@article{ป้องศิริ_คำอ่อน_จันทาคำ_2022, title={พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย}, volume={6}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/251428}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน สถิตที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่สั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 70.13 มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 48.83 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 50.54 และมีรายได้ต่อเดือน เท่ากับ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 31.95</p> <p><strong>      </strong>ในด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าผู้บริโภคสั่งอาหารผ่านโมบายแอปพลิเคชันสูงสุด คือ Food Panda ร้อยละ 31.17 ประเภทอาหารที่นิยมสั่ง คือ ฟาสส์ฟู้ด ร้อยละ 24.68 ช่วงเวลาที่สั่งอาหารส่วนใหญ่เวลา 10.01-12.00 คิดเป็นร้อยละ 31.17 และ จำนวนเงินที่สั่งแต่ละครั้ง คือ ต่ำกว่า 100 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.09</p> <p>ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.39,  S.D. = 0.37)  โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.52 , S.D. = 0.24)</p> <p>ผลการทดสอบความแปรปรวน พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันฯ ในด้านจำนวนเงินที่สั่งซื้อต่อครั้ง มีค่า Probability (Prob.) เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 หมายความว่า ค่าความแปรปรวนของเพศชายและเพศหญิง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> พฤติกรรมผู้บริโภค การตัดสินใจสั่งอาหาร,  โมบายแอปพลิเคชัน,อำเภอเมือง จังหวัดเลย</p> <p> </p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา}, author={ป้องศิริ ยุพิน and คำอ่อน ดวงเดือน and จันทาคำ พิมพ์ใจ}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={125–131} }