https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/issue/feed
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์
2024-12-26T17:45:09+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิติกร อ่อนโยน
tabianvru@hotmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์</strong></p> <p>ISSN 3056-9419 (Print) <br />ISSN 3056-9427 (Online)</p> <p>กำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี <br />- ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน <br />- ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตของการตีพิมพ์</strong> <br /> เปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ได้แก่ บทความปริทัศน์บทความวิชาการ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความจากประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (การศึกษา สังคมศาสตร์ทั่วไป จิตวิทยาทั่วไป ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์) จากบุคลากรทั้งของมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป <br /> บทความที่จัดพิมพ์ในวารสารทุกบทความต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรอง (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง จากภายในและ/หรือภายนอกมหาวิทยาลัย ที่หลากหลายสถาบันและไม่สังกัดเดียวกันกับเจ้าของบทความ จำนวน 3 ท่าน ในรูปแบบ (<strong>Double-blinded Review</strong>) และหากตรวจสอบพบว่า มีการจัดพิมพ์ซ้ำซ้อนถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ประสานงานและผู้นิพนธ์ร่วม</p>
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276074
การถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
2024-09-03T18:18:01+07:00
อารยา แสงมหาชัย
araya.sa@o365.bsru.ac.th
<p>บทความฉบับนี้นำเสนอการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เข้าสู่ธุรกิจ ในด้านอิเล็กทรอนิกส์ และซอฟต์แวร์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคสังคม ความมั่นคง และด้านสุขภาพ ซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยี คืองานที่สนับสนุนเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศ การดำเนินงานทางด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการเป็นการทำให้ผลงานต่าง ๆ ที่ได้รับจากการวิจัยและพัฒนา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ตลอดจนสามารถตอบสนองได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำการวิจัยและพัฒนานั้น ๆ เนคเทคได้สร้างและพัฒนากลไกตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่จะช่วยผลักดันให้มีการนำเอาผลงานที่ได้รับจากการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ออกไปสู่ผู้ใช้ได้อย่างกว้างขวางมากที่สุดเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการ รวมทั้งดำเนินการศึกษาความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคสังคม ความมั่นคง และด้านสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำมาตรการ ในการกำหนดแนวทางการสนับสนุนและดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมภาคการเกษตร ภาคสังคม ความมั่นคง และด้านสุขภาพ และผู้ใช้ในประเทศมากที่สุด</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 อารยา แสงมหาชัย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275209
แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
2024-07-26T16:08:16+07:00
ดวงพร นิลวงษ์
duangporn.n63@rsu.ac.th
กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์
Kanlayarat@rsu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 วิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ จำนวน 95 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.98 และสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index: PNI Modified ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ศึกษาข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าดัชนีความสอดคล้องเครื่องมือ (Index of item Objective Congruence : IOC) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ เท่ากับ 0.90<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียน อุดมธรรมคุณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ อันดับแรกคือ การมีส่วนร่วมในการทำงานของสมาชิก ประเด็นการตัดสินใจใด ๆ ควรใช้ข้อมูลและความคิดเห็นของครูทุกคน และ 3) แนวทางพัฒนา การทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ คือ ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมดำเนินการ ซึ่งจะทำให้ครูเกิด การประสานงานและมีความรับผิดชอบร่วมกัน เสริมสร้างพลังในการทำงานและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ดวงพร นิลวงษ์, กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275794
ผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ ที่มีต่อความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดเกรียงไกร(โพธิ์ประสิทธิ์) จังหวัดนครสวรรค์
2024-07-30T14:33:12+07:00
ทัศวรรณ ละมูล
game_tatsawan@hotmail.com
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์
dararat926u@gmail.com
ศุภวรรณ์ เล็กวิไล
supawan2@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ ประชากร คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 2 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่โรงเรียนวัดเกรียงไกร (โพธิ์ประสิทธิ์) จังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และแบบทดสอบความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไค-สแควร์<br />ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุมีความสัมพันธ์กัน ทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสำหรับห้องเรียนคละอายุสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้าน</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ทัศวรรณ ละมูล, ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์, ศุภวรรณ์ เล็กวิไล
