https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/issue/feed วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2024-10-22T14:03:15+07:00 รศ.ดร.ปุณยนุช นิลแสง rdi_journalsci@vru.ac.th Open Journal Systems <p>เป็นวารสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานบทความวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป ส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบัน ได้แก่ อาหาร วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ <br />ISSN: 3027-7353 (Online)</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267978 การพัฒนาเจลลดปวดเข่าตำรับสมุนไพรป้าป้อสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 2024-01-03T14:15:52+07:00 ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร chanitapr@nu.ac.th มารุต แก้ววงศ์ maroot.ka@up.ac.th ศิรายุทธ พัฒนโสภณ sirayuth.pa@up.ac.th <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อการพัฒนาเจลลดปวดเข่าตำรับสมุนไพรป้าป้อสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งถูกพัฒนามาจากผงพอกเข่าที่ผู้บริโภคไม่พึงพอใจต่อกลิ่น เนื้อสัมผัสและบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการพัฒนาเจลประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษาสารประกอบรวมฟินอล (Total Phenolic Compound) ของสมุนไพรแต่ละชนิดด้วยวิธี Folin-Ciocalteau Method และศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรตำรับ และสมุนไพรเดี่ยวแต่ละชนิด โดยวิธี DPPH Assay 2) พัฒนาเจลลดปวดเข่าจากตำรับสมุนไพรป้าป้อ 3) ทดสอบการออกฤทธิ์ของเจลลดปวดเข่าจากตำรับสมุนไพรป้าป้อกับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในตำบลดงเจน จังหวัดพะเยา จำนวน 120 คน และ 4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วิสาหกิจชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลดงเจน จำนวน 20 คน<strong> </strong></p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ตำรับสมุนไพรป้าป้อสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีลดปวดและลดอักเสบ รวมทั้งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ มีคุณสมบัติเหมาะในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ลดปวด เจลสมุนไพรลดปวดเข่า ถูกพัฒนามาจากผงพอกเข่าสูตรป้าป้อ โดยนำสมุนไพรสกัดน้ำร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก มาทำเป็นรูปแบบเจล เนื่องจากมีลักษณะเนื้อเจลใส สีน้ำตาล มีความหนืดพอดี ไม่แยกชั้น มีค่า pH เฉลี่ย 6.5 เมื่อทำการทดสอบอาการระคายเคืองในอาสามัคร พบว่า อาสาสมัครทั้งหมด ไม่พบอาการระคายเคือง นอกจากนี้ร้อยละ 100.0 ของอาสาสมัครพึงพอใจต่อเจลสมุนไพรระดับมากที่สุด ผลการวิจัยในครั้งนี้นำไปสู่การพัฒนาวิสาหกิจเพื่อเพิ่มรายได้ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเน้นให้ วิสาหกิจชุมชนปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อสะดวกต่อการพกพาของผู้บริโภค และเป็นที่น่าดึงดูดต่อการใช้งาน</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268265 การปรับปรุงเส้นโค้งควบคุมของระบบอ่างเก็บน้ำโดยใช้เทคนิคการค้นหาแบบทาบู และเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนด้วยลม 2024-01-09T16:06:20+07:00 นิวัตร ภูมิพันธ์ niwat.bh@udru.ac.th บรรณญัติ บริบูรณ์ banyat.bo@udru.ac.th สุวภัทร โกษาแสง suwapatx@gmail.com <p>งานวิจัยครั้งนี้มุ่งหมายที่จะประยุกต์ใช้เทคนิคการค้นหาค่าที่เหมาะสมที่สุดร่วมกับแบบจำลองอ่างเก็บน้ำเพื่อค้นหาเส้นโค้งควบคุมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอ่างเก็บน้ำ โดยมีฟังก์ชั่นวัตถุประสงค์ของการค้นหา คือ <br />การคำนวณค่าเฉลี่ยของการขาดแคลนน้ำน้อยที่สุดและค่าเฉลี่ยของน้ำส่วนเกินน้อยที่สุด งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2565 จำนวน 28 ปี ของอ่างเก็บน้ำอูน ในตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ข้อมูลเหล่านี้ประกอบด้วยปริมาณน้ำที่ไหลมาในแต่ละเดือน ข้อมูลความต้องการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำ ข้อมูลทางอุทกวิทยาและข้อมูลทางกายภาพของอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ยังจำลองเหตุการณ์ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรายเดือน จำนวน 1,000 ชุดเหตุการณ์ เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของเส้นโค้งควบคุมที่สร้างขึ้นจากแบบจำลอง ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของสถานการณ์ที่เกิดความขาดแคลนน้ำและน้ำส่วนเกิน โดยระบุช่วงเวลาของเหตุการณ์ ปริมาณน้ำเฉลี่ย และปริมาณน้ำสูงสุด ผลการวิจัยพบว่าเส้นโค้งควบคุมจากแบบจำลองแต่ละวิธีมีแนวโน้มที่คล้ายกัน เนื่องจากปริมาณน้ำท่าในแต่ละฤดูกาลและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่มีความคล้ายกัน เมื่อนำเส้นโค้งควบคุมที่ได้จากแบบจำลองเหล่านี้ไปทดสอบและเปรียบเทียบกับเส้นโค้งควบคุมที่ใช้ในปัจจุบัน พบว่าเส้นโค้งควบคุมที่ได้จากเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนด้วยลม (WDO) สามารถลดความรุนแรงของสถานการณ์น้ำส่วนเกินได้ดีกว่าโค้งควบคุมที่ได้จากการค้นหาแบบทาบู (TSA) และเส้นโค้งควบคุมปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเส้นโค้งควบคุมที่ได้จากแบบจำลองทั้งสองได้แสดงประสิทธิภาพได้ดีกว่าเส้นโค้งควบคุมปัจจุบัน</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268837 ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของประชาชนในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2024-01-04T16:12:02+07:00 อัมมันดา ไชยกาญจน์ amanda.chaikan9@gmail.com ธนัดดา สุขแสงประสิทธิ์ mildday44@aru.ac.th อมรา ไชยกาญจน์ cammara@tu.ac.th ปฏิภาณี ขันธโภค kpatipanee@aru.ac.th <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ระดับความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของประชาชนในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 161 คน โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่ 6 ตำบลท่าดินแดง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนเมษายน 2565 แบบสอบถามมีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 แบบสอบถามความรู้มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.80 ส่วนแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.78 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-Square และสถิติ Pearson Product Moment Correlation</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ระดับความเชื่อด้านสุขภาพ และระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 67.10 ,91.30 และ 97.52 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ได้แก่ ความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.478, p&lt;0.001) นอกจากนี้อายุ (X<sup>2 </sup>= 30.363, df=4) และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 (X<sup>2 </sup> = 11.808, df=5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ผลการศึกษา<br />ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อด้านสุขภาพส่งผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการรับรู้ทางสุขภาพที่ดีและเหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมป้องกันโรคที่ถูกต้องจะทำให้ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคโควิด19 ต่อตนเองครอบครัวและชุมชน อีกทั้งข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนป้องกันโรคติดเชื้อในหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขต่อไป</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/269199 การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตโพรไบโอติกจากข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวเหนียวก่ำผสมธัญพืช 2024-01-22T16:21:47+07:00 รัตนภัทร มะโนชัย