วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal <p>เป็นวารสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานบทความวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป ส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบัน ได้แก่ อาหาร วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ <br />ISSN 2351-0366 ( Print )</p> th-TH <p><strong>ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์</strong> ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร</p><p><strong>ความรับผิดชอบ</strong> เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</p> rdi_journalsci@vru.ac.th (ผศ.ดร.ปุณยนุช นิลแสง) rdi_journalsci@vru.ac.th (นางสาวปรียา ยอดจันทร์) Wed, 30 Aug 2023 17:13:15 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/258114 <p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพรให้สามารถนำไปใช้ได้ง่าย เพิ่มความสะดวกกับผู้บริโภคและเพิ่มมูลค่าลูกประคบสมุนไพร รวมทั้งมีการใช้สารก่อฟิล์มจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการสลายตัวได้ดีและไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง โดยทำการเตรียมและสกัดสารสำคัญจากลูกประคบสมุนไพร จากนั้นนำสารสกัดมาตรวจหาสารสำคัญของสมุนไพรด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบผิวบาง (Thin Layer Chromatography, TLC) โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานที่พบในสมุนไพรแต่ละชนิดการพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังจะใช้โซเดียมอัลจิเนต ที่ได้จากสาหร่ายสีน้ำตาลเป็นสารก่อฟิล์ม ส่วนสารเพิ่มความยืดหยุ่นจะใช้โพรพิลีนไกลคอล ซึ่งการออกแบบสูตรจะทำการทดลองในอัตราส่วนที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สูตรตำรับแผ่นแปะที่ดีและเหมาะสมที่สุด จากการศึกษาพบว่าในลูกประคบสมุนไพร 1 ลูก น้ำหนัก 200 กรัม จะได้สารสกัดเอทานอล 16.87 กรัม คิดปริมาณผลผลิตร้อยละ 8.43 และสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของลูกประคบสมุนไพรสูตรนี้มีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่ได้จากสมุนไพรทุกตัว จากการพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังพบว่าสูตรตำรับที่ใช้สารก่อฟิล์ม 5% โดยมวลต่อปริมาตร โพรพิลีน ไกลคอล 7% โดยน้ำหนัก และสารสกัดลูกประคบสมุนไพร 3% โดยน้ำหนัก มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นแปะจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร ซึ่งแผ่นแปะที่ได้สามารถลอกออกจากถาดขึ้นรูป แผ่นมีความเรียบและพื้นผิวสม่ำเสมอเมื่อทดสอบความคงตัวของแผ่นแปะที่สภาวะเร่ง พบว่ามีความแตกต่างที่สภาวะเร่งน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับแผ่นแปะที่เตรียมเสร็จใหม่ และทดสอบในสภาวะการเก็บรักษาจริง หลังจากนำไปเก็บไว้ในโถดูดความชื้นเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าลักษณะทางกายภาพของแผ่นแปะไม่มีการเปลี่ยนแปลง</p> นรินทร์ทร พันธ์สวัสดิ์, ลัดดาวัลย์ ชูทอง, กัญญ์ธศยา อัครศิริฐรัตนา Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/258114 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263644 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง และ 3) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ระบบที่มีต่อระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนา จำนวน 5 คน และผู้ใช้ระบบจำนวน 124 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง 2) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงมีองค์ประกอบดังนี้ กลุ่มผู้ใช้ระบบ อุปกรณ์ เว็บเบราเซอร์ การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ การจัดการ ฐานข้อมูล และเว็บไซต์ <br />2) ประสิทธิภาพของระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.44, S.D. = 0.62) และ 3) กลุ่มผู้ใช้ระบบจำนวน 124 คน <br />มีความพึงพอใจต่อระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.66, S.D. = 0.14)</p> มัชฌกานต์ เผ่าสวัสดิ์ , กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263644 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/262403 <p>การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันและประเมินความพึงพอใจการใช้งานของเว็บแอปพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เลือกเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจของเว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 35 คน หลังจากที่ระบบเปิดให้บริการเป็นระยะเวลา 30 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) เว็บแอปพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี โดยใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาและใช้ MySQL เป็นระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของเว็บแอปพลิเคชัน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชัน ทั้ง 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ซึ่งระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน พบว่า รวมความพึงพอใจทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 ซึ่งระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี</p> อมีนา ฉายสุวรรณ, ชุมพล จันทร์ฉลอง Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/262403 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อม ของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระแชง จังหวัดปทุมธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261882 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อม (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.) ของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระแชง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 689 ราย คัดเลือกตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจิสติค ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 55.1) ทัศนคติต่อการใช้พืชกระท่อมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.0) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.9) และความเสี่ยงต่อการใช้พืชกระท่อมโดยใช้แบบประเมิน ASSIST อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 89.7) นอกจากนี้ความชุกของการใช้พืชกระท่อมของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 23.