วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">และเทคโนโลยีอีสเทิร์น </span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ตามหนังสือสำคัญแสดงการเขียนแจ้งการพิมพ์ตามประกาศการพิมพ์ 2550 เลขที่สศก. </span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ที่ 9 อบ / 07/2562 ขอยกเลิก ISSN ต้นฉบับคือ 1686-7440 (เดิมชื่อ วารสารโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และขอแจ้งหมายเลข ISSN ใหม่คือ 2673-0618 (ชื่อใหม่วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น) โดยวารสารฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ของนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ หลากหลายสาขาวิชา และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรและนักวิชาการได้มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้</span></span></span></span><br /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">กองบรรณาธิการ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">มหาวิทยาลัยการจั</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์นพิจารณาบทความตามหลัก</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">วิชาการ มีระเบียบบริหารคุณ</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ภาพวิชาการเป็นไปตามมาตรฐาน</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">การเผยแพร่ผลงานวิชาการ</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">วารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Center) โดยผ่านการขั้นตอนการพิจารณาบทความจากคุณ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและมีความหลากหลาย ซึ่งได้การรับรองคุ</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ณภาพของวารสารจาก TCI (กลุ่มที่ 2) ตั้งแต่ปี 2563-2567 โดยมีค่า Thai Journal Impact Factors ปีตั้งแต่ปี 2559 - 2561 มีค่าระดับ 0.028 เพื่อสนับสนุนให้นักวิชาการได้มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการและเรียนรู้และการเผยแพร่งานตีพิมพ์บทความด้านวิชาการในด้านการศึกษา การบริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences) เรื่องที่จะเสนอเพื่อตีพิมพ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความและบทวิจารณ์ ที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน ผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน (double blinded) ผู้เขียนต้องอนุญาตให้มีการปรับปรุงความสมบูรณ์และปฏิบัติตามข้อกำหนดของวารสารฯ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับคือ ฉบับที่ 1 (มกราคมถึงมิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคมถึงธันวาคม) และหากมีฉบับเสริม(supplementary) ปีละ 1 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามมาตฐาน TCI</span></span></span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความต่าง</span></span></span></span><wbr /><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ๆ ในวารสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">นักวิชาการและผู้ที่สนใจ กองบรรณาธิการมีความมุ่งหวัง</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">เพื่อสร้างสังคมไปสู่</span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ปัญญา </span></span></span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">"Imagine Beyond Knowledge" จินตนาการนำความรู้ </span></span></span></span></p> <p> </p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์</span></span></span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">บรรณาธิการ</span></span></span></span></p> th-TH umtpoly.journal@umt.ac.th (Assoc.Prof.Dr.Veerasak Jinarat) umtpoly.journal@umt.ac.th (Editorial department) Sat, 29 Jun 2024 20:29:49 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชันติดต่อ กับองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/271485 <p> ออนไลน์แอปพลิเคชั่นมีการใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งทางสื่อสังคม การติดต่อทางธุรกิจ และทางภาครัฐ การวัดประสิทธิผลของการใช้ออนไลน์แอพพลิเคชั่นมีอยู่จำกัด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชั่นติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชั่นติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตาม เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอายุ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน โดยการคำนวณจากตารางสำเร็จรูป<em> (</em><em>Yamane, 1973</em>) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตจังหวัดนครนายก เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ ตามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.873 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และใช้สถิติ One-way ANOVA</p> <p><strong> </strong> ผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 56.6 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 38.1 มีระดับการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 36.3 และมีอายุระหว่าง 36-50 ปี ร้อยละ 35.8 สำหรับค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและองค์ประกอบกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม ระดับการประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.66 (SD. 0.484) ซึ่งอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบด้านความพึงพอใจของคุณภาพการให้บริการมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.72 (SD. 0.677) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามด้วยด้านประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.70 (SD. 0.611) ลำดับที่สามคือด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 (SD. 0.614) ลำดับสุดท้ายคือด้านการปรับตัวของผู้ติดต่อสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.58 (SD. 0.681) ผลการทดสอบ t-test ของตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม นั้นไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .335 ซึ่งสูงกว่าระดับ .05 การทดสอบความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบ One - Way ANOVA ตัวแปรต้น ด้านสถานภาพ ด้านระดับการศึกษา ด้านอายุ ส่วนตัวแปรตามนั้นคือด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชั่นติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่พบความแตกต่างของแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> ปภพพล เติมธีรกิจ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/271485 