 400 ราย โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br />ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความต้องการด้านชุมชนสัมพันธ์<br />ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการสร้างความร่วมมือและการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48) โดยต้องการการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากที่สุด 2) ด้านสิ่งแวดล้อม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43) โดยต้องการการมุ่งเน้นการลดผลกระทบ ลดมลภาวะ และลดของเสียที่ปล่อยจากท่าอากาศยานมากที่สุด 3) ด้านเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) โดยต้องการการส่งเสริมการจ้างงานคนในชุมชนโดยรอบมากที่สุด 4) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95) โดยต้องการการรณรงค์หรือส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบ<br />มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมากที่สุด</p> เปรมินทร์ ทับแก้ว อภิรดา นามแสง และ วราภรณ์ เต็มแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 44 55 การบริหารต้นทุนและผลตอบแทนสมัยใหม่ของเกษตรกรผู้ปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งในเชิงเศษฐกิจและสังคม จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/267931 <p> พุทรานมบ้านโพนแบบกางมุ้งเป็นพืชเศษฐกิจสำคัญที่ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ การบริหารต้นทุนที่ดีจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประโยชน์เชิงเศษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 177 คน สำหรับรอบการปลูกปีการผลิต 2564 ระยะเวลาการศึกษา 6 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ประโยชน์เชิงเศษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการปลูกพุทราพันธ์นมสดแบบกางมุ้งของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ในระดับมากที่สุด สภาพเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของชุมชนดีขึ้น ( = 4.84) รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ร่วมกันทางด้านตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80) 2) รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรจากการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งในหนึ่งฤดูการผลิต ระยะเวลา 4 เดือน ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ (ปีที่ 3) จำนวน 187,000 บาทต่อไร่ ต้นทุนรวมในการผลิตเฉลี่ยจากการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว (ปีที่ 3) จำนวนทั้งสิ้น 124,611.78 บาทต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยในการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งในฤดูการผลิต (ปีที่ 3) จำนวนทั้งสิ้น 62,888.22 บาทต่อไร่ และหน่วยงานภาครัฐควรเร่งส่งเสริมเพื่อเพิ่มมูลค่าของการปลูกพุทราพันธุ์นมสดแบบกางมุ้งเพื่อมุ่งไปสู่พืชเศรษฐกิจระดับประเทศ</p> มารุต พลรักษา และจุฑามาศ สุนทร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 56 68 ศักยภาพชุมชนในการจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/268755 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพชุมชนในการจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านเรื่องเล่า และตำนานของอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และคณะนักวิจัย จำนวน 9 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักจากภาคชุมชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน จำนวน 22 คน โดยใช้วิธีการเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินศักยภาพชุมชน และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีศักยภาพในการจัดประสบการณ์การท่องเที่ยวบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายภาคี และศักยภาพด้านองค์กรชุมชนและการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ศักยภาพด้านกิจกรรรมและการเรียนรู้ และศักยภาพด้านพื้นที่และทรัพยากรการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การท่องเที่ยวของชุมชน คือ เชื่อมโยงเรื่องเล่า ตำนาน กับประวัติศาสตร์ชุมชนและพัฒนาเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว จัดทำเรื่องเล่า ตำนาน พัฒนาทักษะการถ่ายทอดแก่คนในชุมชน และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนให้มากขึ้น</p> ภฤศสร ฤทธิมนตรี ซีมิค ปุณยวีร์ ศรีรัตน์, ประนอม การชะนันท์ และศราวัสดี นวกัณห์วรกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 92 100 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งจากมะเดื่อฝรั่ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/269346 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งเสริมมะเดื่อฝรั่ง และเพื่อศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคของผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งเสริมมะเดื่อฝรั่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคทั่วไปที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 