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย (AOR= 2.98, 95% CI= 1.55-4.74, p=0.007) อายุ 25-59 ปี (AOR= 2.81, 95% CI= 1.16-6.76, p=0.021) ความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม (AOR= 2.04, 95% CI= 1.06-3.98, p=0.007) ทัศนคติต่อการใช้พืชกระท่อม (AOR= 1.62, 95% CI= 1.06-2.94, p=0.030) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (AOR= 2.89, 95% CI= 1.40-5.95, p=0.004) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการป้องกัน และควบคุมในการใช้พืชกระท่อมให้เหมาะสมและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย จิตใจ ใช้เป็นข้อมูลเพื่อออกมาตรการ ข้อกำหนดทางสังคมเกี่ยวกับลดการใช้พืชน้ำกระท่อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป</p> ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, ทัศนพรรณ เวชศาสตร์, นลพรรณ ขันติกุลานนท์, ศศิวิมล จันทร์มาลี, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261882 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 4 ปี โรงพยาบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261166 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กอายุ 0–4 ปี ที่มาใช้บริการ ณ กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 59 คน ที่มาใช้บริการเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 และแบบสอบถามการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.944 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-4 ปี มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ100.0 มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100.0 และมีการตัดสินใจให้เด็กอายุ 0–4 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อยู่ในระดับสูง <br />ร้อยละ 100.0 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเด็กมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ซึ่งความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเด็กคือผู้ปกครองที่เป็นผู้ดูแลเด็กและทัศนคติในระดับสูงเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจให้เด็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยจึงเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้ปกครองที่เป็นผู้ดูแลเด็ก เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการป่วยรุนแรงให้เด็กต่อไป</p> เนตรนภา สาสังข์, ธนพล อุทัยกาล, พิมพ์ชนก วรจันทร์, สโรชา แก้วปานกัน Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261166 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261454 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน และผู้ใช้งานระบบ จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยใช้ภาษา PHP, HTML, CSS และ JavaScript ร่วมกับ Bootstrap Framework เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาระบบในส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานเว็บไซต์ (User Interface) รองรับการแสดงผลผ่านหน้าจอทุกอุปกรณ์ และ MySQL เป็นส่วนของการจัดการฐานข้อมูล 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ พัฒนาระบบได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถนำมาระบบมาใช้ในการจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ตรวจสอบผลการตรวจวิเคราะห์ และพิมพ์รายงานสรุป 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ศูนย์วิทยาศาสตร์ เท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.61</p> ไพรินทร์ มีศรี, อัจจิมา มั่นทน, เสาวคนธ์ ชูบัว Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261454 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263808 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์โควิด 19 ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามมาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 4,240 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกนและทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่าง 207 คน ผู้ร่วมการสนทนากลุ่ม จำนวน 25 คน คัดเลือกจากผู้แทนชุมชนที่สามารถให้ข้อมูลได้ เครื่องมืองานวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม (IOC=0.67-1.00) และทำการตรวจสอบความเที่ยงโดยรวมมีค่า 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผา ณ จุดที่พบและทิ้งรวมกับมูลฝอยทั่วไป หน่วยงานที่รับผิดชอบรณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อตั้งแต่ต้นทาง ประชาชนมีความรู้ระดับดี ร้อยละ 39.13 ทัศนคติระดับดี ร้อยละ 49.76 และพฤติกรรมระดับปานกลาง ร้อยละ 85.51 โดยรวมประชาชนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพระดับปานกลาง (x̅ = 3.35, S.D. = 1.14) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ได้รับผลกระทบระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านสุขภาวะทางกาย (x̅ = 4.04, S.D. = 0.90) และด้านสุขภาวะทางสังคม (x̅ = 3.53, S.D. = 0.90) ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ (x̅= 3.35, S.D. = 1.20) และด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือปัญญา (x̅= 2.69, S.D. = 1.40) จากการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มาซึ่งมาตรการป้องกันและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ประชาชนทุกคนคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางทุกครัวเรือนและนำไปทิ้ง ณ จุดรับทิ้งที่กำหนดไว้ ควรมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและประชาชนเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และตั้งคณะทำงานในชุมชนที่สามารถทำงานได้จริงและมีการมอบหมายหน้าที่ชัดเจน</p> วรรณา วัดโคกสูง, ฤทธิรงค์ จังโกฏิ, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง, สุทิน ชนะบุญ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263808 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัวและมูลแพะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/258307 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการใช้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัวและมูลแพะเปรียบเทียบกับปุ๋ยยูรียต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้ (<em>Brassica chinensis L.