TY - JOUR AU - wattanasin, Wanwisa AU - จันทร์นาม, อาคม AU - พ้องเสียง, ประสิทธิ์ AU - หวานใจ, บัญชา AU - สิทธิจันทร์, ชกรณ์เกียรติ PY - 2022/12/28 Y2 - 2024/03/28 TI - รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา เพื่อลดจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน ของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด JF - วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา JA - วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา VL - 6 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/260417 SP - 104-112 AB - <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา เพื่อลดจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน ของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด (2) ศึกษาผลการใช้งานรูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 จำนวน 1,145 คน และนักศึกษาชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 จำนวน 1,042 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา เพื่อลดจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน ของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 1. ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การวิเคราะห์นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษา และครูผู้สอน 2. กระบวนการติดตามดูแลนักเรียน นักศึกษา เพื่อช่วยลดจำนวนออกเรียนกลางคัน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) การเช็คชื่อกิจกรรมหน้าเสาธง 2) การเช็คชื่อเข้าเรียนรายวิชา 3) การให้ และตัดคะแนนความประพฤติ 4) กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้เรียน 5) การติดตามนักเรียน นักศึกษาในความดูแล 6) การประสานงานกับผู้ปกครอง 3. ประเมินจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน 4. ข้อมูลป้อนกลับจากกระบวนการติดตามดูแลนักเรียน นักศึกษา การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่าน แบ่งออกเป็นทางการศึกษา และทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (&nbsp;= 4.43, S.D.= 0.50) และผลการใช้งานรูปแบบ พบว่า ปีการศึกษา 2564 นักเรียน นักศึกษาระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ออกเรียนกลางคันลดลงเหลือร้อยละ 36.42, 13.53 ตามลำดับ</p> ER -