50 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) <br /> โดยการพัฒนามี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสูตรพื้นฐาน พบว่า สูตรพื้นฐานที่ 1 ได้รับคะแนนความชอบสูงสุดในทุกด้าน และมีคะแนนความชอบรวมอยู่ในระดับชอบมาก (7.70) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งเสริมมะเดื่อฝรั่งที่ผู้บริโภคยอมรับ โดยการเติมเนื้อมะเดื่อฝรั่งที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 12.5, 25, 37.5 และ 50 ต่อน้ำหนักทั้งหมด จากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า สูตรที่มีการเติมเนื้อมะเดื่อฝรั่ง ร้อยละ 37.5 (สูตรที่ 3) ได้รับคะแนนความชอบสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยด้านปัจจัยคุณภาพ ดังนี้ ลักษณะที่ปรากฏ (7.30) สี (7.77) รสชาติ (7.82) ลักษณะเนื้อสัมผัส (7.75) และ ความชอบโดยรวม (7.72) เมื่อนำไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ค่าสี L* เท่ากับ 51.08 ค่า a* เท่ากับ 32.02 ค่า b* เท่ากับ 28.82 คุณภาพทางเคมี พบว่า ค่าความชื้น ร้อยละ 5.32 ค่าความเป็นกรด (pH) เท่ากับ 6.97 และมีค่าความหวาน เท่ากับ 2.17 ºBrix และคุณภาพด้านจุลินทรีย์ พบว่า ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด เท่ากับ 2.4 x 102 CFU/g</p> ศิริฉาย เปี้ยตั๋น , ชนัญพัทธ์ โปธามูล, และวรวลัญช์ วงค์ชมภู Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 92 100 การกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลประกอบการธุรกิจ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/269547 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลประกอบการธุรกิจ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง จำนวน 105 บริษัท กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 44 บริษัท เพื่อใช้เป็นจำนวนตัวอย่างในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติวิเคราะห์ถดถอยทั้งแบบ Stepwise และแบบ Enter</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 องค์ประกอบของการกำกับดูแลกิจการในประเด็นของความรับผิดชอบ r = .42, ความซื่อสัตย์ r = .31 และความรับผิดชอบต่อสังคม r = .15 ตามลำดับ นอกจากนี้ องค์ประกอบทั้งหมดของการกำกับดูแลกิจการ ได้แก่ ความเป็นธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และความซื่อสัตย์ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อผลการประกอบธุรกิจทางการเงิน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามค่า R2 ที่ .03 ความคลาดเคลื่อนสะสม 12.60 และมีความสามารถในการอธิบายความแปรปรวนร่วมกันของตัวแปรที่ค่า F = 1.08 (Sig. 369)</p> เข็มทอง แก้วประทุม ดวงตา อ่อนเวียง และเชิดชัย ขันธ์นภา Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 101 121 ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อสมรรถนะผู้ประกอบการ และผลการประกอบการของธุรกิจ SMEs https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/269607 <p>&nbsp;</p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรและสมรรถนะผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการองค์กร โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมความเห็นของกลุ่มผู้บริหารและเจ้าของกิจการโรงเรียนเอกชนจำนวน 321 คน และนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า องค์ประกอบวัฒนธรรมองค์กรมีอิทธิพลพยากรณ์ต่อสมรรถนะผู้ประกอบการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลร่วมกันที่ R <sup>2</sup> .66 กับมีความคลาดเคลื่อนสะสมที่ร้อยละ 29 ค่าแปรปรวนเท่ากับ 159.70 (Sig. 000) และองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรในด้าน วัฒนธรรมเครือญาติ วัฒนธรรมผู้ประกอบการ วัฒนธรรมราชการ และวัฒนธรรมแบบตลาด มีอิทธิพลร่วมกันต่อสมรรถนะผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 32, 24, 19, 24 ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบของสมรรถนะผู้ประกอบการในด้านการใช้งานมีอิทธิพลพยากรณ์ต่อผลประกอบการธุรกิจที่ร้อยละ .49</p> สิริรัตน์ ทองบุรี วีระศักดิ์ จินารัตน์ วีระกิตติ์ เอกอัครวิจิตร พจน์ ยงสกุลโรจน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 122 138 ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการ ความสามารถในการทำกำไรกับ ผลตอบแทนกรรมการบริหาร: หลักฐานเชิงประจักษ์ กลุ่มบริษัทดัชนี SET 50 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/269627 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการกับผลตอบแทนกรรมการบริหาร และ 2) ผลกระทบของความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนกรรมการบริหาร: หลักฐานเชิงประจักษ์ กลุ่มบริษัทดัชนี SET 50 การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบข้อมูลทุติยภูมิ ระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2565 จำนวน 247 