rattanapath@g.lpru.ac.th นภาพันธ์ โชคอำนวยพร napapan.c@chandra.ac.th กาญจนา รัตนธีรวิเชียร delphijava@g.lpru.ac.th ณัฐฌา เหล่ากุลดิลก nutcha@lpru.ac.th <p>งานวิจัยนี้ ศึกษาคุณภาพของโยเกิร์ตที่ผลิตจากข้าว 2 ชนิด คือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวเหนียวก่ำ โดยผันแปรสัดส่วนข้าวที่ใช้ในการทดลองออกเป็น 3 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ประกอบด้วยข้าวไรซ์เบอร์รี่ ร้อยละ 100 สูตรที่ 2 ประกอบด้วยข้าวไรซ์เบอรี่ต่อข้าวเหนียวก่ำ ร้อยละ 50 ต่อ 50 และสูตรที่ 3 ประกอบด้วยข้าวเหนียวก่ำร้อยละ 100 ทั้งนี้ ได้ผสมธัญพืช ได้แก่ งาดำ ถั่วดำ ถั่วเหลือง และถั่วแดง ในปริมาณที่เท่ากันทุกสูตร ทำการวิเคราะห์คุณภาพ ได้แก่ ค่าสี <em>L*</em> (ค่าความสว่าง) <em>a*</em> (ค่าความเป็นสีแดง) และ <em>b*</em> (ค่าความเป็นสีเหลือง) ความเหนียวติด (Adhesiveness) การเกาะติดกันของอนุภาคภายในอาหาร (Cohesiveness) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้เทียบกับกรดแลคติก ปริมาณแบคทีเรียแลคติก ปริมาณยีสต์รา ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และความชอบทางประสาทสัมผัส จากผลการทดลอง พบว่า โยเกิร์ตจากข้าวไรซ์เบอร์รี่มีค่า <em>L*</em> และความเป็นสีแดง (+<em>a*</em>) สูงที่สุด ส่วนโยเกิร์ตจากข้าวเหนียวก่ำมีค่า Adhesiveness, Cohesiveness, ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด แต่มีปริมาณแบคทีเรียแลคติกรวมถึงปริมาณกรดแลคติกน้อยที่สุด โดยโยเกิร์ตทั้ง 3 สูตรมีปริมาณแบคทีเรียแลคติกอยู่ระหว่าง 3.0-3.5 x 10<sup>6</sup> โคโลนีต่อกรัม ซึ่งอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีคะแนนความชอบในทุกคุณลักษณะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&gt;0.05) โดยมีคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ระหว่างชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268882 ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยากับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 จำแนกตามฤดูกาล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2024-03-18T11:24:05+07:00 สุจารี ดำศรี sujaree.dam@sru.ac.th นฤมล ต๊ะใจ 6304302001025@student.sru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยากับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตาม ฤดูกาล ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายวัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2566 ของความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ สถานีตรวจวัดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (36T) จากกรมควบคุมมลพิษ และปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ เตรียมข้อมูลก่อนการวิเคราะห์โดยตรวจสอบความสมบูรณ์ จัดการข้อมูลสูญหาย และแบ่งข้อมูล 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) ข้อมูลตรวจวัดต่อเนื่อง 2) ข้อมูลตรวจวัดในฤดูฝน 3) ข้อมูลตรวจวัดในฤดูหนาว และ 4) ข้อมูลตรวจวัดในฤดูร้อน โดยแบ่งฤดูฝน (16 พฤษภาคม-15 ตุลาคม) ฤดูหนาว (16 ตุลาคม-15 กุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (16 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Kruskal-Wallis Test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> ทุกฤดูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยฤดูร้อนมีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> มากที่สุด ซึ่งมีค่าเกินค่ามาตรฐาน ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน และความเร็วลมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> อุณหภูมิมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> ยกเว้นฤดูหนาว จากข้อมูลการตรวจวัดต่อเนื่อง ทุกปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาร่วมกันคาดการณ์ความเข้มข้นฝุ่นละออง PM<sub>2.5</sub> ได้ 61.2%</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/270429 การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จังหวัดปทุมธานี 2024-05-23T16:08:23+07:00 ภาคภูมิ อุณหเลขจิตร Pakpoom.c@ptu.ac.th เจริญชัย อึ๊งเจริญสุข Jaroenchai@ptu.ac.th อัษฎาวุฒิ โยธาสุภาพ aussadawut.yo@vru.ac.th วัฒนา ชยธวัช vadhana.j@ptu.ac.th <p>ในประเทศไทย โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคในกลุ่มหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนมากที่สุดและทำให้ผู้ป่วยที่ได้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเสียชีวิต เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดในสมองแตก เป็นต้น การพยากรณ์โรคเป็นมาตรการหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของกรมควบคุมโรคที่ใช้คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การวางแผนป้องกันด้วยการกำหนดมาตรการหรือนโยบายในรูปของกิจกรรมโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยในระยะยาว โดยการใช้เทคนิคการพยากรณ์หรือการวิเคราะห์อนุกรมเวลา วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ (Box-Jenkins method) ข้อมูลที่ใช้ในการพยากรณ์ คือ ข้อมูลทุติยภูมิผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2560 - 2566 เป็นข้อมูลเดือนมกราคม 2560 ถึงธันวาคม 2565 จำนวน 72 เดือน ใช้พยากรณ์จำนวนผู้ป่วยรายเดือน พ.ศ. 2566 เปรียบเทียบกับข้อมูลจริงเดือนมกราคม ถึง กันยายน 2566 การสร้างแบบจำลองตามวิธีการบอกซ์และเจนกินส์ ARIMA(p,d,q)(P,D,Q)<sub>m</sub> ด้วยฟังก์ชั่น auto.arima() ใน packages (forecast) จากโมดูล snowCluster โปรแกรมจาโมวี (jamovi)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า แบบจำลองอนุกรมเวลา ARIMA(2,1,1)(2,0,0)<sub>12</sub> มีค่าความสอดคล้องกับข้อมูลจริง ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดสัมบูรณ์ (MAPE) ของข้อมูล 72 เดือน ของปี พ.ศ. 2560 ถึง 2565 ร้อยละ 11.02 เมื่อนำค่าพยากรณ์ปี พ.ศ. 2566 12 เดือน เทียบกับข้อมูลจริงปี พ.ศ. 2566 มกราคม ถึง กันยายน 2566 พบว่ามีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดสัมบูรณ์ เฉลี่ย 9 เดือน เท่ากับร้อยละ 8.86 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้พยากรณ์ได้ดี สอดคล้องกับผลการศึกษาในประเทศกานาที่ได้นำอนุกรมเวลาพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยด้วยอนุกรมเวลาใช้ในการพยากรณ์โรคความดันโลหิตสูง แต่อย่างไรก็ตามผลที่ได้ยังข้อมีจำกัดเนื่องจากไม่ได้มีการนำปัจจัยอื่นๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่ เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ด้วย ในการศึกษาครั้งถัดไปต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบร่วมกับวิธีการอื่นเพื่อให้ผลการศึกษามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267262 ผลของดินผสมจากผักตบชวาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักบุ้งจีน 2024-03-18T14:22:48+07:00 สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ sirioom@hotmail.com ภารดี แซ่อึ้ง parad.nuch@gmail.com ขวัญเรือน บุญพร neurnawk.norpnub@gmail.com ยุพาภรณ์ วิริยะนานนท์ sirisomy@gmail.com <p>ดินผสมจากผักตบชวาเป็นดินผสมที่นำผักตบชวามาใช้เป็นวัสดุร่วมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชได้ ตลอดจนมีส่วนทำให้ลดปริมาณวัชพืชในแหล่งน้ำได้ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดินผสมจากผักตบชวาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักบุ้งจีน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ สิ่งทดลองที่ 1 ดิน (ชุดควบคุม) , สิ่งทดลองที่ 2 ดิน : ขุยมะพร้าว : แกลบดิบ : มูลวัว : มูลไก่ (1 : 1 : 1 : 1 : 0.5), สิ่งทดลองที่ 3 ดิน : ขุยมะพร้าว : แกลบดิบ : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 1 : 0.5 : 1), สิ่งทดลองที่ 4 ดิน : แกลบดิบ : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 0.5 : 1), สิ่งทดลองที่ 