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275221
การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
2024-07-28T12:33:52+07:00
ณัฐกริษฐา โกพิมาย
natkristha@go.buu.ac.th
ปริญญา ทองสอน
thongsornparinya@gmail.com
สมศิริ สิงห์ลพ
somsiri@go.buu.ac.th
ปานเพชร ร่มไทร
panpetch@go.buu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี และ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงทะเบียนเรียนในราย วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอน มีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.50, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.55 แผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.30, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.80 และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษได้ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.45 - 0.64 เป็นแบบทดสอบที่มีความยากปานกลาง ได้ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.22 - 0.77 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดปละประเมินผล และ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นประมวลความคิดและค้นหาคำตอบ ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 4 ขั้นอภิปราย สรุปผล และขั้นที่ 5 ขั้นวัดและประเมินผล 2) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ณัฐกริษฐา โกพิมาย, ปริญญา ทองสอน, สมศิริ สิงห์ลพ, ปานเพชร ร่มไทร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275522
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
2024-07-19T18:51:57+07:00
ปวิชญา กันทะเนตร
pawichaya.vaclav22@gmail.com
ชัชชญา พีระธรณิศร์
santana.p@rsu.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ ความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 192 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณดัชนีความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNI modified และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การทำงานร่วมกันเป็นทีม และความต้องการจําเป็นสูงสุดคือ การทำงานร่วมกันเป็นทีม (PNI modified= 0.70) และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ได้แก่ 1) การส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม 2) การมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลง 3) การสร้างบรรยากาศองค์กรแห่งนวัตกรรม 4) การมีความคิดสร้างสรรค์ และ 5) การบริหารความเสี่ยง</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ปวิชญา กันทะเนตร, ชัชชญา พีระธรณิศร์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276274
การพัฒนาแชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรม ภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2024-08-24T11:05:54+07:00
กิตติพงศ์ นาคบาง
kittipong23@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของแชทบอท เพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยแชทบอท เพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาคะแนนพัฒนาการด้านการเรียนด้วยแชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา น้อมเกล้า นนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 3) แชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน 4) แบบฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน จำนวน 20 แบบฝึก และ 5) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แชทบอท สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.08/85.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยแชทบอท โดยกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พัฒนาการด้านการเรียนด้วยแชทบอทมีค่าพัฒนาการสัมพัทธ์ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.71 สูงกว่าระดับปานกลางที่ตั้งไว้ 4) ความพึงพอใจต่อการใช้แชทบอท มีค่าเฉลี่ยอยู่เท่ากับ 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 อยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กิตติพงศ์ นาคบาง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276745
การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต
2024-10-01T17:40:19+07:00
พรทิวา ชนะโยธา
porntiwa.chu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับ การสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต และ 3) ประเมินรับรองรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 54 รูป/คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามร่างรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 2) แบบประเมินระบบจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 3) แบบประเมินผลชิ้นงานแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 และ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.975 4) แบบประเมินทักษะการคิดขั้นสูง ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.876 และ 5) แบบประเมินรับรองรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามและองค์ประกอบของรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิตที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย (1) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ (2) ระบบจัดการแฟ้ม โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหา การเก็บรวบรวมผลงาน กิจกรรมส่งเสริมการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง และการติดตามประเมินผล (3) ขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implement) และการประเมินผลการใช้ (Evaluation) และระบบจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพโดยรวมในระดับมาก (4.13) 2) คุณภาพผลงานแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่นักศึกษาสร้างขึ้น ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 75.93 และผลคะแนนทักษะการคิดขั้นสูง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.08) 3) ผลการประเมินรับรองรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมาก (4.49) และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด (4.52)</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 พรทิวา ชนะโยธา
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276619
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
2024-09-28T15:21:08+07:00
จรัสพิมพ์ เปี่ยมศิริ
charatphim.piam@vru.ac.th
กัมลาศ เยาวะนิจ
kamalas@vru.ac.th
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร
pisak@vru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจาก การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้ข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร และอัตรากำลังคนขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง และผู้เกี่ยวข้องในฐานะผู้รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคลท้องถิ่น คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดอ่างทอง ผู้แทนจากสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง รวมทั้งสิ้น 54 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ข้าราชการและพนักงานจ้าง ที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ จำนวน 15 คน ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง จำนวน 1 คน และผู้แทนคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดอ่างทอง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และศึกษาเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษานำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการสรุปผลการศึกษา<br />ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ มีการวางแผนอัตรากำลัง โดยการจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการบุคลากร 2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง ขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ คือ ปัญหาและข้อจำกัดด้านงบประมาณ กระบวนการสรรหาโดยส่วนกลาง การโอน(ย้าย)ของข้าราชการ และนโยบาย ของผู้บริหาร และ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาและการพัฒนาบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้ข้อจำกัด ด้านอัตรากำลัง ขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ คือ สร้างความรู้ความเข้าใจในบริบทของผู้บริหาร แจ้งให้ผู้บริหารรับทราบถึงปัญหาในการขาดแคลนบุคลากร ส่งเสริมให้ข้าราชการและพนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรมในสายงานที่รับผิดชอบ และให้ท้องถิ่นจังหวัดในการใช้ระเบียบกฎหมายงานบริหารงานบุคคลท้องถิ่น</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 จรัสพิมพ์ เปี่ยมศิริ, กัมลาศ เยาวะนิจ, ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276127
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การ กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด
2024-08-22T14:48:21+07:00
สุวิตา ขันทอง
suwita.khan99@gmail.com
พรพรหม ชมงาม
pornprom.c@bu.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด 2) ความพึงพอใจในงานของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด และ 3) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มพนักงานบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด เพศชายและเพศหญิง ที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด จำนวน 145 คน ใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ที่ 0.89 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) <br />ผลการศึกษาพบว่า 1) การติดต่อสื่อสารในระดับเดียวกัน เป็นพฤติกรรมการสื่อสาร ภายในองค์การที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเพื่อนร่วมงานมีการรับฟังปัญหา ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน 2) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า สภาพการทำงานจัดเป็นความพึงพอใจในงานมากที่สุด เนื่องจากองค์การ มีบรรยากาศภายในการทำงานที่ดี สถานที่สวยงาม สะอาดตา และ 3) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด (r = .721) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สุวิตา ขันทอง, พรพรหม ชมงาม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/277651
ปัจจัยการปฏิบัติงานบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานบัญชีในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2024-10-04T09:11:39+07:00
รัตติยา กันทร
k.rattiya12@gmail.com
ปานฉัตร อาการักษ์
P.thaipnew1@hotmail.com
อรวรรณ เชื้อเมืองพาน