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสำรวจภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272796 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านตัวเด็กวัยเรียน ปัจจัยด้านครอบครัวกับปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน และ 2) ประเมินปัจจัยด้านตัวเด็กวัยเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้ ประชากรที่ศึกษา คือ เด็กวัยเรียนที่มีอายุ 6 ถึง 12 ปี ชั้นประถมศึกษาที่เข้าระบบการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 318 คน ศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยด้านตัวเด็กวัยเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และแบบทดสอบปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยสถิติไคสแควร์<br />ผลการวิจัย พบว่า 1) เด็กวัยเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.6 มีจำนวนพี่น้องสองคน ร้อยละ 44.1 เป็นบุตรคนแรก ร้อยละ 45.3 มีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.00-4.00 ครอบครัวของเด็กวัยเรียนมีรายได้ส่วนมาก ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ผู้ปกครองเด็กจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง บิดา-มารดา อาศัยอยู่ร่วมกัน และสมาชิกในครอบครัวให้ความสนใจ ไว้วางใจ เอาใจใส่ซึ่งกันและกันในระดับดี เด็กวัยเรียนไม่มีปัญหา ภาวะสุขภาพจิตหรือมีปัญหาภาวะสุขภาพจิตในระดับน้อย ร้อยละ 94.3 โดยพบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาด้านการเรียน ร้อยละ 5.7 มีปัญหาด้านพฤติกรรมเด็ก ร้อยละ 1.4 และ 2) อายุ ระดับการศึกษาผลการเรียน เพศ และอาชีพผู้ปกครองของ เด็กวัยเรียน มีความสัมพันธ์กับปัญหาภาวะสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแลเด็กวัยเรียน ควรมีการประเมินคัดกรองเด็กวัยเรียนซ้ำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อ การส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อเป็นการค้นหาปัญหาและเฝ้าระวังปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน</p> สุภาภรณ์ สังข์ทอง อารยา ประเสริฐชัย และ อนัญญา ประดิษฐปรีชา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272796 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสำรวจการตลาดการเมืองและภาพลักษณ์ส่วนบุคคลของนักการเมือง เพื่อสร้างความไว้วางใจทางการเมืองของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น X, Y, Z https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272483 <p>ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดทางการเมืองและความไว้วางใจสะท้อนภาพลักษณ์ส่วนบุคคลของนักการเมืองที่ประชาชนจะลงคะแนนเสียงเลือกได้อย่างชัดเจน และมีวัตถุประสงค์วิจัยเพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ความไว้วางใจทางการเมืองและภาพลักษณ์ส่วนตัวของนักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบ และด้วยเหตุผลนี้ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาแบบสอบถามสำหรับนำไปรวบรวมความเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และยโสธร จำนวน 400 คนแล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise</p> <p>ผลวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการตลาดการเมืองในด้านราคามีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ความไว้วางใจทางการเมืองและภาพลักษณ์ส่วนตัวของนักการเมืองที่ค่า R<sup>2</sup> เท่ากับ 29 และ 31 ตามลำดับ นอกจากนั้น องค์ประกอบของการตลาดการเมืองด้านการสนับสนุนมีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ความไว้วางใจทางการเมืองและภาพลักษณ์ส่วนบุคคลของนักการเมืองที่ค่า R<sup>2</sup> เท่ากับ 24 และ 42 ตามลำดับ ดังนั้น การตลาดการเมืองมีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ทั้งความไว้วางใจทางการเมืองและภาพลักษณ์ส่วนบุคคลของนักการเมือง ความไว้วางใจทางการเมืองมีอิทธิพลต่อการทำนายภาพลักษณ์ส่วนบุคคลของนักการเมืองเช่นกันที่ ค่า R<sup>2</sup> เท่ากับ 65</p> ธีระยุทธ ต้องสู้ และพรเทพ โฆษิตวรวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272483 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272449 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบการบริหารจัดการนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 3) ประเมินระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ คือ ผู้บริหาร 5 คน ครูที่สอนนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จำนวน 20 คน นักศึกษาพิการเรียนร่วมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักศึกษาพิการเรียนร่วมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 9 คน รวม 43 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน และ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและประเด็นในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา <strong> </strong></p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักการ ส่วนที่ 2 ปัจจัยนําเข้า (Inputs) ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านครูและบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วม ด้านเครื่องมือ และ ด้านระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ส่วนที่ 3 กระบวนการ ส่วนที่ 4 ผลผลิต ได้แก่ ผู้เรียนฉลาดรู้ ผู้เรียนอยู่ดีมีสุข ผู้เรียนมีความสามารถ ผู้เรียนใส่ใจสังคม การยืนหยัดสิทธิตนเอง และ การตัดสินใจด้วยตนเอง ส่วนที่ 5 ผลย้อนกลับ (Feedback) และ ส่วนที่ 6 สภาพแวดล้อม 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษภาพรวมมีความเป็นไปได้มากที่สุด</p> <p> </p> ชนัญพัทธ์ โปธามูล สิรินทร์นิชา ปัญจอริยะกุล และศศิพินต์ สุขบุญพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272449 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษาและความร่วมมือทางเครือข่ายทางการศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274553 <p>การพัฒนาผลสัมฤทธิ์นักเรียนอาจนำไปดำเนินการผ่านปัจจัยอื่นจำนวนมาก สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและความร่วมมือเครือข่ายทางการศึกษาจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องนำเสนอ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูจำนวน 413 คน แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ <br />ผลวิจัยพบว่า สมรรถนะดิจิทัลมีอิทธิพลพยากรณ์ต่อผลสัมฤทธิ์นักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 โดยมีผลทดสอบค่า t เท่ากับ 5.97 (Sig.000) นอกจากนี้ องค์ประกอบของสมรรถนะดิจิทัล เช่น ทักษะดิจิทัล การดัดแปลงและยืดหยุ่น และความเท่ากันมีอิทธิพลพยากรณ์ต่อผลสัมฤทธิ์นักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .00 ที่ R2 เท่ากับ .29, t เท่ากับ 5.72 (Sig. 000), R2 เท่ากับ .25, t เท่ากับ 4.89 (Sig. 000) และ R2 เท่ากับ .23, t เท่ากับ 9.09 (Sig. 000) ตามลำดับ</p> พันทิพา ศรีวิชา ภานุมาศ จินารัตน์ และเปรมยุดา ลุสมบัติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274553 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 หนังสือแบบเรียน “NEW PRACTICAL CHINESE READER” ในมุมมองการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศและความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมบริการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/273576 <p>งานวิจัยนี้มีเพื่อ 1) วิเคราะห์การใช้หนังสือเรียน "NEW PRACTICAL CHINESE READER" ในการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้หนังสือเรียนนี้มีความโดดเด่น 2) ศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของนักศึกษาในการใช้หนังสือเรียนดังกล่าวและเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกหนังสือแบบเรียนภาษาจีน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 23 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) และวิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน<strong> </strong></p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือเรียน "NEW PRACTICAL CHINESE READER" มีโครงสร้างและเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่พื้นฐานถึงระดับสูง มีการจัดเรียงไวยากรณ์และคำศัพท์อย่างเป็นระบบ ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้ 2) ปัจจัยที่ทำให้หนังสือเรียนนี้โดดเด่น ได้แก่ ความหลากหลายของหัวเรื่อง การนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจง่าย และการสอดแทรกวัฒนธรรมจีนในบทเรียนการประเมินความพึงพอใจพบว่า 1) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในระดับสูงที่สุด โดยเฉพาะในด้านหัวเรื่อง (ค่าเฉลี่ย = 4.04) 2) ด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย = 3.98) 3) ด้านคำศัพท์ (ค่าเฉลี่ย = 3.89) 4) ด้านไวยากรณ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.84) และ 5) ด้านการสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย = 3.83) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนังสือเรียน "NEW PRACTICAL CHINESE READER" ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้ดีเยี่ยมในทุกด้าน ทำให้นักศึกษามีความพึงพอใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p> </p> นิธิเมธ เมธาภิวัชร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/273576 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตรังต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/275143 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตรังต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง และศึกษาเปรียบเทียบคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตรังต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะในจังหวัดตรังและปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือประชาชนในจังหวัดตรัง จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในจังหวัดตรังมีความคิดเห็นต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนในจังหวัดตรังที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง ไม่แตกต่างกัน สำหรับที่ประชาชนในจังหวัดตรังมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง และความรู้เกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง ต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดตรัง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ธนิสสรณ์ ถวัลย์ดำรงวิทย์ และจุฑาทิพ คล้ายทับทิม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/275143 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272475 <p> การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชนบทจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนหากแต่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมความเห็นของหัวหน้าครัวเรือนในเขตจังหวัดยโสธรจำนวน 391 คนมาศึกษาอิทธิพลพยากรณ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและมีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยงเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณทั้งแบบ Stepwise และแบบ Enter</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยอิทธิพลในด้านปัจจัยกายภาพ การเข้าถึงตลาดและการสนับสนุนจากรัฐบาลมีอิทธิพลพยากรณ์ร่วมกันต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ R<sup>2</sup> .58 ความคลาดเคลื่อนสะสม .36 และความสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันที่ F = 135.65 (Sig. 000) ผลวิจัยยังพบเพิ่มเติมอีกว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนมีผลต่อการพยากรณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีสัมประสิทธิ์พยากรณ์ตามค่า R<sup>2</sup> = .67 ความคลาดเคลื่อนสะสม .31 ความแปรปรวนร่วมกันของตัวแปรอิสระ 146.47 (Sig. 000)</p> พิสัย กาละจักร และพรเทพ โฆษิตวรวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272475 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม กรณีศึกษา โคกหนองนา โมเดล พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272284 <p> บทความวิจัย เรื่องรูปแบบความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม กรณีศึกษา โคกหนองนาโมเดล พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม โดยมีวิธีดําเนินการวิจัย 2 แนวทางร่วมกัน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ ครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรจำนวน 1,364,970 ครอบครัว (กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2565) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน</p> <p> ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) คุณลักษณะความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม พบว่าเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จต้องมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง มีความสามารถในการควบคุมเหตุการณ์แก้ปัญหาด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากนี้แล้วยังมีความสม่ำเสมอและไส่ใจในการเรียนรู้ในวิชาชีพแสวงหาโอกาสสร้างเครือข่ายมีทักษะการจัดการอื่นๆรวมทั้งการจัดการเชิงกลยุทธ์ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม พบว่ามีปัจจัยดังนี้ ด้านธุรกิจเกษตรผู้ประกอบการเกษตรต้องมีสถานที่ขายสินค้า สามารถผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรได้ มีความรู้ในการผลิตการขายและเทคโนโลยี ด้านการสร้างมูลค่าพิ่มสินค้าเกษตรต้องสามารถวัดผล ยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ สามารถสร้างความแตกต่างเกี่ยวกับชื่อสินค้า