วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal
<p>เป็นวารสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานบทความวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป ส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบัน ได้แก่ อาหาร วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ <br />ISSN: 3027-7353 (Online)</p>
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
th-TH
วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
<p><strong>ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์</strong> ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร</p><p><strong>ความรับผิดชอบ</strong> เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</p>
-
การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268860
<p>ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มสำคัญในการให้บริการสุขภาพต่อผู้สูงอายุ รวมถึงผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การนำเอาข้อมูล กิจกรรมและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวตามแนวคิดทางสุขภาพมานำเสนอผ่านสมาร์ทโฟน ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2) ประเมินความสมบูรณ์ของเว็บแอปพลิเคชัน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของเว็บแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จากผู้เชี่ยวชาญ<br />ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 ท่าน และผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) เว็บแอปพลิเคชันควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใช้โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ประมวลผลด้วยภาษา PHP ฐานข้อมูล MySQL และใช้โปรแกรม Visual studio code สำหรับสร้างเว็บแอปพลิเคชัน 2) แบบประเมินความสมบูรณ์ของเว็บแอปพลิเคชัน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.87 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>S.D</em>.)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความสมบูรณ์เว็บแอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ยระดับอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 98 (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 19.60, <em>S.D</em>. = 0.547) และผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความพึงพอใจต่อเว็บ<br />แอปพลิเคชันโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.66, <em>S.D</em>. = 0.546) ดังนั้นเว็บแอปพลิชั่นจึงมีความพร้อมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในวงกว้างต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่การลดภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น</p>
ญาดา เรียมริมมะดัน
วัลลภ ใจดี
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
1
15
-
ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากตำรับยาตรีธาตุ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/266196
<p>ตรีธาตุ ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ เปลือกอบเชย (<em>Cinnamomum verum </em>J. Presl.) เมล็ดกระวาน (<em>Amomum testaceum </em>Ridl.) และดอกจันทน์เทศ (<em>Myristica fragrans</em> Houtt.) ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 มีสรรพคุณ แก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้ บำรุงดวงจิต แก้ปวดมดลูก ปลุกธาตุอันดับให้เจริญ งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากตำรับยาตรีธาตุ ทำการสกัดด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด คือน้ำ เอทานอลร้อยละ 50 เอทานอลร้อยละ 80 และเอทานอลร้อยละ 95 นำสารสกัดมาศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) วิธี Ferric reducing antioxidant power (FRAP) และหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากตำรับ<br />ยาตรีธาตุ พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดในวิธี DPPH โดยมีค่า EC<sub>50</sub> เท่ากับ 10.72±0.20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดแอสคอบิก (<em>p</em><0.05) และวิธี FRAP สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด มีค่าไมโครโมลาร์สมมูลของเฟอร์รัสไอออนต่อกรัมสารสกัดเท่ากับ 1.79±0.05 มิลลิโมลาร์สมมูลของเฟอร์รัสไอออนต่อกรัมของสารสกัด มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานคือกรดแอสคอบิกและแอลฟ่าโทโคฟีรอล (<em>p</em><0.05) และการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด พบว่า สารสกัดด้วยน้ำ มีปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 2.62±0.32 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด</p>
รัฐศาสตร์ เด่นชัย
สุรพงศ์ รัตนะ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
16
28
-
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าภายในคลังสินค้าโดยใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/266205