Jerry_bugs@hotmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการปฏิบัติงานบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานบัญชีในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานบัญชีของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 210 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียรสัน การวิเคราะห์ การถดถอยแบบพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐาน<br />ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ปฏิบัติงานบัญชีของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการปฏิบัติงานด้านความรู้ทางการบัญชีของผู้ปฏิบัติงานบัญชีปัจจัยการปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี ปัจจัยการปฏิบัติงานด้านความเข้าใจในขั้นตอนจัดทำบัญชีผู้ทำบัญชี และปัจจัยการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยในครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนการในพัฒนาบุคลากร ในหน่วยงานที่สนับสนุนให้ผู้ทำบัญชีสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 รัตติยา กันทร, ปานฉัตร อาการักษ์, อรวรรณ เชื้อเมืองพาน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276135
ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารภายในองค์การกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
2024-08-28T13:14:31+07:00
กัมปนาท เหลืองแดง
kumpanart.luea@bumail.net
พรพรหม ชมงาม
pornprom.c@bu.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารภายในองค์การของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง 2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารภายในองค์การกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขา ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง จำนวน 289 คน ใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลการตรวจสอบความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.89 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) <br />ผลการศึกษาพบว่า 1) การสื่อสารแนวนอน เป็นพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การ ที่สำคัญมากที่สุดโดยเฉพาะพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ทัศนคติ กับเพื่อนร่วมงาน 2) ความซื่อสัตย์สุจริต จัดเป็นประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ พนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มากที่สุด โดยเฉพาะการไม่ละเลยหน้าที่ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ และ 3) การสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ในระดับมาก (r = .664**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กัมปนาท เหลืองแดง, พรพรหม ชมงาม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/278368
การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักศึกษาครูประถมศึกษาในเขตภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2024-11-29T17:47:36+07:00
มะนีวัน แก้วดวงดี
manivanh.noy@g.swu.ac.th
ขวัญ เพียซ้าย
Khawn@g.swu.ac.th
สุกัญญา หะยีสาและ
sukanya@g.swu.ac.th
เอนก จันทรจรูญ
anek@g.swu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนของนักศึกษาครูประถมศึกษาในเขตภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาครูประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ที่ศึกษาในหลักสูตรกรมสร้างครูประถม 2020 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สถาบันการศึกษาในเขตภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 55 คน ได้แก่ วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต จำนวน 15 คน วิทยาลัยครูสาละวัน จำนวน 20 คน และวิทยาลัยครูปากเช จำนวน 20 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยจำนวน 54 ข้อ มีค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 1.00 และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ของจำนวนครั้งและร้อยละของลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเรื่องเศษส่วน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเปรียบเทียบเศษส่วน ด้านการเรียงลำดับเศษส่วน ด้านการดำเนินการเศษส่วน และด้านการแก้โจทย์ปัญหา <br />ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการเปรียบเทียบเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 27.27 โดยลักษณะของมโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ พิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวเศษและการพิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวส่วน 2) ด้านการเรียงลำดับเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 32.72 โดยลักษณะของมโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ พิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวเศษและ การพิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวส่วน 3) ด้านการดำเนินการเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 52.71 โดยลักษณะของมโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ นำตัวเศษและตัวส่วนดำเนินการตามเครื่องหมายที่ปรากฏ และนำตัวส่วนคูณกันและนำตัวเศษดำเนินการตามเครื่องหมายที่ปรากฏ และ 4) ด้านการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 67.27 โดยลักษณะของ มโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ ตีความประโยคภาษาในโจทย์ปัญหาคลาดเคลื่อน</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มะนีวัน แก้วดวงดี, ขวัญ เพียซ้าย, สุกัญญา หะยีสาและ, เอนก จันทรจรูญ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/278211
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค THINK - PAIR - SHARE ที่เสริมสร้างความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2024-11-12T10:27:46+07:00
พรรณพร เฉลยจิตร์
pannapon.parin@g.swu.ac.th
เสริมศรี ไทยแท้
sermsri@g.swu.ac.th
ธีรศักดิ์ ฉลาดการณ์
teerasak@g.swu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ ทางคณิตศาสตร์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตอยู่ระหว่าง 4.00 - 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.00 - 0.49 เครื่องมือสำหรับการวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบย่อยวัดความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.44 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.85 และค่าความเชื่อมั่นในแต่ละฉบับเท่ากับ 0.68, 0.73 และ 0.74 ตามลำดับ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ 1 ฉบับ ซึ่งมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 - 0.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share พบว่า ทุกข้อมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 จากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 มีจำนวน 26 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 72.22 และจากการวิเคราะห์แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในแต่ละด้านพบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.28 ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.36 และด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.44 ซึ่งทั้ง 3 ด้าน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในส่วนของการทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ Z-test ที่ระดับนัยสำคัญ .05 พบว่า z_c > 1.645 จึงทำการปฏิเสธ H_0 สรุปได้ว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share ที่เสริมสร้างความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนผลการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก<br />ผลการวิจัยพบว่า มีจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และจากการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share พบว่า มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ซึ่งอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05<br /><br /><br /></p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 พรรณพร เฉลยจิตร์, เสริมศรี ไทยแท้, ธีรศักดิ์ ฉลาดการณ์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276588
การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP
2024-09-28T10:13:17+07:00
พิริยะ ปิยะรัตน์
piriya491@gmail.com
สมวงษ์ แปลงประสพโชค
drwongp@gmail.com
พรสิน สุภวาลย์
pornsin.s@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้อง รวม 65 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้อง รวม 32 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.99 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ตอนที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.85 และแบบทดสอบตอนที่ 2 แบบอัตนัย โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีการของ ครอนบาค เท่ากับ 0.80 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Paired - Sample t-test และ One-Sample t-test<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 พิริยะ ปิยะรัตน์, สมวงษ์ แปลงประสพโชค, พรสิน สุภวาลย์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276146
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารและการจัดการในภาวะวิกฤต ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานคร
2024-08-22T14:49:06+07:00
ฉัตรลดา ถิระธนมาศ
chatlada.tira@bumail.net
พรพรหม ชมงาม
pornprom.c@bu.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารภายในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก 2) ศึกษาการจัดการในภาวะวิกฤตภายในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารกับการจัดการในภาวะวิกฤตของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 230 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลการตรวจสอบความเชื่อมั่น 0.87 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) <br />ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า กลยุทธ์การสื่อสาร ด้านกระบวนการ การวางแผนการสื่อสาร สำคัญมากที่สุด เนื่องจาก องค์การมีโครงสร้างการสื่อสารที่ชัดเจน และองค์การมีการกำหนดแนวทางการสื่อสารที่เหมาะสม 2) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การจัดการภาวะวิกฤตของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ช่วงหลังภาวะวิกฤต สำคัญมากที่สุด เนื่องจากต้องมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ การสื่อสารมีผลต่อการจัดการในภาวะวิกฤตของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร ในระดับปานกลาง (r = .344**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยกลยุทธ์ด้านการสื่อสารข้อมูล มีความสัมพันธ์กับการจัดการในภาวะวิกฤตของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร ในระดับปานกลาง (r = .326**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ฉัตรลดา ถิระธนมาศ, พรพรหม ชมงาม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275885
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะการเขียนสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแผนผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2024-08-25T09:39:36+07:00
กันต์กนิษฐ์ พ่วงโพธิ์
piyawan.phu@vru.ac.th
เมษา นวลศรี
mesa@vru.ac.th
สุวรรณา จุ้ยทอง