และสามารถวางแผนและปฎิบัติการทางการตลาดได้ และ 3) แนวทางพัฒนาความสำเร็จธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม พบว่าเกษตรกรต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการการผลิตการขายและเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการลดต้นทุนและทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้นสามารถผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรได้และมีสถานที่ขายสินค้าเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ต้องมีความรู้ในเรื่องธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตรสามารถแปรรูปผลผลิต</p> ภู่พิทักษ์ ภู่ประกิจ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272284 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของคุณภาพบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการเข้าร่วมและ ความพึงพอใจของประชาชน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272485 <p> การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านการศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการของรัฐอิเล็กทรอนิกส์หรือการใช้เว็บไซด์จัดให้มีบริการแก่ประชาชนจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่ต่างกันเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อการเข้าร่วมและความพึงพอใจของประชาชนได้จริง ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสอบถามไปรวบรวมความเห็นของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร จำนวน 450 คนมาเพื่อศึกษาอิทธิพลพยากรณ์ของคุณภาพบริการรัฐอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมและความพึงพอใจของประชาชน แล้วนำกลับมาวิเคราะห์สมการพยากรณ์</p> <p>ผลวิจัยพบว่า คุณภาพบริการ คุณภาพข้อมูลและความปลอดภัยเป็นองค์ประกอบของคุณภาพบริการรัฐอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลพยากรณ์ต่อการเข้าร่วมของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ค่า R<sup>2</sup> .53 ความคลาดเคลื่อนสะสม .52 ความสามารถในการอธิบายความแปรปรวนร่วมกันที่ 171.92 (Sig. 000) ทั้งนี้มีอิทธิพลของคุณภาพบริการร้อยละ 32 คุณภาพข้อมูลร้อยละ 32 และความปลอดภัยอักร้อยละ 15 กับผลวิจัยพบว่า คุณภาพบริการรัฐอิเล็กทรอนิกส์ด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของประชาชนร้อยละ 23 คุณภาพข้อมูลร้อยละ 21 ความเป็นส่วนตัวร้อยละ 14 และคุณภาพบริการร้อยละ 13 โดยทั้ง 4 องค์ประกอบมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ R<sup>2</sup> = .43 ความคลาดเคลื่อนสะสม .91 ความแปรปรวนร่วมกันที่ F = 84.23 (Sig. 000)</p> ธรรมนูญ แสนสนาม และพรเทพ โฆษิตวรวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272485 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีต่อ ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274375 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เพื่อศึกษาความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้น 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมและแบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน และ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม หลังการใช้การจัดการเรียนรู้ ( = 17.4, S.D. = 1.96) สูงกว่าก่อนการใช้การจัดการเรียนรู้ ( = 9.2, S.D. = 1.86) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สามารถนำความรู้ ทักษะสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมไปใช้ได้เหมาะสมกับช่วงวัยของตนเอง โดยสามารถตั้งคำถามทางสิ่งแวดล้อม จากประเด็นปัญหาที่เป็นทั้งสถานการณ์ตัวอย่าง และสถานการณ์จากชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ได้ที่สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพ และระบบนิเวศ สังคมวัฒนธรรม มีสมรรถนะในด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยสามารถวิเคราะห์ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และสามารถสืบค้นข้อมูลหาหลักฐานจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสามารถนำเอาความรู้และสมรรถนะเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.36, S.D. = 0.02)</p> <p> </p> ภานุพงศ์ กรเกตุ เพ็ญพนอ พ่วงแพ และชัยรัตน์ โตศิลา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274375 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยอิทธิพลที่มีผลต่อสมรรถนะครูและภาวะการเรียนรู้ถดถอยในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274550 <p>ภาวะการเรียนรู้ถดถอยในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอาจพัฒนาได้ผ่านปัจจัยอิทธิพลและการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอน ซึ่งด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ จำนวน 399 คน มาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลวิจัยพบว่า มีแต่เฉพาะปัจจัยอิทธิพลด้านความพร้อมของผู้เรียนมีผลต่อการทำนายภาวะการเรียนรู้ถดถอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 มีคะแนนมาตรฐานที่ .79 ผลทดสอบ t = 25.83 (Sig. 000) รวมถึงมีสัมประสิทธิ์ถดถอย R2 .62 ความคลาดเคลื่อนสะสม .29 และความแปรปรวน F = 667.44 (Sig. 000) ตลอดจนความเป็นอิสระของตัวแปรพยากรณ์ที่ค่า Durbin-Watson ที่ 1.90 นอกจากนี้ สมรรถนะครูมีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ภาวะการเรียนรู้ถดถอยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลทดสอบ t = 2.47 (Sig. 014) กับมีคะแนนมาตรฐานของการสะท้อนผลการเรียนรู้ที่ .86 ค่า t = 24.45 (Sig. 000) อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของผู้เรียน การสะท้อนผลการเรียนรู้ และการลงมือปฏิบัติ สามารถอธิบายอิทธิพลพยากรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อแนวทางการพัฒนาภาวะการณ์เรียนรู้ถดถอยที่สัมประสิทธิ์ R<sup>2</sup> .79, .86 และ -.15 (Sig. .000) ตามลำดับ)</p> <p> </p> นวลนภา พระพรหม ภานุมาศ จินารัตน์ และสมสัตย์ แทนคำ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274550 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนทักษะการเขียนโดยวิธีBrookesและWithrow และวิธีการสอนเขียนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร:กรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274429 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาเพื่อการสื่อสาร แบบทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการโดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน และแบบเป็นอิสระจากกัน <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มที่ได้รับการจัดการสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าขนาดของผลอยู่ที่ 3.73 2) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มที่ได้รับการจัดการสอนเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าขนาดของผลอยู่ที่ 0.29 3) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการสอนเขียนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าขนาดของผลอยู่ที่ 2.09 และ 4) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร อยู่ในระดับมากที่สุด</p> เนติมา วรพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274429 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลพยากรณ์ของภาพลักษณ์ผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและความสามารถ ของผู้จัดการทีมที่มีผลต่อความสำเร็จของนักฟุตบอลหญิง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274552 <p>ความสำเร็จของนักฟุตบอลหญิงทุกรุ่นอายุที่ดำเนินการอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศจำเป็นต้องอาศัยหลายปัจจัยในการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้บรรลุผลความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย และด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและนักฟุตบอลหญิงจำนวน 378 คนแล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีอิทธิพลพยากรณ์ต่อความสำเร็จของนักฟุตบอลหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลทดสอบ t เท่ากับ 6.31 (Sig. 000) และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย R<sup>2</sup> .41 มีความคลาดเคลื่อนสะสม .40 กับความแปรปรวนร่วมกันของตัวแปรอิสระที่ค่า F เท่ากับ 135.24 (Sig. 000) รวมถึงมีผลทดสอบความเป็นอิสระของความคลาดเคลื่อนตัวแปรเหตุตามค่า Durbin-Watson ที่ 1.64 องค์ประกอบของภาพลักษณ์ผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา เช่น ความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ มีอำนาจพยากรณ์ต่อความสำเร็จของนักฟุตบอลหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 มีผลทดสอบ t เท่ากับ 7.60 (Sig. 000) กับมีคะแนนมาตรฐานที่ .45 และมีผลทดสอบ t เท่ากับ 3.92 (Sig. 000) กับมีคะแนนมาตรฐานที่ .23 ตามลำดับ นอกจากนั้นแล้วผลวิจัยยังพบว่า ความสามารถของผู้จัดการทีมมีอิทธิพลยากรณ์ต่อความสำเร็จของนักฟุตบอลหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 โดยมีผลทดสอบ t เท่ากับ 7.54 (Sig. 000) และมีสัมประสิทธิ์ถดถอย R<sup>2</sup> เท่ากับ .57 ความคลาดเคลื่อนสะสม .34 กับมีความแปรปรวนร่วมกันของตัวแปรพยากรณ์ที่ค่า F เท่ากับ 166.06 (Sig. 000)</p> มนัด เทศทอง ภานุมาศ จินารัตน์ และสุทธินี รัตนศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274552 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งผลต่อสมรรถนะผู้เรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274555 <p>การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน กระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทยจึงได้นำเสนอมาตรฐานสมรรถนะผู้เรียนมัธยมในด้านทักษะการสื่อสาร ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ขั้นสูง การทำงานเป็นทีมร่วมกันและมีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ด้วยเหตุนี้ ครูผูสอนสามารถออกแบบการจัดการเรียนในรูปแบบของการเรียนผสมผสานได้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามไปรวบรวมความเห็นครูกลุ่มตัวอย่างในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี และอำนาจเจริญจำนวน 395 คน และนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบผสมผสานมีอิทธิพลพยากรณ์ต่อสมรรถนะผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 โดยเฉพาะอิทธิพลองค์ประกอบการสอนมีคะแนนมาตรฐานมากถึง .29 ถัดมาเป็นอิทธิพลของประสิทธิผลการเรียน .25 สิ่งแวดล้อม .23 และสื่อให้ความรู้ .15 จึงอาจสรุปได้ว่า ครูผู้สอนต้องใช้ลักษณะของการเรียนแบบผสมผสานทุกองค์ประกอบเพื่อดัดแปลงและพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน</p> <p> </p> เจียระไน กาญจนะโกมล สุดใจ พันธุ์ศรี, กาญจนา อุปสาร และธนภณ พันธุ์ศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274555 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลสมรรถะการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและกระบวนการนิเทศ ภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์นักเรียน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274554 <p>การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาจะส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนได้หรือไม่ ผู้วิจัยได้นำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือวิจัยและรวบรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 364 คน และนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ <br />ผลวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามีอิทธิพลพยากรณ์ต่อผลสัมฤทธิ์นักเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และมีคะแนนมาตรฐานขององค์ประกอบความรู้ความเข้าใจต่อการจัดการเรียนการสอนที่ -.02 ทักษะการสอน .09 และคุณลักษณะครู -.01 รวมถึงมีสัมประสิทธิ์ถดถอย R2 เท่ากับ .00 ความคลาดเคลื่อนสะสม .30 กับมีความแปรปรวน F เท่ากับ .612 Sig. 608 นอกจากนี้ องค์ประกอบกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีอิทธิพลพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์นักเรียนได้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย องค์ประกอบการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนมีคะแนนมาตรฐานที่ .10 การวางแผนและคัดเลือกแนวทาง -.02 การพัฒนาสื่อและเครื่องมือติดตามผล .08 การดำเนินการนิเทศ .05 และการประเมินผลกับรายงานการนิเทศอีก .04 โดยมีสัมประสิทธิ์ถดถอยที่ .01 ความคลาดเคลื่อนสะสม .30 และความแปรปรวน F เท่ากับ .658 (Sig. 656)</p> ทรงศักดิ์ พลศักดิ์ ภานุมาศ จินารัตน์ และดวงเดือน ศิริโท Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274554 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการตั้งใจใช้ของครูในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะในการสอนในรูปแบบของความรู้ ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274557 <p>วิธีการพัฒนาหมายถึงวิธีการวิเคราะห์การใช้ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะในการสอนในรูปแบบของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี และผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูจำนวน 394 คนแล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลวิจัยพบว่ามีอิทธิพลขององค์ประกอบการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอนในรูปแบบของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีในด้าน การใช้ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะในการสอนรูปแบบของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ความคาดหวังของผลปฏิบัติงาน