การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อมรรักษ์ สวนชูผล
สอาด บรรเจิดฤทธิ์
ลลิดา แก้วฉาย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานี 2 ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานี และ3 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแรงานต่างด้าวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ประชากร คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานี โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบก้อนหิมะควบคู่กัน จำนวน 403 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานี  จากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานี จากการสัมภาษณ์และสอบถามความคิดเห็นด้วยแบบสัมภาษณ์ และด้วยแบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแรงานต่างด้าวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนจากการสนทนากลุ่มและการสอบถามความคิดเห็นด้วยแบบสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้สถิติคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test  ค่าF-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1 สภาพและปัญหาแรงงานต่างด้าว ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานหรืออาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี มีจำนวน 185,862 คน โดยทำงานหรืออาศัยอยู่ในชุมชนหรือพื้นที่บริเวณตลาดไทและคลองหลวงมากที่สุด มีการทำงานประเภทงานรับจ้าง เช่น การแบกหาม การขนย้ายสิ่งของหรือสินค้า ความเป็นอยู่มีการอยู่แบบรวมกันเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน และมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับชุมชนไม่มากนัก ซึ่งมิติของกระบวนการจัดหา การทำงาน และการสิ้นสุดการทำงานของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานีนั้น ชุมชนหรือบุคคลที่เป็นตัวแทนของชุมชนและส่วนราชการ(ส่วนท้องถิ่น)ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่าใดนัก แต่ส่วนราชการ(ส่วนกลาง)จะมีส่วนเกี่ยวข้องมากกว่า โดยจะเป็นไปในลักษณะของการออกกฏเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ สถานประกอบการหรือนายจ้างก็จะมีการติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และข้อบังคับของสำนักงานจัดหาแรงงานจังหวัด เช่น การแจ้งประวัติและต่อสัญญาของแรงงานต่างด้าวตามระยะเวลาที่กำหนด และการควบคุมดูแลความเป็นอยู่และความประพฤติของแรงงานต่างด้าวที่ตนเองรับผิดชอบ ส่วนปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานีสามารถแบ่งออกได้ 2 ด้าน คือ 1) ด้านการหางานทำยากหรือการตกงานมากขึ้นของคนในชุมชน และ 2) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชน โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในชุมชนจะเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 4 ประการ คือ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม การไม่รู้ระเบียบหรือกฏเกณฑ์ทางสังคม พฤติกรรมส่วนตัวของแรงงานต่างด้าวเอง และการไม่ควบคุมดูแลของนายจ้างหรือสถานประกอบการ

         2 การมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า  ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย (= 2.05, S.D. = 0.51) ซึ่งบุคคลที่ควรเป็นตัวแทนแต่ละภาคส่วนในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ  ประกอบด้วย 1) ชุมชนหรือบุคคลที่เป็นตัวแทนของชุมชน ได้แก่ ตัวแทนชุมชน  นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายกองค์การบริหารตำบล 2) ส่วนราชการ(ส่วนกลาง) ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน  สำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี  ศูนย์บริการจดทะเบียนแบบเบ็ดเสร็จ  กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และด่านตรวจคนเข้าเมือง  กรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3)ส่วนราชการ(ส่วนท้องถิ่น) ได้แก่ อำเภอและองค์การบริหารส่วนตำบล และ 4) สถานประกอบการหรือนายจ้างที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานต่างด้าว ได้แก่ ทุกสถานประกอบการหรือนายจ้างที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานต่างด้าว

         3 รูปแบบการบริหารจัดการแรงานต่างด้าวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

ประกอบด้วย ด้านกระบวนการจัดหา 19 ข้อ ด้านการทำงาน 19 ข้อ และด้านการสิ้นสุดการทำงาน  19 ข้อ ซึ่งจากการนำไปตรวจสอบความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ในการนำไปปฎิบัติโดยรวม ในแต่ละด้านและแต่ละข้อพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการแรงานต่างด้าวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดปทุมธานี มีความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ในการนำไปปฎิบัติสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

The purposes of this research were 1 to study general situation and problems of foreign workers in Pathumthani province, 2 to study community participation in managing foreign workers in Pathumthani  province,  and 3 to develop the foreign workers  administrative model by community participation in Pathumthani province. The  purposive sampling and snowball sampling of  sample  were 403 from   population is a stakeholder about foreign worker’s  in Pathumthani Province. This research was classified into 3 steps; Step 1 studying general situation and the problems of foreign workers in Pathumthani province with interviewing by interview form. Step 2 studying the community participation in managing process of foreign workers administration in Pathumthani province with interviewing and questionnaires  by interview form  and  questionnaires . Step 3 development of foreign worker administrative model by community development in Pathumthani province with discussion  and questionnaire  by subject of focus group and  questionnaires . The data were analyzed by frequency, percentage, mean ,Standard deviation, t-test and F-test together with content analysis.