ตัวอย่าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) )</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การกำกับดูแลกิจการ ที่วัดจากการควบรวมอำนาจของกรรมการบริหาร และขนาดของคณะกรรมการบริษัท ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อผลตอบแทนกรรมการบริหาร แสดงว่าการที่บริษัทมีการควบรวมอำนาจของกรรมการบริหารและขนาดของคณะกรรมการบริษัทที่มากขึ้นจะส่งผลให้ค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริหารสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรที่วัดจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลตอบแทนกรรมการบริหาร แสดงว่า การที่บริษัทมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์สูงขึ้นส่งผลให้ค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริหารลดลง ในทางกลับกัน อัตราผลตอบแทนจากส่วนของ ผู้ถือหุ้นไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนกรรมการบริหาร งานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานกำกับดูแลสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาตัวแทนได้</p> พิชญา อัฒจักร และสุภาพร ทองสร้อย Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 139 152 คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/262676 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนใน อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จำแนกตาม เพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ซึ่งผลการทดสอบแบบสอบถามเท่ากับ 0.945 การวิจัยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One-way ANOVA <br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.0 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 41.5 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่าร้อยละ 37.3 มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ร้อยละ 41.5 มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน10,001-15,000 บาท ร้อยละ 42.3 องค์ประกอบโดยรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก 3.64 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของคุณภาพชีวิต ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.71 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามด้วยด้านความสัมพันธ์ทางสังคม โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.64 (SD. 0.66) ส่วนคุณภาพชีวิตด้านร่างกายนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.64 (SD. 0.63) และคุณภาพชีวิตด้านจิตใจนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.58 (SD. 0. 68) ผลการทดสอบ t-test ของตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม นั้นไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ .881 และมีค่าทดสอบ t = -.152 สำหรับการทดสอบความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบ One - Way ANOVA ตัวแปรต้น สถานภาพ ระดับวุฒิทางการศึกษา อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนตัวแปรตามนั้น คือ คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ไม่พบความแตกต่างของแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> ปภพพล เติมธีรกิจ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 153 162 การสร้างภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาสร้างเครือข่ายการทำน้ำมันเหลืองสมุนไพร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/268388 <p>พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 กำหนดไว้ว่าให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร) จัดการเรียนรู้สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและสังคม รวมทั้งร่วมมือกับผู้ชำนาญการในภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย และสถานศึกษา ในการส่งเสริมการเรียนรู้การถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ หรือภูมิปัญญาให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชน บทความนี้มุ่งนำเสนอ การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือและขยายความรู้สู่ชุมชนเพื่อความยั่งยืน ดำเนินงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษา ชุมชน ภาคีเครือข่าย ในการสร้างเครือข่ายการทำน้ำมันเหลืองสมุนไพร ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนพัฒนา 2) การวิเคราะห์ทรัพยากรขององค์กร (4 M’s) 3) การดําเนินงานพัฒนา 4) การติดตาม ประเมิน ปรับปรุงแก้ไข เผยแพร่ ต่อยอดการดำเนินงาน ร่วมกับการจัดการความรู้ สามารถสร้างภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ สร้างอาชีพของคนในชุมชน เกิดการเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่มีคุณค่า โดยมีทุนทางสังคมวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กับกลุ่มชนรุ่นหลังสืบไป ให้สมาชิกในครอบครัว ชุมชน สังคม ได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป</p> ธราดล หีตอักษร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2023-12-29 2023-12-29 20 2 69 78