ความคาดหวังของผล เงื่อนไขการประสานงาน และอิทธิพลทางสังคม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้อย่างมีนัยสำคัญที่คะแนนมาตรฐานเท่ากับ .23, .21, .16, .09 และ .12 (Sig .000) ตามลำดับ องค์ประกอบทั้ง 5 มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ R2 เท่ากับ .34 มีความคลาดเคลื่อนสะสม .28 ความแปรปวน F เท่ากับ 40.27 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับมีความคลาดเคลื่อนตัวแปรเหตุเป็นอิสระต่อกัน จึงอาจสรุปได้ว่า องค์ประกอบของการใช้ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะในการสอนรูปแบบของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีสามารถผีผลกระทบต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้ของครูที่แตกต่างกัน</p> พนิดา สุวรรณวงค์ กิจชัย สุภาพ, และวิสุทธ์ เวียงสมุทร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274557 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสำรวจศักยภาพในการจัดกิจกรรมดูนกเพื่อการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่สถานศึกษาขนาดกลางในเขตเมือง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274425 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลชนิดนกในพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยการสำรวจและบันทึกข้อมูลชนิดนกเป็นระยะเวลา 5 เดือน ผ่านการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม อาศัยกล้องส่องทางไกลแบบสองตา แบบตาเดียวและกล้องถ่ายภาพเป็นอุปกรณ์สำรวจและเก็บข้อมูล และใช้หนังสือคู่มือดูนกเมืองไทยและแอพลิเคชั่น Merlin Bird ID เป็นเครื่องมือในการจำแนกชนิดนก และ 2) เพื่อสำรวจศักยภาพในการจัดกิจกรรมดูนกเบื้องต้นของสถานศึกษาขนาดกลางในเขตเมือง โดยใช้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้สร้างกรอบการประเมินศักยภาพที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาโดยอ้างอิงจากเกณฑ์ประเมินมาตรฐานแหล่งกิจกรรมดูนกที่จัดทำโดยกรมการท่องเที่ยว (กรมการท่องเที่ยว, 2564) ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง กับผู้เชี่ยวชาญการจัดกิจกรรมดูนก โดยการเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อปรับปรุงกรอบในการประเมินศักยภาพ จากนั้นจึงนำกรอบที่ได้ไปสำรวจ วิเคราะห์ และสรุปผลด้วยวิธีแบบอุปนัย </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับจัดกิจกรรมดูนกเพื่อการเรียนรู้เบื้องต้น โดยด้านที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ ความสะดวกในการเข้าถึงสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ส่วนในด้านองค์ประกอบทางธรรมชาติ ถือว่าเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีศักยภาพ โดยพบว่าภายในมหาวิทยาลัยมีความหลากหลายของชนิดนกมากถึง 36 ชนิด และมีพื้นที่สีเขียวที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของนก อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีความจำเป็นต้องพัฒนาในด้านการจัดกิจกรรมและด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและบุคลากร โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะของวิทยากรนำดูนก อุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรม รวมทั้งการจัดตั้งกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมดูนกที่เป็นรูปธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคลากรภายในสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องการอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น เป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสอดคล้องกับนโยบาย Green University ของมหาวิทยาลัย</p> พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274425 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะผู้ประกอบการ และความสามารถการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274704 <p>การยกระดับผลปฏิบัติงานขององค์กรธุรกิจทุกขนาดอาจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับหลายปัจจัยโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะผู้ประกอบการและความสามารถด้านการตลาดดิจิทัล ซึ่งด้วยเหตุนี้ การวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมความเห็นของผู้จัดการและผู้บริหารภาคอุตสาหกรรมมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลวิจัยพบว่า องค์ประกอบของสมรรถนะผู้ประกอบการเช่น สมรรถนะปฏิบัติงาน สมรรถนะการเรียนรู้ และสมรรถนะสังคมและบุคคลมีอิทธิพลร่วมกันกับองค์ประกอบสมรรถนะปฏิบัติงานต่อการพยากรณ์ผลปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ร่วมกันที่ร้อยละ 69 ความคลาดเคลื่อนสะสม .69 และความแปรปรวนร่วมกันที่ค่า F เท่ากับ 228.25 (Sig. 000) รวมถึงพบว่าความสามารถด้านการตลาดดิจิทัลมีอำนาจพยากรณ์ผลปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 และมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลร้อยละ 74 ความคลาดเคลื่อนสะสมร้อยละ 35 กับมีความแปรปรวนที่ค่า F เท่ากับ 571.25 (Sig. 000) ขณะที่ตัวแปรเหตุมีคุณสมบัติในการพยากรณ์ตามหลักเกณฑ์คือมีค่า Durbin-Watson เท่ากับ 1.99 จึงอาจสรุปได้ว่า ความสามารถการตลาดดิจิทัลที่เป็นทักษะและความรู้ของบริษัทสามารถทำให้เกิดผลการปฏิบัติงาน</p> อมฤทธิ์ จันทนลาช พจน์ ยงสกุลโรจน์ และวีระศักดิ์ จินารัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274704 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การปรับตัวของชาวนาเกลือในพื้นที่สองบุรีศรีมหาสมุทร : ความท้าทายเพื่อความอยู่รอดของชาวนาเกลือในยุค AI-Robotics https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/273393 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชาวนาเกลือจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาครให้มีความยั่งยืน ดำรงอยู่ได้ในเศรษฐกิจยุคปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะจง จำนวน 17 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าแนวทางการพัฒนาชาวนาเกลือให้มีความยั่งยืน ตามกลุ่มของชาวนาเกลือ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่มีความคิดก้าวหน้า ควรเปิดโอกาสให้ชาวนาเกลือกลุ่มนี้เป็นผู้นำในการร่วมกำหนดนโยบายในการปรับเปลี่ยนจากชาวนาเกลือ สู่การเป็น “ผู้ประกอบการนาเกลือ” 2) กลุ่มที่มีความคิดแบบเดิม ๆ คือ ขายผลผลิตเกลือให้กับพ่อค้าคนกลาง ภาครัฐควรกำหนดนโยบายในการประกันราคาเกลือ เพื่อสร้างความมั่นใจในอาชีพทำนาเกลือ เมื่อมีรายได้ที่แน่นอน ชาวนาเกลือก็จะยังคงรักษาที่นาและทำอาชีพนาเกลือต่อไป 3) กลุ่มที่ต้องยอมรับข้อจำกัดทางพื้นที่ กลุ่มนี้มีข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ คือ พื้นที่ นาเกลือตำบลบางโทรัด ควรมีหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชาวนาเกลือกับเรือขนเกลือ ผลการปรับตัวของชาวนาเกลือ พบว่า ชาวนาเกลือมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปเกลือมากขึ้น เช่น สบู่ ยาสีฟัน โลชั่น เกลือหอมกันยุง แป้งเกลือจืด เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าให้เกลือมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และชาวนาเกลือบางส่วนสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่นาเกลือได้ตลอดทั้งปีจากการทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำนาเกลือ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ</p> เทพพิสุทธิ์ ประจิตร , สุรศักดิ์ สุขมาก, กรรณิกา ปัญญาวงค์ และชมพูนุท แย้มสรวล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/273393 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความสามารถพลวัตและผลประกอบการธุรกิจ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274702 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความสามารถพลวัตรและผลประกอบการธุรกิจอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเพื่อรวบรวมความเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารองค์กรธุรกิจ จำนวน 420 คน และนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise</p> <p>ผลวิจัยพบว่า องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กร เช่น วัฒนธรรมแบบเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมการตลาด และวัฒนธรรมเครือญาติ มีอิทธิพลร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถพลวัตที่สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ร่วมกันที่ R<sup>2</sup> = .76 ความคลาดเคลื่อนสะสมร้อยละ 37 กับมีความสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ที่ค่า F เท่ากับ 455.01 (Sig. 000) ขณะที่ผลทดสอบความเป็นอิสระของค่าคลาดคลื่อนตัวแปรเหตุตามค่า Durbin-Watson ที่ 1.51 นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบว่า วัฒนธรรมตลาดมีอิทธิพลโดยตรงต่อผลประกอบธุรกิจร้อยละ 62 รวมถึงความสามารถพลวัตรมีอิทธิพลทางตรงต่อผลประกอบการธุรกิจอีกร้อยละ 69 กับมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ค่า R<sup>2</sup> เท่ากับ .47 กับ .53 ตามลำดับ ดังนั้น การพัฒนาวัฒนธรรมการตลาดสามารถสร้างความสามารถพลวัตรและผลประกอบการธุรกิจ</p> วีรเธียร เขียนมีสุข วีระศักดิ์ จินารัตน์ และวีระกิตติ์ เอกอัครวิจิตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274702 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางอยู่เป็นประจำ ในการรับบริการมื้ออาหารบนเครื่องบินโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274438 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารที่มีการเดินทางอยู่เป็นประจำในประเด็นการรับ บริการอาหารบนเครื่องบินโดยวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารชาวไทยที่เป็นสมาชิกระดับสูงของสายการบิน มีการเดินทางในเส้นทางในประเทศและต่างประเทศรวมกันเกิน 50,000 ไมล์ต่อปีหรือเทียบเท่าตามเกณฑ์ของแต่ละสายการบิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 20 ท่านจากหลากหลายอาชีพ</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกพึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อใหญ่ได้แก่ 1.มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม 2.เกิดความภาคภูมิใจในสายการบิน 3.มีความปลอดภัยมากกว่า 4.ไม่ได้มีความคาดหวังกับบริการอื่นนอกเหนือจากการขนส่ง 5.การลดต้นทุนของสายการบินซึ่งอาจนำไปสู่การลดราคาของบัตรโดยสารได้ และร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่พึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อเช่นเดียวกัน ซึ่งได้แก่ 1.ขาดความสะดวกสบายในเรื่องของการใช้งาน 2.ไม่มั่นใจในเรื่องของความสะอาด 3.ไม่มั่นใจว่าจะเป็นการสร้างขยะเพิ่มหรือไม่ 4.เสียภาพลักษณ์ของสายการบิน 5.ไม่เชื่อมั่นในนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมของสายการบิน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยได้แก่สายการบินควรพิจารณาเรื่องการสื่อสารและการให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้อย่างทั่วถึงแก่ผู้โดยสารเพื่อยกระดับความพึงพอใจให้มีมากขึ้น</p> ธรรมนูญ วิศิษฏ์ศักดิ์ และสุธินี มงคล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274438 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างในสังคมจีนปัจจุบันและมุมมองการเปลี่ยนแปลงของชาวจีน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/273943 <p>เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเป็นประเพณีของชาวจีนที่เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านและเป็นตำนานวีรบุรุษบุคคลสำคัญที่สืบต่อกันมามากกว่า 2000 ปี เทศกาลนี้เป็นหนึ่งในสี่เทศกาลที่สำคัญของประเทศจีน แฝงไว้ด้วยความลึกซึ้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวจีน จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) กับทาง UNESCO ในปี 2009 และเป็นเทศกาลแรกของจีนที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกด้วย(党建网, 2020) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษามุมมองของชาวจีนในปัจจุบันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง การวิจัยการเปลี่ยนแปลงของประเพณีเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างในสังคมจีนปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือคือแบบสำรวจปรนัย แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประเพณีไหว้บ๊ะจ่าง และความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของประเพณีไหว้บ๊ะจ่างในสังคมจีน และทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างชาวจีนที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปีแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของธรรมเนียมปฏิบัติในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างบางอย่างลดเลือนหายไปตามความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษา เทคโนโลยีและสังคม 2) การไหว้บ๊ะจ่างในปัจจุบันแตกต่างจากอดีต ในปัจจุบันชาวจีนส่วนมากไม่ได้ไหว้บ๊ะจ่างเพื่อระลึกถึงบุคคลสำคัญ หรือกระทำขึ้นเพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้า แต่ยังคงปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียมสืบทอดต่อมา เนื่องจากเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างแฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย บ๊ะจ่างในปัจจุบันมีรูปร่างและรสชาติที่เปลี่ยนไปจากอดีต มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ดูแปลกใหม่ 3) ชาวจีนทุกช่วงอายุล้วนมีความเห็นว่าเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบันในระดับมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าพิธีการเซ่นไหว้เพื่อบูชาเทพเจ้ามีให้เห็นน้อยลง