<p> งานวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าภายในคลังสินค้าโดยใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบปรับปรุงพื้นที่ของคลังสินค้าโดยการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ และเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสินค้าตามใบขอโอนสินค้า จากการศึกษารวบรวมข้อมูลพบปัญหาการส่งสินค้าไปยังสาขาต่าง ๆ นั้นมีปริมาณไม่ถูกต้อง สินค้าผิดขนาด คุณลักษณะไม่ตรงตามความต้องการ ทำให้ต้องมีการส่งสินค้ากลับไปยังคลังสินค้าและรอสินค้าส่งกลับมาทดแทนซึ่งเป็นการสูญเสียต้นทุนและเวลา จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาการจัดสินค้าผิดพลาดด้วยแผนภาพสาเหตุและผล หามาตรฐานแก้ไขปัญหา นำเอาการวิเคราะห์แบบเอบีซีมาแบ่งประเภทของสินค้าเพื่อออกแบบพื้นที่ของคลังสินค้า นำเสนอแนวทางของการหยิบจัดสินค้าเพื่อลดเวลาและระยะทางของการจัดหยิบสินค้าตามใบขอโอนสินค้า การสร้างจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Flexsim เพื่อการออกแบบปรับปรุงพื้นที่คลังสินค้าและทดสอบประมวลผลโปรแกรมการจัดสินค้าตามใบขอโอนตามโมเดลที่นำเสนอ พบว่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบเดิมของพนักงาน ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานด้านเวลาของโมเดล 1 และโมเดล 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.97 และร้อยละ 48.97 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการทำงานด้านระยะทางของโมเดล 1 และโมเดล 2 เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 23.98 และร้อยละ 32.36 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงกับการบริหารจัดการคลังสินค้าของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
กิตติศักดิ์ แสนราช
คนึงนิต ปทุมมาเกษร
เอนก เทียนบูชา
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
29
43
-
การใช้หินพัมมิสและเศษเปลือกหอยนางรมในงานจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267923
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติและความคงทนของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ที่ใช้หินพัมมิสผสมเศษเปลือกหอยนางรมเป็นวัสดุผงตั้งต้น กำหนดอัตราส่วนของหินพัมมิสต่อเปลือกหอยนางรมเผาบดละเอียดเท่ากับร้อยละ 100:0, 75:25, 50:50, 25:75 และ 0:100 โดยน้ำหนัก ทดสอบคุณสมบัติและความคงทนของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ ได้แก่ ค่าการไหลแผ่ กำลังรับแรงอัด การสูญเสียกำลังรับแรงอัดของมอร์ต้าร์ที่แช่ในสารละลายโซเดียมซัลเฟตและการสูญเสียน้ำหนักของมอร์ต้าร์ที่แช่ในสารละลายกรดซัลฟิวริก ผลการศึกษาพบว่าค่าการไหลแผ่ของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากหินพัมมิสมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณเปลือกหอยนางรมเผาบดละเอียดที่เพิ่มขึ้น การใช้หินพัมมิสผสมเปลือกหอยนางรมเผาบดละเอียดในอัตราส่วนร้อยละ 25 ต่อ 75 โดยน้ำหนัก มีค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุดเท่ากับ 26.6 เมกะปาสคาลที่อายุ 90 วัน การสูญเสียกำลังของมอร์ต้าร์จากการแช่ในสารละลายซัลเฟตความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 90 วัน ไม่แสดงผลเสียต่อความสามารถรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากหินพัมมิสผสมเปลือกหอยนางรมเผาบดละเอียด อย่างไรก็ตามการสูญเสียน้ำหนักของตัวอย่างมอร์ต้าร์จากการทำลายของสารละลายกรดซัลฟิวริกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณเปลือกหอยนางรมเผาบดละเอียดที่เพิ่มขึ้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าวัสดุจีโอโพลิเมอร์จากหินพัมมิสผสมเศษเปลือกหอยนางรมสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานในงานคอนกรีตที่มีกำลังรับแรงอัดไม่สูงมากซึ่งมีความทนทานต่อสารละลายซัลเฟตและสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอย่างดี</p>
คุณาธิป รวิวรรณ
ไพฑูรย์ นาแซง
เอกพงศ์ วิริยะพาณิชย์
กิ่งเก้า พรหมโคตร
ชูชัย สินไชย
รังษี นันทสาร
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
44
59
-
พฤกษเคมี ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทรโรซิเนสจากสารสกัดหยาบดอกกล้วยไม้
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267384
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤกษทางเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบดอกกล้วยไม้ โดยดอกกล้วยไม้ที่ใช้ในการทดลองเป็นดอกกล้วยไม้สกุลหวาย 4 ชนิด ได้แก่ เอื้องแววมยุรา เอื้องสายหลวง เอื้องครั่ง และเอื้องเหลืองจันทบูร และกล้วยไม้สกุลม็อคคารา 4 ชนิด ได้แก่ จิตติ หมูทอง นอราบลู และ ประกายเพชร โดยนำกลีบดอกกล้วยไม้มาทำการสกัดด้วยเอทานอล จากการศึกษา พบว่า สารสกัดหยาบกล้วยไม้สกุลหวาย และสกุลม็อคคาราพบสารพฤกษเคมี 6 ชนิดที่เหมือนกัน ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ คูมารินแทนนิน ทอร์ปีนอยด์ สเตียรอยด์ และคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ เมื่อทำการศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด พบว่า กล้วยไม้สกุลหวายชนิดแววมยุรา และสกุลม็อคคาราชนิดนอราบลูมีปริมาณมากที่สุด (208.58 ± 1.00 mg GAE/g, 219.65 ± 1.83 mg QE/g และ 198.23 ± 1.56 mg GAE/g , 203.67 ± 1.02 mg QE/g) และทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และวิธี ABTS assay พบว่า กล้วยไม้สกุลหวายชนิดเอื้องแววมยุรา และกล้วยไม้สกุลม็อคคาราชนิดหมูทองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (EC<sub>50</sub> 15.34 ± 1.30 mg/ml, EC<sub>50</sub> 7.33 ± 1.02 mg/ml และ EC<sub>50</sub> 11.90 ± 1.27 mg/ml, EC<sub>50</sub> 8.43 ± 1.45 mg/ml) และพบว่า กล้วยไม้สกุลหวายชนิดเอื้องแววมยุรา และกล้วยไม้สกุลม็อคคาราชนิดหมูทองมีฤทธิ์ ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสสูงที่สุด (EC<sub>50</sub> 15.09 ± 1.92 mg/ml และ EC<sub>50</sub> 12.44 ± 1.29 mg/ml) จากผลการทดลองสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทรโรซิเนสในอนาคต และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชประเภทกล้วยไม้ต่อไป </p>
ณพัฐอร บัวฉุน
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
60
74
-
ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ของประชากรกลุ่มอายุ 15-29 ปี ในจังหวัดปทุมธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/266414
<p>ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการส่งเสริมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรไทย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ โดยมีรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 15-29 ปี ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Spearman’s correlation</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 21.31 ปี แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.25 (229 คน) เพศชายร้อยละ 42.75 (171 คน) มีความรู้เกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณในระดับปานกลาง ทัศนคติเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณอยู่ในระดับดี และพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณอยู่ในระดับต่ำ เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับยาแผนโบราณ และความรู้กับพฤติกรรมที่มีต่อยาแผนโบราณ พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณพบว่า เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกลุ่มตัวอย่างเลือกไปพบแพทย์/สถานบริการสาธารณสุขมากที่สุด ร้อยละ 61.50 (246 คน) ส่วนการซื้อยาสมุนไพร/ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณมาใช้เอง พบว่า มีเพียงร้อยละ 2.75 (11 คน) สอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่าพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณอยู่ในระดับต่ำ จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้ยาสมุนไพร ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตั้งแต่ระดับครอบครัว เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐาน คุณภาพและเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทย</p>
เฌอลินญ์ สิริเศรษฐ์ภพ
สมคิด ตันเก็ง
จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย
รัฐพล ศิลปรัศมี
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
75
89
-
การคำนวณหาความเร็วและการกระจัดขึ้นอยู่กับเวลาของอนุภาค ภายใต้แรงต้านทานอากาศ แรงยก และแรงภายนอกในการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/259213
<p>วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ศึกษาวิถีทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคมวล <img title="m" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?m" />ที่เคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ ภายใต้แรงต้านทานอากาศ, แรงยก เมื่อมีแรงภายนอกที่เป็นฟังก์ชันของเวลา<img title="sin^{2} (w_{f}t)" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?sin^{2}&space;(w_{f}t)" /> มากระทำต่ออนุภาคในแนวดิ่ง แสดงการคำนวณหาความเร็วที่เป็นฟังก์ชันของเวลาในแนวระดับ และในแนวดิ่ง การกระจัดการเคลื่อนที่ของอนุภาคมวล <img title="m" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?m" /> ในแนวระดับ และในแนวดิ่งที่เป็นฟังก์ชันของเวลา อนุภาคมีการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ ภายใต้แรงต้านทานอากาศ แรงยก และแรงภายนอกที่เป็นฟังก์ชันของเวลาและเป็นฟังก์ชัน Sine กำลังสองในแกน <img title="S_{y}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?S_{y}" /> โดยการสร้างแบบจำลองทางฟิสิกส์ขึ้นมาโดยใช้กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตันและใช้วิธีการอินทิเกรตเพื่อคำนวณหาความเร็วที่เป็นฟังก์ชันของเวลา และการกระจัดที่เป็นฟังก์ชันของเวลา ซึ่งมีการวิเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับวิถีการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ซึ่งมีลักษณะไม่สมมาตร และความเร็วในแนวดิ่งที่เป็นฟังก์ชันของเวลาจะมีค่าแปรผันตรงกับค่าความถี่ และค่าสัมประสิทธิ์ของแรงต้านทานอากาศ</p>
จุฑามาศ ช้างคำ
ปิยรัตน์ มูลศรี
อาทิตย์ หู้เต็ม
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
90
106
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทอง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268030