5 ดิน : ขุยมะพร้าว : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 0.5 : 1), สิ่งทดลองที่ 6 ดิน : มูลวัว : มูลไก่: ผักตบชวา (1 : 1 : 0.5 : 2) จากผลการทดลองพบว่า ดินผสมสิ่งทดลองที่ 5 ที่ประกอบด้วย ดิน : ขุยมะพร้าว : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 0.5 : 1) ทำให้ผักบุ้งจีนมีการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงที่สุด ได้แก่ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 0.28 เซนติเมตร จำนวนใบ 12.65 ใบต่อต้น ความยาวใบ 18.45 เซนติเมตร น้ำหนักสดต้น 15.84 กรัมต่อต้น น้ำหนักสดราก 3.79 กรัมต่อต้น น้ำหนักแห้งต้น 1.40 กรัมต่อต้น และน้ำหนักแห้งราก 0.27 กรัมต่อต้น</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268750 การใช้ประโยชน์จากเปลือกส้มโอสีขาวทดแทนเนื้อส้มบางส่วนในผลิตภัณฑ์แยม 2024-07-16T15:32:23+07:00 เชาวลิต อุปฐาก Chaowalit.a@rmutp.ac.th ปรัศนีย์ ทับใบแย้ม prassanee.t@rmutp.ac.th สุมภา เทิดขวัญชัย summapa.t@rmutp.ac.th เปรมระพี อุยมาวีระหิรัญ premraphi.o@rmutp.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสูตรพื้นฐานแยม 2) เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์แยม 3) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางทางกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑ์แยม และ 4) เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้ทดสอบที่มีต่อผลิตภัณฑ์แยมจากเปลือกขาวส้มโอ ผลการศึกษา พบว่า สูตรพื้นฐานจำนวน 4 สูตร ในส่วนของสูตรพื้นฐานของแยมส้ม พบว่า ผู้ชิมให้การยอมรับสูตรที่ 3 มากที่สุดในทุกด้าน ซึ่งสูตรที่ผู้ชิมให้การยอมรับมีปริมาณเนื้อส้ม และน้ำตาลทรายที่เหมาะสมในการทำแยม โดยที่ไม่ต้องมีความเปรี้ยวจากกรดซิตริกแต่ได้จากเนื้อส้มและน้ำตาลทรายที่ลงตัว เปลือกขาวส้มโอที่เหมะสมในผลิตภัณฑ์แยมผู้ชิมให้การยอมรับปริมาณเปลือกขาวส้มโอ อัตราส่วนระหว่างเปลือกขาวส้มโอต่อเนื้อส้มแมนดารินที่ 60:40 ในทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม อยู่ที่ 7.40, 7.15, 7.15, 7.20, 7.20 และ 7.50 ตามลำดับ อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ซึ่งมีลักษณะของแยมมีทั้งความวาวข้นหนืดเวลาคนแตกตัวได้ดีทดแทนปริมาณเปลือกส้มโอขาวในแยมมากเกิดจะส่งผลให้ความข้นหนืดและความวาวลดลง องค์ประกอบทางเคมีของแยมจากเปลือกส้มโอขาวสูตรที่ 2 (60:40) พบว่า พลังงาน 157 Kcal. ไขมัน ร้อยละ 0.1 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 38.9 น้ำตาล ร้อยละ 32.2 โซเดียม 120 มก. ความชื้น ร้อยละ 60.44 และ เถ้า ร้อยละ 0.34 คุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า มีค่าความสว่าง (L*) 30.90 ค่าสีเขียว (a*) 5.50 และค่าสีเหลือง (b*) 32.99 การทดสอบผู้บริโภคที่มีผลต่อเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยม พบว่า ในด้านความชอบที่มีต่อเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยม ผู้บริโภคให้การยอมรับทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 7.58 7.36 7.39 8.75 และ 8.28 ตามลำดับ อยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก ด้านการยอมรับปริมาณเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยมผู้บริโภคให้การยอมรับแยมเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยม ร้อยละ 82 และไม่ยอมรับร้อยละ 18</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267407 โภชนาการ สารพฤกษเคมีเบื้องต้น และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดนางรมสีทองและเห็ดนางรมสีชมพู 2024-02-12T15:00:23+07:00 บุษกร อุ๋ยวงษ์ bussakorn.oui@mail.pbru.ac.th ศิริพร จอมแก้ว Siriphon.jom@mail.pbru.ac.th ศิรินทิพย์ สังคร sirintip.sun@mail.prbu.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้ทำการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ สารพฤกษเคมีเบื้องต้น และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของเห็ดนางรมสีทองและเห็ดนางรมสีชมพูที่เพาะเลี้ยงในจังหวัดเพชรบุรี การวิเคราะห์เชิงโภชนาการ พบว่า เห็ดนางรมสีทองและเห็ดนางรมสีชมพูมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 5.6 และ 6.04 น้ำหนักสด และมีไขมัน ร้อยละ 0.08 และ 0.01 น้ำหนักสด ตามลำดับ สารพฤกษเคมีของเห็ดนางรมทั้งสองชนิดในสารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดเมทานอลประกอบด้วยสารแอลคาลอยด์ สเตียรอยด์ แทนนินและคูมาริน ส่วนฟลาโวนอยด์พบเฉพาะในสารสกัด เมทานอลของเห็ดนางรมทั้งสองชนิด การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และความสามารถในการรีดิวซ์เฟอริก (FRAP) พบว่า สารสกัดเมทานอลของเห็ดนางรมสีทองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด มีค่า IC<sub>50</sub> ต่ำสุดเท่ากับ 5.50 ±0.05 mg/ml และความสามารถในการรีดิวซ์สูงสุดเท่ากับ 40.28±1.47 µmolTE/g ซึ่งฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวสอดคล้องกับปริมาณฟีนอลิกรวมในสารสกัด ส่วนสารสกัดเมทานอลของเห็ดนางรมสีชมพู มีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 8.02 ±0.07 mg/ml และความสามารถในการรีดิวซ์เท่ากับ 36.62±1.63 µmolTE/g ตามลำดับ ปริมาณฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนมูลอิสระของเห็ดทั้งสองชนิดในสารสกัดน้ำน้อยกว่าในสารสกัดเมทานอล จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเห็ดนางรมสีทองและเห็ดนางรมสีชมพูเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพและมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/271221 การเปรียบเทียบวิธีการเตรียมดีเอ็นเอเพื่อตรวจหายีน hemolysin ของแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila ที่ก่อโรคในปลานิล 2024-05-02T15:35:03+07:00 บุณฑริกา ทองดอนพุ่ม boontarika@rmutt.ac.th กิตติมา วานิชกูล Kittima_v@rmutt.ac.th อดุลย์ บุญเฉลิมชัย Adun_b@rsu.ac.th สมพล แพรพันธ์ Somphon.p@rsu.ac.th <p>โรคติดเชื้อแบคทีเรีย <em>Aeromonas hydrophila</em> ที่พบในปลานิล ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตสัตว์น้ำ เนื่องจากการตรวจวินิจฉัยโรคใช้เวลานาน ทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคได้ทัน การศึกษาวิธีการเปรียบเทียบการสกัดดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรีย <em>Aeromonas hydrophila</em> ที่ก่อโรคในปลานิล โดยใช้ชุดสกัดสำเร็จและวิธีการต้มด้วยความร้อน มาใช้ในการตรวจหายีน <em>hemolysin </em>(<em>hly</em>A) ของเชื้อแบคทีเรีย <em>Aeromonas hydrophila</em> เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วนั้น ผลการตรวจหายีน <em>hly</em>A ของเชื้อแบคทีเรีย <em>A. hydrophila</em> โดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ พบว่า คุณภาพดีเอ็นเอของเชื้อที่ได้จากการสกัดจากการใช้ชุดสกัดสำเร็จและวิธีต้มด้วยความร้อน สามารถตรวจหายีน <em>hly</em>A ได้ผลผลิตพีซีอาร์ขนาด 592 คู่เบส และไม่พบ ผลผลิตพีซีอาร์จากดีเอ็นเอในเชื้ออื่น ๆ โดยความเข้มของเชื้อน้อยที่สุด (10<sup>6</sup> CFU/mL) ที่นำไปสกัดดีเอ็นเอและสามารถตรวจหายีน <em>hly</em>A โดยวิธีพีซีอาร์ พบว่า มีความเข้มข้นเท่ากับ 18.8 ng/µL และมีความบริสุทธิ์ 1.84 จากการสกัดโดยชุดสกัดสำเร็จ และความเข้มข้นเท่ากับ 17.7 ng/µL และมีความบริสุทธิ์ 1.66 จากการสกัดโดยการต้มด้วยน้ำร้อน ดังนั้น ดีเอ็นเอที่ได้จากการสกัดทั้ง 2 วิธี และการใช้ยีน <em>hly</em>A เป็นยีนเป้าหมาย จึงมีประสิทธิภาพต่อการนำมาใช้ในการตรวจหาเชื้อ <em>A. hydrophila</em> ได้ ทั้งนี้ สามารถนำผลผลิตพีซีอาร์ที่ได้ไปหาลำดับเบส และยืนยันชนิดของยีนสำหรับใช้เป็นแม่แบบในการออกแบบไพรเมอร์ เพื่อรองรับเทคนิควิเคราะห์อย่างง่ายในอนาคตต่อไป</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267755 ผลของสารสกัดหยาบจากหางไหลต่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก 2023-11-27T11:14:32+07:00 วิชชุดา มั่นจิตร Wichuda@vru.ac.th ณพัฐอร บัวฉุน