แต่ในช่วงเทศกาลดังกล่าวชาวจีนออกท่องเที่ยว หรือกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวมากขึ้น สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ประเพณีไหว้บ๊ะจ่างมีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการตลาดของสังคมจีนในปัจจุบัน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปขนมบ๊ะจ่างได้มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปโดยมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปทั้งในเรื่องวัตถุดิบการทำบ๊ะจ่าง และวิธีการห่อที่ทำให้ดูแปลกใหม่น่าสนใจมากขึ้น หรือสินค้าที่เคยเป็นที่นิยมทำออกมาจำหน่ายในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างอย่างเช่นถุงหอม เนื่องจากกระแสนิยมการแต่งกายย้อนยุค ถุงหอมจึงเปลี่ยนจากสินค้าที่ขายได้เพียงช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างมาเป็นสินค้าที่ขายได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีการพัฒนารูปแบบและกลิ่นให้เข้ากับปัจจุบันมากขึ้นด้วย </p> <p> </p> สุชนา หลงเจริญ และเบญจวรรณ รักเงิน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/273943 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 THE IMPACT OF THE EUROPEAN GREEN DEAL ON THAILAND'S EXPORTS TO THE EU https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274689 <p>This research investigates how the Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) will impact Thailand's exports of steel and iron to the European Union (EU). The European Green Deal (EGD) is the European Commission's policy that aims to promote a green transition, along with the plan to make Europe the first continent to be climate neutral by 2050. This includes the sought-after Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM), which levies tariffs on carbon-importing goods to the EU. This research (1) evaluate how CBAM would affect Thailand's exports of steel and iron to the EU (2) explore the perceptions and preparedness of Thai export firms regarding CBAM (3) provide policy recommendations to mitigate adverse effects and leverage potential opportunities for Thailand. The study identifies concerns regarding cost rise and competitive loss based on semi-structured interviews with ten Thai export firms. The ten companies interviewed are located in various industrial regions of Thailand, including Bangkok, Samut Prakan, and Chonburi.</p> <p>It has also indicated that Thai manufacturers should embrace environmentally friendly production practices to manage these impacts effectively. The study also suggests that Thai policymakers should ensure that the CBAM legislation is accompanied by viable instrumental and technical support to reduce the initial cost borne by iron and steel traders in Thailand. Exporters must embrace innovations and improve their energy systems so that their products remain relevant in the EU region. Legal specifications and adequate communication systems with exporting entities and EU institutions are essential in managing CBAM provisions to sustain access to the market. The findings from the interviews revealed that Thai firms are concerned about the increased costs and potential competitive disadvantages. The companies expressed the need for technical assistance and clear communication to mitigate these impacts.</p> Suthinee Mongkol and Tammanoon Wisitsak Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274689 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการของเสียจากงานอีเวนต์เพื่อความยั่งยืนในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274198 <p>ภาคธุรกิจการบริการเริ่มตระหนักดีถึงประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการริเริ่มด้านความยั่งยืนและ<br />การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ อาทิ ธุรกิจการจัดงานอีเวนต์ โรงแรม และธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากการจัดงานอีเวนต์และเกิดเป็น<br />แนวทางการจัดการของเสียจากงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ผลกระทบที่เกิดขึ้น <br />การจัดการของเสียสำหรับการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นในการจัดงานซึ่งก่อให้เกิดของเสียที่มีการจัดการได้ยากตามมาเป็นจำนวนมาก 2) แนวทางการจัดการของเสียสำหรับการจัดงานอีเวนต์ในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการ 3 Rs มาใช้ คือ ใช้ในสิ่งที่จำเป็นหรือลดการใช้ (Reduce) การนํากลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) <br />การนําไปแปรรูปใหม่และสามารถก่อให้เกิดมูลค่าได้ (Recycle) เพื่อทำให้เกิดเป็นบริบทสำคัญในแนวทางการจัดการของเสียจากงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการเพื่อการพัฒนาการจัดงานในการเพิ่มมูลค่าให้เกิดความยั่งยืนและ<br />มีเสถียรภาพต่อไป </p> <p>ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาโดยนำหลักเกณฑ์การจัดงานอย่างยั่งยืน 8 ประการ คือ 1) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการจัดงาน 2) เพื่อลดการใช้นํ้า พลังงาน วัสดุ และทรัพยากรอื่นๆ ในกระบวนการ 3) กำหนดมาตรการลดปริมาณขยะ รวมถึงการนำขยะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กลับมาใช้อีกครั้ง 4) คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมที่เกิดจากวัฏจักรชีวิตของสินค้าและบริการนั้นๆ ในกระบวนการจัดซื้อ 5) ดำเนินงานตามหลักการเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดช่วงเวลาการจัดงาน ลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นใจว่ามีการให้บริการที่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้เข้าร่วมงาน<br />ทุกประเภท และคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมงานและพนักงาน 6) ดำเนินมาตรการที่จะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมต่อชุมชน ให้ส่งผลกระทบทางลบน้อยที่สุด 7) เพิ่มการรับรู้ การให้ข้อมูล และการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนหลักที่เกี่ยวข้อง และ 8) จัดทำรายงานที่จะช่วยในการสื่อสาร การวัดผล และการประเมินผลของการจัดงานที่ยั่งยืนนับตั้งแต่ขั้นตอนการริเริ่มกระบวนการจนถึงขั้นตอนการได้มาซึ่งผลลัพธ์ของการจัดงาน</p> สุพรรณี ศรีธัมมา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/274198 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700