<p>งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทอง ที่ผลิตจากกล้วยหอมทองที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาคุณภาพของชาเปลือกกล้วยหอมทองที่ถูกเตรียมด้วยวิธีการอบแห้ง โดยใช้ตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่า มีค่ากิจกรรมของน้ำ (a<sub>w</sub>) เท่ากับ 0.33 ปริมาณสารปนเปื้อนโลหะหนักและจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 426) พ.ศ. 2564 ชาจากพืช และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่องชา (มผช.120/2558) โดยไม่พบจุลินทรีย์ก่อโรคทั้งในส่วนของเชื้อ <em>Salmonella </em>spp. <em>Staphylococcus aureus</em> และ <em>Clostridium </em>spp. และจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดยังอยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด นอกจากนั้นยังไม่พบการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาเปลือกกล้วยหอมทองมีความปลอดภัยต่อการบริโภค การศึกษาปริมาณการบรรจุชาที่เหมาะสม ในปริมาณที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 3, 5 และ 7 กรัม โดยการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้านความชอบกับผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 100 คน ด้วยแบบทดสอบแบบ 9 - Point hedonic scale พบว่า น้ำชาที่ชงจากชาที่บรรจุปริมาณ 5 กรัมได้รับคะแนนความชอบในทุกด้านสูงกว่าสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในส่วนของการศึกษาการยอมรับและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภคร้อยละ 98 ยอมรับ และผู้บริโภคร้อยละ 94 ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทอง จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทองในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต</p>
อัจฉริยะกูล พวงเพ็ชร์
พรอริยา ฉิรินัง
ศิริวรรณ ณะวงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
107
121
-
การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชือไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/270671
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย จำนวน 74 คน และกลุ่มคนสำหรับการประเมินผลรูปแบบ จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Paired Sample t- test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบเก่า เป็นการดำเนินการตามแนวทางและมาตรการของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่ออำเภอเมือง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มีภาระงานเพิ่มขึ้น ขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อ และการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกี่ยวกับโรคขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน 2) รูปแบบใหม่ที่ได้จากการศึกษา คือ รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 5 มาตรการ ดังนี้<strong> </strong>มาตรการที่ 1 ติดตามการเฝ้าระวังป้องกันโรค ในชุมชน มาตรการที่ 2 เสริมสร้างความรู้เรื่องโรค มาตรการที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังโรค มาตรการที่ 4 <br />ส่งต่อ/รักษา มาตรการที่ 5 สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในชุมชน 3) ผลของการใช้รูปแบบฯ คือ ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พฤติกรรมการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีระดับคะแนนดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001, 95%Cl =2.91-3.29, P<0.001, 95%Cl=0.28-0.12 และ P<0.001,95% Cl=0.62-0.50 ตามลำดับ)</p>
พัลลภ ไกยะวินิจ
สุภาพร ใจการุณ
กุลชญา ลอยหา
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
122
135
-
การพัฒนาแผ่นไม้เทียมจากพลาสติกชีวภาพรีไซเคิลผสมผงกะลามะพร้าว
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/269075
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นไม้เทียมจากพลาสติกชีวภาพรีไซเคิลผสมผงกะลามะพร้าวสำหรับปัญหาปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งแผ่นไม้เทียมจะมีส่วนประกอบของพลาสติกโพลีแลกติกแอซิด (PLA) <br />ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพผสมกับผงกะลามะพร้าว วัสดุเชิงประกอบนี้เป็นช่องทางที่มีศักยภาพในการนำขยะพลาสติกชีวภาพกลับมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะ PLA และกะลามะพร้าวที่เหลือจากชุมชนและการเกษตรกรรมมาเป็นวัสดุผสม กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการบดและการอัดวัสดุเชิงประกอบด้วยความร้อน โดยใช้เครื่องอัดขึ้นรูปร้อน อัตราส่วนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 5 อัตราส่วน ได้แก่ 90:10 80:20 70:30 60:40 และ 50:50 ต่อจากนั้น แผ่นจะถูกทำให้เป็นเม็ดและฉีดขึ้นรูปเป็นชิ้นงานทดสอบโดยใช้เครื่องฉีดที่อุณหภูมิ 260 องศาเซลเซียส สำหรับการทดสอบทางกลและทางกายภาพ ผลการทดลองระบุว่าปริมาณผงกะลามะพร้าวในส่วนผสมมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติของวัสดุเชิงประกอบ ส่งผลให้มีความแข็งและความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณความชื้นและการดูดซึมน้ำด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ความต้านทานแรงดึงและความต้านทานแรงกระแทกลดลง การวิจัยนี้ได้เลือกอัตราส่วนการผสม 90:10 สำหรับการผลิตเป็นไม้เทียมเพื่อใช้ประโยชน์ ทางด้านการก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม เนื่องจากอัตราส่วนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.2998-2562) นอกจากนี้ยังช่วยลดขยะที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและวัสดุเหลือใช้จากกะลามะพร้าวอันเป็นปัญหาสำหรับบุคคลในชุมชนอีกด้วย</p>