napattaorn@vru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกําจัดหนอนกระทู้ผักโดยวิธีการสัมผัส และวิธีการกินสารสกัดจากราก ใบ และลำต้นหางไหล ที่สกัดด้วยเอทานอลในแต่ละความเข้มข้น (0.5, 1, 4, 8 และ 10 % w/v) พบว่า การสัมผัสสารสกัดหยาบจากรากหางไหลที่ความเข้มข้น 10 % w/v ทำให้หนอนกระทู้ผักตายมากที่สุดภายใน 7 วัน ถึง 40% รองลงมา คือ สารสกัดหยาบจากใบ และลำต้นหางไหล ที่ 30% และ 20% ตามลำดับ ส่วนการทดสอบโดยวิธีการกิน พบว่า สารสกัดหยาบจากรากหางไหลมีฤทธิ์ในการยับยั้งการกินของหนอนกระทู้ผักในปริมาณสูง มีค่า percent antifeedant index (% AFI) เท่ากับ 16.22 รองลงมาคือสารสกัดหยาบจากใบหางไหล และสารสกัดหยาบจากลำต้นหางไหลมีค่า % AFI เท่ากับ 20.56 และ 21.35 ตามลำดับ จากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบจากราก ใบ และลำต้นหางไหลที่ความเข้มข้น 10% w/v ทำให้หนอนกระทู้ผักตายมากที่สุดได้ภายใน 7 วัน และสามารถนำสารสกัดหยาบมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในการเกษตรได้</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268980 ผลของสารละลายโซเดียมไฮโพคลอไรต์ ชนิดบรรจุภัณฑ์ และอุณหภูมิเก็บรักษาต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักน้ำเบตง 2024-01-16T15:19:15+07:00 ณัฐพงค์ จันจุฬา Nattapong@tistr.or.th ภาสุรี ฤทธิเลิศ pasuree@vru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารละลายโซเดียมไฮโพคลอไรต์ในการลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดของผักน้ำเบตง (<em>Nasturtium officinale</em> W.T. Aiton) รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ วิธีการบรรจุ และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของผักน้ำที่เหมาะสม เบื้องต้นมีการศึกษาวิธีการล้างผักน้ำด้วยการจุ่มแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโพคลอไรต์ (Sodium hypochlorite 6% w/w, Clorox) 1, 1.5 และ 2% w/v เปรียบเทียบกับการล้างด้วยน้ำประปา เป็นเวลา 1, 5 และ 10 นาที ผลการทดลอง พบว่า การใช้ Clorox 1% w/v นาน 10 นาที สามารถลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับการล้างด้วยน้ำประปา การใช้ Clorox ทุกความเข้มข้นไม่สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดได้ โดยการล้างด้วยน้ำประปานาน 10 นาที ถูกคัดเลือกใช้ในการเตรียมผักน้ำหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อบรรจุในถุงพลาสติก 2 ชนิด ได้แก่ ถุงพอลิโพรพีลีน (Polypropylene, PP) และถุงหายใจได้ Active PAK<sup>TM</sup> (AP) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25±2°C และ 12±2°C เป็นเวลา 6 วัน พบว่า การใช้ถุง PP เปรียบเทียบกับถุง AP ที่อุณหภูมิ 12±2°C ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงค่าความแตกต่างสีโดยรวม (∆E*) แต่การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ไม่แตกต่างกัน (p&gt;0.05) และเก็บรักษาได้นานเพียง 2 วัน เมื่อจำลองสภาวะขนส่งทางไกลโดยการบรรจุผักน้ำในกล่อง 2 ชนิด ได้แก่ กล่องกระดาษ (กล่องไปรษณีย์) และกล่องโฟมร่วมกับน้ำแข็ง แล้วนำผักน้ำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิ 25±2°C และ 5±2°C พบว่า การขนส่งผักน้ำด้วยการบรรจุในกล่องโฟมร่วมกับน้ำแข็ง ทำให้เมื่อนำผักน้ำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิ 5±2°C ผักน้ำคงความสดและมีสีเขียวในระดับคะแนนเท่ากับ 3 คะแนน ซึ่งยอมรับได้และสามารถซื้อขายได้นาน 6 วัน</p> 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/278551 ปกวารสาร 2024-10-22T13:42:56+07:00 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/278552 ปกใน 2024-10-22T13:44:36+07:00 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/278553 บทบรรณาธิการ 2024-10-22T13:45:30+07:00 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/278554 สารบัญ 2024-10-22T13:46:27+07:00 2024-10-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024