Suwana@vru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแผนผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแผนผังกราฟิก กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแผนผังกราฟิก และ 4) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสื่อสารทางวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับด้านร่วมกับแผนผังกราฟิก กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนวัดพระพุทธฉาย จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ แผนผังกราฟิก ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 3) แบบประเมินทักษะในการเขียนสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างเดียว <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 หลังที่ได้รับจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) คะแนนเฉลี่ยทักษะ การเขียนสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังจากที่ได้รับจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) คะแนนเฉลี่ยทักษะ การเขียนสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังจากที่ได้รับจัดการเรียนรู้ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กันต์กนิษฐ์ พ่วงโพธิ์, เมษา นวลศรี, สุวรรณา จุ้ยทอง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/276455
การศึกษาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-09-04T14:50:25+07:00
บังอร เสรีรัตน์
onbsru@hotmail.com
นาฎฤดี จิตรรังสรรค์
dr.nadrudee@gmail.com
สมบัติ คชสิทธิ์
sombat@vru.ac.th
ประพรรธน์ พละชีวะ
prapat@vru.ac.th
ธัญวรัตน์ ปิ่นทอง
tanwarat@vru.ac.th
วิภาวดี แขวงเมฆ
vipavadee@vru.ac.th
รุ่งอรุณ วณิชธนะชากร
rungarun@vru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางและผลของการออกแบบ และการจัด การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของสถานศึกษา และ 2) จัดทำข้อเสนอ เชิงนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูสามารถออกแบบ และจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน โดยมี 8 โรงเรียนระดับประถมศึกษาใน 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสงขลา จังหวัดสระแก้ว และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสำรวจต้นทุนการทำงานของโรงเรียน แบบกรอกข้อมูลเรื่องการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ แบบสอบถามและสัมภาษณ์เรื่อง การดำเนินการในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและผลที่เกิดขึ้น และการสนทนากลุ่มการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะการเตรียมความพร้อม 2) ระยะปฏิบัติการของสถานศึกษาโดยการสนับสนุนของนักวิจัย และ 3) ระยะการเก็บข้อมูล วิเคราะห์และ สรุปข้อมูล จัดทำรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)<br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1. สถานศึกษาใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ จำนวน 8 แนวทาง ซึ่งเป็นแนวทางเดิม 5 แนวทาง โดยแนวทางใหม่ทั้ง 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนด้วยทฤษฎีพหุปัญญา แนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน บนความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียน โดยพบว่า สมรรถนะหลักที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดคือ สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม ผลลัพธ์มีดังนี้คือ ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลัก ทั้ง 6 สมรรถนะ และเกิดสมรรถนะเฉพาะในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ <br />2. ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ครูสามารถออกแบบ และจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนมีดังนี้คือ หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการควรดำเนินการดังนี้ 1) กำหนดนโยบายการจัดการศึกษาให้ชัดเจน 2) เตรียมผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดประสบการณ์ และผู้อำนวยความสะดวกเพื่อช่วยโรงเรียน และเปิดพื้นที่การเรียนรู้ จัดทำเอกสารและสื่อเผยแพร่ และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 4) สนับสนุนทรัพยากรสำคัญ 5) ติดตาม ประเมินผลการทำงาน และให้การช่วยเหลือสถานศึกษาในลักษณะต่าง ๆ 6) วิจัย ศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบกลไกควรดำเนินการดังนี้ 1) วิจัย ศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ 2) พัฒนาหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ 3) จัดเวทีถอดบทเรียนและจัดทำเอกสาร ส่วนสถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้ 1) สร้างแรงจูงใจบุคลากรในการทำงาน 2) สำรวจต้นทุนประสบการณ์การจัด การเรียนรู้ของบุคลากร และวางแผนต่อยอดสู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 3) กำหนดเป้าหมาย ในการพัฒนาผู้เรียน 4) จัดระบบกลไกสนับสนุนการดำเนินการ 4) เปิดรับความร่วมมือ จากภาคีเครือข่าย 5) สร้างแกนนำในการทำงาน 6) จัดระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 7) ติดตามผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ผู้ทำหน้าที่หนุนเสริม พี่เลี้ยง และโค้ชควรดำเนินการดังนี้ 1) เปิดช่องทางการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 2) เปิดโอกาสให้ผู้สอนได้นำประสบการณ์การทำงานไปบอกเล่า เผยแพร่ ขยายผล ต่อผู้อื่น</p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 บังอร เสรีรัตน์, นาฎฤดี จิตรรังสรรค์, สมบัติ คชสิทธิ์, ประพรรธน์ พละชีวะ, ธัญวรัตน์ ปิ่นทอง, วิภาวดี แขวงเมฆ, รุ่งอรุณ วณิชธนะชากร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/277798
อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการใช้ระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
2024-10-20T14:13:28+07:00
รุ่งทิวา โตกระจ่าง
peemai.rp@gmail.com
ศฐา วรุณกูล
Satha@mju.ac.th
ดลยา ไชยวงศ์
rjarndonlaya@outlook.com
กุลชญา แว่นแก้ว
kulchaya@mju.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้ระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการใช้ระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) ในการกำหนดกรอบในการศึกษาวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ (ข้าราชการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์) จำนวน 474 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบที t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ <br />ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และประสบการณ์ทำงานด้านงานสอบบัญชีที่แตกต่างกัน จะมีการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งานแตกต่างกัน การทดสอบความสัมพันธ์พบว่าการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งานมีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับทัศนคติที่มีต่อการใช้โดยผ่านการรับรู้ถึงประโยชน์ นอกจากนี้การรับรู้ถึงประโยชน์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้โดยผ่านทัศนคติที่มีต่อการใช้ อย่างไรก็ตามพบว่า พฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานระบบกระดาษ ทำการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์<br /> </p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 รุ่งทิวา โตกระจ่าง, ศฐา วรุณกูล, ดลยา ไชยวงศ์, กุลชญา แว่นแก้ว
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275929
แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
2024-10-26T15:11:10+07:00
มัสยมาศ รักษ์สาคร
mattsayamas@gmail.com
ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์
paweenwassa.p@satrinon.ac.th
ชนิดาภา งาเนียม
chanidanganiam@gmail.com
พัชมณฑ์ จงชนะชววัฒน์
patchamon.momo@gmail.com
อรวรา พิมพ์ศิริ
nmdwen@gmail.com
ณรงค์ธรรม ทองสุขแสงเจริญ
narongdhamm@satrinon.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และดัชนี ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญา 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญา โรงเรียน มัธยมขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 2,471 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 350 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎี พหุปัญญา ที่ผ่านการสังเคราะห์งานวิจัย จำนวน 18 หัวข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับที่ 0.973 และแบบสัมภาษณ์กำหนดประเด็นจากลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด 3 ลำดับแรก ประกอบด้วย ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญาด้านภาษา และปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)<br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1. ค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญาในภาพรวมเท่ากับ 3.46 และ 4.44 ส่วนดัชนีความต้องการจำเป็นที่มากที่สุดของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ตามทฤษฎีพหุปัญญา มีค่าเท่ากับ 0.379 คือ ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ รองลงมาคือ ปัญญาด้านภาษา ปัญญา ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง เท่ากับ 0.299, 0.283, 0.275 และ 0.232 ตามลำดับ<br />2. แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตามทฤษฎีพหุปัญญาจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 5 ท่าน โดยคัดเลือกด้านที่มีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) สูงสุด 3 อันดับแรกคือ ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์มี 5 แนวทาง ปัญญา ด้านภาษามี 8 แนวทาง ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มี 6 แนวทาง รวมทั้งสิ้น 19 แนวทาง <br /><br /><br /></p>
2024-12-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มัสยมาศ รักษ์สาคร, ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์, ชนิดาภา งาเนียม, พัชมณฑ์ จงชนะชววัฒน์, อรวรา พิมพ์ศิริ , ณรงค์ธรรม ทองสุขแสงเจริญ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/277523
ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริการของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดปัตตานี
2024-10-20T10:34:08+07:00
ชุติกาญจน์ พิทักษ์สาลี
kikku_meemee@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ในจังหวัดปัตตานี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และ อาชีพ 2) ศึกษา การบริการของสหกรณ์ในแต่ละด้านที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดปัตตานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดปัตตานี จำนวน 385 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คุณภาพของแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 68.9 มีอายุ 30 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.1 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 66.1 มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.4 ประกอบอาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 66.8 เมื่อทดสอบความพึงพอใจของสมาชิกต่อการบริการของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดปัตตานี พบว่า เพศที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อ การบริการของสหกรณ์ไม่มีความแตกต่าง ส่วน อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ ที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริการของสหกรณ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) พิจารณาการบริการของสหกรณ์ในแต่ละด้านที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดปัตตานี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด เป็นด้านอัธยาศัยไมตรี การเข้าถึงความรู้สึกของลูกค้า ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยต่ำสุด เป็นด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ชุติกาญจน์ พิทักษ์สาลี