            The research findings were as below

1      The general situation and the problem of foreign workers in Pathumthani province were found that the number of foreign workers resided in the province were 185,862 people, most of them are working in Talardthai and residing in Klongluang district. The type of job was a contracted worker whose working in carrying on the back and material forwarding. The living condition was a grouping resident. The relationship with community was in minimum level. The local community participation in foreign worker recruiting, working, and termination of employment was very little. However, the central government officers are more involved in issuing the regulations for foreign workers to comply the state laws. Establishments or employers are always following up state information and complying regulations of provincial employment office such as personnel record submitting,  employment contract renewal as identified by laws and controlling or managing of their living condition and individual behaviors. Two problems of foreign workers in Pathumthani province were found 1) increasing of unemployment of local people, and 2) safety in life and property of community. Most of the problem related to safety issue that caused by 4 factors namely; cultural differences, lack of knowledge on social norms, personal behavior, and poor managing of employers.

2      Community participation in managing of foreign worker administration processes in Pathumthani province was found that the level of community participation in managing foreign workers was in lower level (x = 2.05, S.D. = 0.51), community representatives in managing processes of foreign worker administration are 1) local community representatives are chief district officer, headman, assistant headman, village headman, and chief of sub-district administrative organization officer, 2) central government representatives are Ministry of Labour, Department of Employment, Pathumthani Employment Office, Foreign Worker Registration Office, Ministry of Public Health, National Police Bureau, Immigration Office, and Department of Social Development and Human Security, 3) local government representatives are District Office, Sub-district Administrative Organization, and 4) Establishment or employers who are hiring of foreign workers, all are recommended to be representative of local government.

The foreign worker administrative model by community participation in Pathumthani province comprised of 19 recruiting processes, and 19 termination of employment processes. From suitability assessment, possibility in total implementation in each perspective, it was found that the foreign worker administrative model by community participation in Pathumthani province is suitable, possibility in implementation is higher than described criteria at statistical significant level of 0.5.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อมรรักษ์ สวนชูผล

อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สอาด บรรเจิดฤทธิ์

อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด

ลลิดา แก้วฉาย

อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

References

กรมการจัดหางาน .(2557). วารสารสถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2557. 17พฤศจิกายน 2557. http://wp.doe.go.th/wp/index.php/2013-07-25-03-45-44 /2013 -07-25-03-50-28/2013-07-25-04-56-45

กิตติชัย ปัญญาวัน และจตุพร เสถียรคง. (2556).ชุมชนกับการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาบ้านต้นโชค ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

กุศล สุนทรธาดา และอุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2540). กระบวนการจ้างแรงงานที่ลักลอบเข้าเมือง และความคิดเห็นของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

เจริญศิลป์ อินต๊ะผัด และคณะ .(2553). คู่มือด้านสิทธิและหน้าที่แรงงานข้ามชาติ(สำหรับผู้ปฏิบัติงาน). กรุงเทพฯ : องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)

ธิดา ปรุงเกียรติ. (2549). การนำนโยบายควบคุมโรคในแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ. ปริญญานิพนธ์ รป.ม.(นโยบายสาธารณะ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2550). โครงการวิจัยการเพิ่มผลิตภาพกำลังแรงงานอาเซียน.กรุงเทพฯ:สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูมิเบศร์ ทองคำสุก. (2550). การเปรียบเทียบต้นทุน ประสิทธิภาพ และปัญหาของการใช้แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยในโครงการก่อสร้างอาคารสูงของกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การจัดการ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มรกต คงสมพรต .(2545). นโยบายผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2552). การทบทวนนโยบาย ยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการและแรงกดดันในการนำเข้าแรงงานข้างชาติของประเทศไทย. กรุงเทพฯ :สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค.

สุพัตตรา ธิมาคำ และ บงกชมาศ เอกเอี่ยม .(2554). แนวคิดและแนวทางการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติพม่า: บทบาทภาครัฐและภาคประชาสังคมในระดับท้องถิ่นกับการบริหารจัดการอย่างเป็นธรรม . การประชุมวิชาการการพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมล ถาวรวสุ. (2557, ตุลาคม 24). การสัมภาษณ์ โดย อมรรักษ์ สวนชูผล(บันทึกเทป). สำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี

Allan Beesey. (2004). Thailand : Improving the Management of Foreign Workers : Case studies of five industrial sectors. Bangkok: International Organization for Migration.

Thurow ,C, Lester .(1970). Investment in Human Capital. Wadsworth Publishing Company.

Yacob, Peter. (2012). The Impact of Employment of Foreign Workers :Local Employability and Trade Union Roles in Malaysia . International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences.