วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var <p><strong>วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์</strong></p> <p>ISSN 3056-9419 (Print) <br />ISSN 3056-9427 (Online)</p> <p>กำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี <br />- ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน <br />- ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตของการตีพิมพ์</strong> <br /> เปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ได้แก่ บทความปริทัศน์บทความวิชาการ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความจากประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (การศึกษา สังคมศาสตร์ทั่วไป จิตวิทยาทั่วไป ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์) จากบุคลากรทั้งของมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป <br /> บทความที่จัดพิมพ์ในวารสารทุกบทความต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรอง (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง จากภายในและ/หรือภายนอกมหาวิทยาลัย ที่หลากหลายสถาบันและไม่สังกัดเดียวกันกับเจ้าของบทความ จำนวน 3 ท่าน ในรูปแบบ (<strong>Double-blinded Review</strong>) และหากตรวจสอบพบว่า มีการจัดพิมพ์ซ้ำซ้อนถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ประสานงานและผู้นิพนธ์ร่วม</p> th-TH <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ<br />มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์</p> tabianvru@hotmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิติกร อ่อนโยน) sumalee@vru.ac.th (สุมาลี ธรรมนิธา) Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความคิดเชิงออกแบบ: วิถีไทย STAR STEMS https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274605 <p>การนำความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และ STAR STEMS มาบูรณาการร่วมกันในการจัด การเรียนการสอนให้นักศึกษาในกรุงเทพและปริมณฑล เป็นการรวมแนวคิดที่มุ่งสู่การพัฒนาทักษะและการคิดสร้างสรรค์ โดยเน้นการสร้างแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมไทย การนำเสนอความคิดแบบ STAR STEMS ที่เน้นการพัฒนาทักษะ ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ และวิชาสังคมศาสตร์ ร่วมกับกระบวนการ Design Thinking ที่เน้นการวิเคราะห์และสร้างทางออกที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ ความต้องการของชุมชนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ของชุมชน และสังคมไทยอย่างเหมาะสมและมีความสอดคล้องกับภูมิปัญญาไทยได้ดี การบูรณาการทั้งสองแนวคิดนี้อาจเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมไทยในระยะยาวโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาและสร้างนวัตกรรมใหม่ในสังคมไทย</p> ภัทริยา งามมุข Copyright (c) 2024 ภัทริยา งามมุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274605 Fri, 23 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและกลยุทธ์อภิปัญญาฟังภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/270439 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษา ที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาการใช้กลยุทธ์อภิปัญญาการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษา ที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการฟังและการใช้กลยุทธ์ อภิปัญญาการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 142 คน ในปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี โดยการสุ่มเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแรงจูงใจในการฟังภาษาอังกฤษ และ 2) แบบสอบถามการใช้กลยุทธ์อภิปัญญาการฟังภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) <br />ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการฟังภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.25) และใช้กลยุทธ์อภิปัญญาฟังภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.61) เมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มกลยุทธ์ย่อยพบว่า นักศึกษาใช้กลยุทธ์แก้ปัญหาในการฟังเป็นลำดับแรก (ค่าเฉลี่ย 3.81) โดยแรงจูงใจในการฟังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลยุทธ์อภิปัญญาในการฟัง ด้านการตระหนักรู้ตนเอง (r = .210) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p &lt; .05<br /><br /></p> ธนกร สุวรรณพฤฒิ Copyright (c) 2024 ธนกร สุวรรณพฤฒิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/270439 Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ ให้แก่ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/268862 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพให้แก่ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 2) ศึกษาการทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพกับความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะจงกับประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามที่เคยเห็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ จำนวน 400 คน โดยแบบสอบถามออนไลน์มีความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.862 การทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.956 และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ โปสเตอร์มีขนาด A3 แนวตั้ง จำนวน 3 แบบ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ 2) ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 3) ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม <br />มีความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และ 4) การทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพกับความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.862 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01</p> จิตตมาศ พลีไพร, ดลฤดี ศรีมันตะ, กำพล ดวงพรประเสริฐ Copyright (c) 2024 จิตตมาศ พลีไพร, ดลฤดี ศรีมันตะ, กำพล ดวงพรประเสริฐ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/268862 Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/271166 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี ประชากรที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวันครู 2502 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ทั้งหมด 30 คน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำ จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ ทั้งฉบับมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) ใบความรู้และแบบฝึกหัด เรื่องชนิดของคำ ทั้งฉบับมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชนิดของคำ ทั้งฉบับได้ค่า IOC เท่ากับ 1.00 มีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.23 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.20-0.55 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมาก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีประสิทธิผล<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับ การเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.95/81.12 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี มีค่าเท่ากับ 0.7143 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.43 และ 3) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (M = 4.49, S. D. = 0.52) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล (M = 4.64, S.D. = 0.50) รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (M = 4.51, S.D. = 0.52) ด้านเนื้อหา เรื่อง ชนิดของคำ (M = 4.42, S.D. = 0.50) และด้านครูผู้สอน (M = 4.37, S.D. = 0.55) ตามลำดับ</p> สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม Copyright (c) 2024 สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/271166 Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273170 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ เกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสิงห์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน โดยใช้สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.82, S.D. = .31) (2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน เพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .75 และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนการสอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว<br />ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่า ก่อนได้รับการจัดการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 21.21, p = .001) (2) ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M = 23.83 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน, S.D. = 2.02, t = 8.83, p = .001) และ (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.52, S.D. = .69)</p> จิดาภา คงประดิษฐ์ , เมษา นวลศรี, อรสา จรูญธรรม Copyright (c) 2024 จิดาภา คงประดิษฐ์ , เมษา นวลศรี, อรสา จรูญธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273170 Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนรักษ์น้ำ เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273362 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนรักษ์น้ำ 2) พัฒนาและทดลองใช้ชุดกิจกรรม 3) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 4) เปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม และ 5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาริกา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50-1.00 ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.05/81.35 คู่มือครู มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50-1.00 แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50-1.00 ความยากง่ายตั้งแต่ 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.39-0.65 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ความยากง่ายตั้งแต่ 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.39-0.65 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และสถิติทดสอบค่าที (t-test) <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) จากข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนาชุดกิจกรรม มีการนำแหล่งน้ำในท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนรักษ์น้ำ ประกอบด้วย ชื่อชุดกิจกิจกรรม คำนำ คำแนะนำ คู่มือครู บทบาทครู บทบาทนักเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ใบความรู้และใบกิจกรรม 3) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เท่ากับ 82.05/81.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 4) ความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> พรภิรมย์ หลงทรัพย์, พิริยพงศ์ จำปีทอง , รสริน เจิมไธสง Copyright (c) 2024 พรภิรมย์ หลงทรัพย์, พิริยพงศ์ จำปีทอง , รสริน เจิมไธสง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273362 Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค TGT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/272611 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค TGT 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค TGT กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค TGT ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 11 ห้อง รวม 450 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จำนวนทั้งสิ้น 4 แผน เวลา 10 ชั่วโมงมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.98 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การแยก ตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตอนที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) เท่ากับ 0.85และแบบทดสอบตอนที่ 2 แบบอัตนัย โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ( Alpha coefficient) ตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.72 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที <br />ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบ ของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนหลังได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนหลังได้รับ การสอนโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค TGT สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการสอนโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค TGT พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก (M = 4.39 S.D. = 0.05)</p> นฤมล บุญลาภ, สมวงษ์ แปลงประสพโชค, พรสิน สุภวาลย์ Copyright (c) 2024 นฤมล บุญลาภ, สมวงษ์ แปลงประสพโชค, พรสิน สุภวาลย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/272611 Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของสมรรถนะ การวัดและประเมินผลของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/271967 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของสมรรถนะ การวัดและประเมินผลของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 200 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดให้ปีการศึกษาเป็นชั้น โดยมีปีการศึกษา 2563-2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) รายข้อ ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.559-0.812 มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.971 และเมื่อแยกรายองค์ประกอบมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.898 ถึง 0.963 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่า KMO (Kaiser-Meyer-Olkin) ค่า Bartlett’s Test of Sphericity และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง <br />ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการวัดและประเมินผลของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และคุณลักษณะ และ 8 ตัวบ่งชี้ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดย พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน คือ Chi-square = 12.90, df = 10, Chi-square/df = 1.29, p-value = 0.22908, RMSEA = 0.038, CFI = 0.998, SRMR = 0.0226, GFI =0.984 , AGFI =0.943 แต่ละองค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.820 ถึง 1.000 แต่ละตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.823 ถึง 0.939</p> กันต์ฤทัย คลังพหล , วัสส์พร จิโรจพันธุ์ Copyright (c) 2024 กันต์ฤทัย คลังพหล , วัสส์พร จิโรจพันธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/271967 Fri, 19 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป สำหรับชั้นเรียนคละอายุ โรงเรียนวัดท่า จังหวัดชัยนาท https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274470 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมทางสังคมของ เด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 4-5 ปี และระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ 5-6 ปี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่จัดชั้นเรียนแบบคละอายุ โรงเรียนวัดท่าในจังหวัดชัยนาท จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ จำนวน 24 แผนซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 1.00 และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการร่วมมือ และด้านการแบ่งปัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 1.00 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที ในช่วงกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไค-สแควร์<br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ มีความสัมพันธ์กัน ทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้าน <br />2. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ<br /><br /></p> เสาวลักษณ์ สีตะบุษย์ , ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์, ศุภวรรณ์ เล็กวิไล Copyright (c) 2024 เสาวลักษณ์ สีตะบุษย์ , ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์, ศุภวรรณ์ เล็กวิไล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274470 Mon, 05 Aug 2024 00:00:00 +0700 การนำเสนอภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ ผ่านรายการโทรทัศน์ “ครัวคุณต๋อย” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273740 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มีความเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้และถูกนำเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ครัวคุณต๋อย 2) ศึกษากระบวนการในการถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ผ่านทางรายการโทรทัศน์ครัวคุณต๋อย 3) ศึกษาบทบาทของรายการโทรทัศน์ “ครัวคุณต๋อย” ในการทำหน้าที่สร้าง “ภาพแทน” ด้านภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ครัวคุณต๋อยในส่วนที่มีความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ ซึ่งออกอากาศในช่วง 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 <br />ผลการวิจัยพบว่าในช่วงที่ทำการศึกษา มีเนื้อหารายการที่สัมพันธ์กับภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้และถูกนำเสนอออกอากาศในรายการครัวคุณต๋อยทั้งสิ้น 83 ตอน และสามารถจำแนกภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ที่นำเสนอในรายการออกได้เป็น 11 ประเภทหลัก ได้แก่ ประเภทแกงเผ็ด ประเภทแกง ประเภทต้ม ประเภทผัด ประเภททอด ประเภทคั่ว ประเภทยำ ประเภทย่าง ประเภทน้ำพริก ประเภทของหวานหรือของว่าง และประเภทอื่น ๆ และเมื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์กับมิติต่าง ๆ พบว่า ภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ที่นำเสนอในรายการครัวคุณต๋อย จะสัมพันธ์กับความเป็นบริบทสังคมภาคใต้ ใน 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ความสัมพันธ์กับศาสนา 2) ความสัมพันธ์กับเชื้อชาติ และ 3) ความสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์<br />ด้านกระบวนการการผลิตรายการและการถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ พบว่า รายการโทรทัศน์ครัวคุณต๋อยจะคัดเลือกเมนูอาหารอย่างเข้มข้นก่อนนำมาออกอากาศ และ นำภูมิปัญญาอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว พร้อมผู้ประกอบเมนูนั้นมาร่วมพูดคุยในรายการ เพื่อเล่าที่มา ความน่าสนใจ เคล็ดลับในการปรุง ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ โดยพิธีกรทั้งสามคนของรายการจะร่วมกันชิมอาหารพร้อมกับสื่อสารในเรื่องรสชาติ ไปยังผู้ชมด้วยคำพูดและการใช้ประสาทสัมผัส ในการรับประทานเพื่อยืนยันถึงความอร่อยของเมนูที่นำมาออกอากาศ ทั้งนี้รายการจะให้ความสำคัญกับการสื่อสารด้านภาพไปยังผู้ชม ด้วยการใช้มุมภาพ ขนาดภาพ ลักษณะภาพ และเทคนิคการลำดับภาพ ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวของทางรายการเอง<br />เมื่อศึกษาถึงบทบาทของรายการโทรทัศน์ “ครัวคุณต๋อย” ในการทำหน้าที่สร้าง “ภาพแทน” ด้านภูมิปัญญาอาหารถิ่นใต้ พบว่ามีบทบาทดังนี้ 1 ) บทบาทในการถ่ายทอดความรู้ด้านอาหาร 2 ) การสืบทอดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหาร 3 ) การสอนวิธีการทำอาหาร 4 ) การสร้างประสบการณ์เรื่องรสชาติอาหาร 5 ) การสร้างและเผยแพร่ความแปลกใหม่ 6) การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร้านอาหาร 7 ) การส่งเสริมอาชีพซึ่งสัมพันธ์กับอาหาร 8 ) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านความเป็นไทยที่ทันสมัยสู่สากล 9 ) การสร้างต้นแบบเพื่อนำไปสู่การเป็น Soft Power ด้านอาหารของประทศไทย และ 10 ) บทบาทในการสร้างความบันเทิง<br /><br /></p> ทีปวิท พงศ์ไพบูลย์ Copyright (c) 2024 ทีปวิท พงศ์ไพบูลย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273740 Mon, 05 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคอัลฟ่า https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274233 <p>การวิจัยเรื่องการศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคอัลฟ่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคอัลฟ่า 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม 2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม 3) ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะและ ความปลอดภัย 4) ด้านการประเมินพฤติกรรมสุขภาวะและความปลอดภัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี เขต 2 จำนวน 120 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.87 ทั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />จากผลการวิจัยพบว่า ครูปฐมวัยมีการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.15, S.D. = 0.93) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.62, S.D. = 0.60) ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัย ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.60, S.D. = 0.63) ด้านการสังเกตวัดประเมินพฤติกรรมสุขภาวะและความปลอดภัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.20, S.D. = 1.08) และด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.19, S.D. = 1.42) ตามลำดับ</p> คันธรส ภาผล Copyright (c) 2024 คันธรส ภาผล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274233 Sun, 11 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิด สะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273066 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์<br />ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) เปรียบเทียบผลของการประเมินความคิดสร้างสรรค์ ภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนประสิทธิวิทยาฯ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ที่จัด การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา จำนวน 8 แผน เวลา 16 ชั่วโมง ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมาก (M = 4.10 - 4.40) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และ 3) แบบประเมินโครงงานเพื่อวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยมีการวัดประเมิน 4 ด้าน คือ (1) ด้านความคิดคล่องแคล่ว (2) ด้านความคิดยืดหยุ่น (3) ด้านความคิดริเริ่ม และ (4) ด้านความคิดละเอียดลออ ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด (M = 4.00 - 5.00) 2) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และกลุ่มตัวอย่างเดียว<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M = 22.33 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน, S.D. = 2.06 และ t = 20.904) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M = 22.33 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน, S.D. = 2.06 และ t = 2.242) และ 3) ผลของการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M = 13.08 จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน, S.D. = 1.62 และ t = 4.024) </p> สำรวย ลายตลับ, เมษา นวลศรี, สุวรรณา จุ้ยทอง Copyright (c) 2024 สำรวย ลายตลับ, เมษา นวลศรี, สุวรรณา จุ้ยทอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/273066 Mon, 19 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275619 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีรูปแบบการศึกษา<br />เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลคือ อาจารย์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการศึกษาข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการจัด การเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 3.67-5.00 ประชากร คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) <br />ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูมีความจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการจัด การเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาของวรรณคดีไทยรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบด้านสภาพการณ์ของการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย และ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified 0.11) รองลงมาคือ ด้านการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (PNImodified 0.09) และอันดับที่ 3 คือ ด้านการวัดและประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย (PNImodified 0.06)</p> หนึ่งฤทัย ชวนะลิขิกร , จันทร์จิรา หาวิชา Copyright (c) 2024 หนึ่งฤทัย ชวนะลิขิกร , จันทร์จิรา หาวิชา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275619 Mon, 19 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความภักดีของลูกค้า ในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports ในกรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274866 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการและระดับความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพการให้บริการกับความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม มีระดับความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .978 โดยค่าระดับความเชื่อมั่นแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านคุณภาพการบริการมีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .981 และด้านความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .974 กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเคยซื้อสินค้าในร้าน Supersports จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็นแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในกการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน <br />ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณภาพการบริการของร้าน Supersports มีระดับความคิดเห็น ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 (S.D.=.861) และระดับความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 (S.D.=.652) และเมื่อทำการทดสอบ ด้วยสถิติการสหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับสูง ทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศรินธร ไชยรัตน์ Copyright (c) 2024 ศรินธร ไชยรัตน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274866 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 กลวิธีทางภาษาที่ใช้สร้างความขบขันในการทำนายดวงชะตา ของเฟซบุ๊กแฟนเพจโหรรัตนโกสินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/270945 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาเพื่อสร้างความขบขันที่ปรากฏ ในการทำนายดวงชะตา โดยการเก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กแฟนเพจโหรรัตนโกสินทร์ - The rattanakosin ที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 116 ข้อความ ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีทางภาษาที่ใช้สร้างความขบขันประกอบด้วยกลวิธีทางภาษา ระดับคำและกลวิธีทางภาษาระดับข้อความ โดยที่กลวิธีทางภาษาระดับคำพบ 4 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำพ้อง การซ้ำคำ การใช้คำภาษาถิ่น และการใช้คำสัมผัส ส่วนกลวิธีทางภาษาระดับข้อความ พบ 7 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำเสียดสี การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การใช้ถ้อยคำเชิงเปรียบเทียบ การกล่าวเกินจริง การอ้างถึง การดัดแปลงสำนวน และการใช้เนื้อเพลงประกอบคำทำนาย ซึ่งกลวิธีดังกล่าวทำให้เนื้อความน่าสนใจ ชวนติดตาม และยังสะท้อนให้เห็นถึงถ้อยคำภาษาที่สื่อถึง ความขบขัน เพื่อแฝงเจตนาประชดประชันและเสียดสี</p> สุพรรณี เรืองสงค์, พิชญาณี เชิงคีรี ไชยยะ Copyright (c) 2024 สุพรรณี เรืองสงค์, พิชญาณี เชิงคีรี ไชยยะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/270945 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนตามอัตลักษณ์เขา ป่า นา เล จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/272723 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนตามอัตลักษณ์ เขา ป่า นา เล จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ประเมินการรับรู้ผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนและความพึงพอใจการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนของผู้บริโภค งานวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ประกอบการร้านขนมจีนในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 11 ร้าน และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคขนมจีน จำนวน 386 คน ใช้เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ และแบบสอบถามออนไลน์ ได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามหรือ The Item Objective Congruence (IOC) มากกว่า 0.50 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ลงพื้นที่สัมภาษณ์/ สังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้แบบสอบถามความต้องการผู้บริโภค ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนแบบผู้ประกอบการร้านขนมจีนมีส่วนร่วม และขั้นตอนที่ 3 การประเมินการรับรู้และความพึงพอใจการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ สอบถามผู้ประกอบการร้านขนมจีนและผู้บริโภค<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้านขนมจีนแต่ละร้านได้ร่วมพัฒนาและสื่อสารคุณค่าของผักเหนาะของแต่ละโซนพื้นที่เขา ป่า นา เล ผ่านแพลตฟอร์มผักเหนาะขนมจีนออนไลน์ ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลกับป้ายสื่อสารสรรพคุณของผักเหนาะ นอกจากนี้ ในการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ยังมีการสื่อสารรูปแบบกิจกรรมเชิงการท่องเที่ยวเชิงอาหาร “กิน-เที่ยว-ธรรม” และภูมิปัญญาการรับประทานขนมจีนกับผักเหนาะ และ 2) การประเมินการรับรู้และความพึงพอใจการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการ และผู้บริโภคขนมจีน พบว่า ผู้ประกอบการสะท้อนว่า ผู้บริโภครู้จักผักเหนาะและคุณค่าผักเหนาะเพิ่มมากขึ้น สนใจรับประทานผักเหนาะเพิ่มขึ้นจากการซักถามของผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกัน การจัดทำป้ายให้ข้อมูลที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ความรู้เรื่องผักเหนาะ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการรับรู้ครั้งนี้ สำหรับผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะ อยู่ในระดับ ปานกลาง และเป็นข้อสังเกตว่า ผู้รับประทานผักเหนาะช่วงอายุน้อยจะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ</p> กรกฎ จำเนียร, เมธาวี จำเนียร, ทองพูล มุขรักษ์, ศศิพัชร บุญขวัญ, นิภารัตน์ นักตรีพงศ์ Copyright (c) 2024 กรกฎ จำเนียร, เมธาวี จำเนียร, ทองพูล มุขรักษ์, ศศิพัชร บุญขวัญ, นิภารัตน์ นักตรีพงศ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/272723 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275709 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ การเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สอนรายวิชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของวิทยาลัยนาฏศิลปแห่งละ 1 คน รวม 12 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยืนยันข้อมูลโดยใช้เทคนิค เดลฟาย (Delphi) 2) แบบประเมินการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ การเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอล์ไทล์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) แบบการวิเคราะห์สารระบบ (Taxonomy Analysis) <br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1. รูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การค้นพบสภาพการณจริง กิจกรรมที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (การตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง) กิจกรรมที่ 3 การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง และกิจกรรมที่ 4 การคงไวซึ่งการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ<br />2. ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้เรียนมีสภาพการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.51, S.D. = 0.49)<br />3. ภายหลังการทำกิจกรรมในการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเสริมพลังอำนาจ ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.60, S.D. = 0.55) โดยผู้เรียนคิดว่ารูปแบบการเสริมพลังอำนาจทำให้นักศึกษามีแนวทาง การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น<br /><br /></p> ราชวงศ์ นวลอินทร์ Copyright (c) 2024 ราชวงศ์ นวลอินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/275709 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/254034 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อม ศักยภาพ และปัญหาเกี่ยวกับ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี 2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และ 3) ประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอ ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยมีการเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 51 คน ที่ทำการเลือกแบบเจาะจงและแบบสโนว์บอลล์ (Snowball sampling) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน ที่ทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์จำนวน 2 ฉบับ ที่มีค่าความเที่ยงตรง อยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 ร่วมกับแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 และ มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.97 โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />ผลการวิจัย พบว่า<br />1. สภาพแวดล้อม ศักยภาพ และปัญหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี พบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำหรับผู้สูงอายุ ควรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่แสดงถึงเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของจังหวัดปทุมธานี อาทิเช่น ทุ่งนามอญ ทั้งนี้ ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี คือ 1) การไม่มีแนวทางการพัฒนา การท่องเที่ยวเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานีที่ชัดเจน 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และชุมชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุที่ชัดเจน<br />2. เสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พบว่าทุ่งนามอญเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นการอนุรักษ์ วิถีชาวมอญของคนชุมชน กิจกรรมท่องเที่ยวของ ทุ่งนามอญประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับความเป็นมอญ 2) กิจกรรมการท่องเที่ยวเกี่ยวกับเชิงเกษตรและธรรมชาติ และ 3) กิจกรรมการท่องเที่ยวทั่วไป โดยแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคือการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงรายละเอียดตามมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย (มทท.310 : 2555) เรื่องการบริการนักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์ <br />3. การประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M = 4.40, S.D. = 0.64) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด<br /><br /></p> อมรรักษ์ สวนชูผล, ปรัชญพัชร วันอุทา, สิรินดา คลี่สุนทร, ธัชชัย อินทะสุข Copyright (c) 2024 อมรรักษ์ สวนชูผล, ปรัชญพัชร วันอุทา, สิรินดา คลี่สุนทร, ธัชชัย อินทะสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/254034 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการแสดงดนตรีสนาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274826 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกายตามแนวทาง ของการเต้นบัลเลต์ และ 2) สร้างสรรค์ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายให้เหมาะสมกับบทเพลงสำหรับ การแสดงดนตรีสนาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาพื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกายตามแนวทางของ การเต้นบัลเลต์ ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักวิธีการของสถาบันบัลเลต์ Royal Academy of Dance ประเทศอังกฤษ โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกท่าพื้นฐานทั้งหมด 6 ท่าที่เหมาะสำหรับนักดนตรีที่ต้องถือเครื่องดนตรีเพื่อบรรเลงพร้อมกับทำท่าเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยท่าพื้นฐานดังกล่าวเน้นการใช้การเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนของขาและเท้าเป็นหลัก ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพเสียง และช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ ในระหว่างแสดงให้กับนักดนตรี และ 2) การสร้างสรรค์ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายให้เหมาะสมกับ บทเพลงสำหรับการแสดงดนตรีสนาม การวิเคราะห์บทเพลง Vimaya Deva พบว่า ในตอนย่อยที่ 4 ของบทเพลงมีทำนองดนตรีอีสานเด่นชัดมากในท่อนนี้ ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ท่า ด้วยการเลียนแบบท่าเซิ้ง โดยการชี้ปลายเท้ามาด้านหน้าในลักษณะเหยียดขาตรงแล้วขยับสะโพก ขึ้นลงตามจังหวะเพลง ซึ่งสอดคล้องกับพื้นฐานบัลเลต์ในท่ายืดขาชี้เท้า เนื่องจากท่านี้มีความเหมาะสมกับลักษณะการบรรเลงที่หันปากลำโพงเครื่องดนตรีมาด้านหน้า เพื่อส่งเสริมให้ทำนองมีความโดดเด่นมากกว่าแนวเสียงอื่น ๆ ลดการสั่นของเสียง และทำให้การบรรเลงทำนองมีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น</p> ประพันธ์ศักดิ์ ปานเสียง, ศรัณย์ นักรบ Copyright (c) 2024 ประพันธ์ศักดิ์ ปานเสียง, ศรัณย์ นักรบ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/274826 Wed, 21 Aug 2024 00:00:00 +0700 ภาพตัวแทนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและสภาวการณ์เรื่องเล่าที่ปรากฏในรวมเรื่องสั้นของโครงการ “อ่านยาใจ” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/268771 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้ป่วยซึมเศร้าและสภาวการณ์เรื่องเล่า โดยศึกษาจากรวมเรื่องสั้นของโครงการ “อ่านยาใจ” ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 ด้วยแนวคิดเรื่องภาพตัวแทน <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพตัวแทนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ สาเหตุและที่มาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และอาการทางร่างกายของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยภาพตัวแทนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ปรากฏมากที่สุด ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะต้องพบกับการสูญเสีย 2) สภาวการณ์เรื่องเล่า สามารถแบ่งได้ 5 ลักษณะ โดยเรียงลำดับที่ปรากฏจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ผู้เล่าเรื่องชั้นในแบบสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายใน ผู้เล่าเรื่องชั้นนอกแบบอสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายใน ผู้เล่าเรื่องชั้นนอกแบบอสัมพันธ์ไร้มุมมอง ผู้เล่าเรื่องชั้นนอกแบบอสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายนอก และผู้เล่าเรื่องชั้นในแบบอสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายใน ตามลำดับ</p> สิริวิทย์ สุขกันต์ Copyright (c) 2024 สิริวิทย์ สุขกันต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/268771 Thu, 22 Aug 2024 00:00:00 +0700