ภควัต เกอะประสิทธิ์
อดิศร จรัลวรกูลวงศ์
อิทธิ ผลิตศิริ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
136
150
-
การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ และตรวจจับการเกิดอุบัติเหตุ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/268683
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ และตรวจจับการเกิดอุบัติเหตุ 2) ประเมินประสิทธิภาพของการพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ และตรวจจับการเกิดอุบัติเหตุ 3) ประเมินความพึงพอใจของการใช้งานระบบติดตามพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ และตรวจจับการเกิดอุบัติเหตุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์และการแจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุในการพัฒนาระบบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในการออกแบบฮาร์ดแวร์การทำงานของบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ Arduino Uno R3 สำหรับควบคุมการทำงานของโมดูล GY-521 (MPU 6050) โดยเซนเซอร์สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำด้วยการปรับตั้งค่า (Calibration) ตัวเซนเซอร์ด้วยไลบรารี (Library) ของโมดูล GY-521 (MPU 6050) การทำงานร่วมกับโมดูล Arduino 3G Shield ที่ใช้ในการส่งข้อมูลไปยัง Server พร้อมทั้งศึกษาความแม่นยำในการส่งสถานที่และการส่ง SMS ในกรณีการเกิดอุบัติเหตุซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนของซอฟต์แวร์มีการพัฒนาแบบแอปพลิเคชันบนมือถือโดยมีการพัฒนาตามวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC 6 ขั้นตอนซึ่งการทำงานระหว่างส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลประเมินประสิทธิภาพของระบบตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์และการแจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุในการพัฒนาระบบมีการวางแผนขั้นตอนทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดี (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.28, S.D. = 0.68) 3) ผลประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์และการแจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดี (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.37, S.D. = 0.59)</p>
ประวีณ ไม้เกตุ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
151
165
-
CYTOTOXICITY OF ALPINIA GALANGA RHIZOME EXTRACTS AND ISOLATED COMPOUNDS AGAINST SMALL CELL LUNG CANCER NCI-H187 CELL LINE
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/262378
<p>The purpose of this research was to study the cytotoxicity of the extracts from <em>Alpinia galanga</em> rhizome and isolated compounds against NCI-H187 small cell lung cancer cells. <br />1'<em>S</em>-1'-acetocavical acetate <strong>(1)</strong>, <em>p</em>-coumaryl diacetate <strong>(2)</strong>, 1'<em>S</em>-1'-acetoxy-eugenol acetate <strong>(3)</strong>, (<em>S</em>)-hydroxycavicol acetate <strong>(4)</strong>, 4-hydroxycinnamaldehyde <strong>(5)</strong> and <em>trans-p</em>-acetoxycinnamyl alcohol <strong>(6)</strong> were isolated from the rhizomes of Alpinia galangal. The structures of the isolated compounds were characterized by spectroscopic techniques and comparison with the literature. Among them, the extracts, and compounds 1-5 displayed potent cytotoxic activity against human small cell lung cancer (NCI-H187) cells exhibiting >98% at the highest concentration <br />(50 μg). Compound 1 showed the highest cytotoxicity against NCI-H187 cells with 99.69% inhibition and IC<sub>50</sub> of 4.61 μM, 1.68-fold higher than ellipticine.</p>
Anchulee Pengsook
Parinthorn Temyarasilp
Wanchai Pluempanupat
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
166
178
-
ปกวารสาร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/276157
Copyright (c) 2024
2024-07-25
2024-07-25
19 2
-
ปกใน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/276158
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
-
บทบรรณาธิการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/276159
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2
-
สารบัญ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/276160
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2024-07-25
2024-07-25
19 2