</em> var. chinensis Mansf) ที่ปลูกในกระถาง โดยได้รับปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัวและมูลแพะโดยให้ปุ๋ย 4 กรรมวิธี คือ 1. ไม่ใส่ปุ๋ย(ชุดควบคุม) 2. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 30 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร 3. ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว 30 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร และ 4. ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลแพะ 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปรด 500 มิลลิลิตรต่อกระถางทุก ๆ 7 วัน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ทำการทดลองทั้งหมด 4 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 4 ซ้ำๆ ละ 5 กระถาง ทั้งหมด 80 ต้น ผลการทดลอง พบว่า การให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว ให้ผลดีกว่าการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลแพะ แต่ยังคงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการให้ปุ๋ยยูเรีย ที่อายุ 56 วัน หลังหยอดเมล็ดปลูก มีความสูง 20.94 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 23.82 เซนติเมตร มีจำนวนใบ 14.20 ใบต่อต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์ 44.88 SPAD-Reading น้ำหนักต้นสด 59.28 กรัมต่อต้น น้ำหนักต้นแห้ง 3.85 กรัมต่อต้น น้ำหนักรากสด น้ำหนักรากแห้ง 11.17 และ 1.82 กรัมต่อต้น โดยการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว ให้ผลดีกว่าการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลแพะ อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P&lt;0.05) โดยการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว มีผลให้ผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้ มีความสูง 18.17 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 19.30 เซนติเมตร มีจำนวนใบ 11.00 ใบต่อต้น น้ำหนักต้นสด 20.74 กรัมต่อต้น น้ำหนักต้นแห้ง 1.74 กรัมต่อต้น น้ำหนักรากสด น้ำหนักรากแห้ง 5.00 และ 0.76 กรัมต่อต้น ตามลำดับ และปริมาณคลอโรฟิลล์ 40.55 SPAD-Reading ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้น การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมูลวัวสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตผักประเภทกินใบได้</p> ชินกร จิรขจรจริตกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/258307 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน กรณีศึกษาตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263807 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 2) วิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพของนักเรียนจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการลดผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ตามคู่มือของกรมอนามัยและแบบสอบถามการได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 4 มิติ ประกอบด้วย มิติด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณหรือปัญญา จากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จำนวน 100 คน คัดเลือกด้วยวิธีแบบเจาะจง มีการสนทนากลุ่ม จำนวน 36 คน คัดเลือกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนตามรูปแบบคณะกรรมการบริหารโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาในการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนไม่ผ่านมาตรฐานคือ การจัดการมูลฝอย การจัดการส้วมและสิ่งปฏิกูล สุขาภิบาลอาหารน้ำบริโภค การจัดการสาธารณภัย ผลการศึกษาด้านผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 4 มิติ พบว่า นักเรียนได้รับผลกระทบจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนโดยรวมระดับน้อยที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=0.68, S.D.=0.07) เมื่อจำแนกรายมิติ พบว่า ผลกระทบในมิติทางด้านร่างกายระดับน้อยที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=0.90, S.D.=0.32) มิติด้านจิตใจ พบว่า ได้รับผลกระทบอยู่ในระดับน้อย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=1.02, S.D.=0.24) มิติด้านสังคมรวมถึงมิติทางจิตวิณญาณหรือปัญญา พบว่า นักเรียนในโรงเรียนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพระดับน้อยที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=0.26, S.D.=0.17) และ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=0.5, S.D.=0.31) ตามลำดับ ข้อเสนอ เชิงนโยบายจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำไปปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพในด้านความปลอดภัยการจราจรในโรงเรียน โดยการจัดทำช่องทางจราจรในบริเวณโรงเรียนให้ชัดเจนและจัดอบรมการปฏิบัติตาม วินัยจราจรให้กับนักเรียนในโรงเรียน</p> เบญญาภา ไชยเมือง, ฤทธิรงค์ จังโกฏิ, กาญนิถา ครองธรรมชาติ, สุทิน ชนะบุญ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263807 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 ผลกระทบของขนาดภาพเอกซเรย์ทรวงอกต่อกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องและประสิทธิภาพของโมเดล การพยากรณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261311 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ว่าขนาดที่แตกต่างกันของภาพเอกซเรย์ทรวงอกส่งผลต่อเวลาและประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเครื่อง กลุ่มตัวอย่างเป็นภาพเอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ www.kaggle.com จำนวน 15,153 ภาพ โดยภาพทั้งหมดมีขนาด 299x299 พิกเซล ในการทดลองแบ่งออกเป็น 2 แนวทางได้แก่ การลดขนาดของภาพให้มีขนาด 20x20 และ 30x30 พิกเซล และการเพิ่มขนาดของภาพให้มีขนาด 800x800 และ 1,024x1,024 พิกเซล โดยการวิจัยนี้ได้ใช้อัลกอริทึมป่าสุ่ม (Random forest) ในการสร้างโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องและวัดประสิทธิภาพ สำหรับการเปรียบเทียบประสิทธิภาพได้ใช้ตัวชี้วัด 2 ค่าได้แก่ ค่าความถูกต้อง (Accuracy) และระยะเวลาการเรียนรู้ (Execution times) ผลการศึกษาพบว่า ภาพเอกซเรย์ทรวงอกต้นฉบับขนาด 299x299 พิกเซล มีค่าความถูกต้องร้อยละ 86.26 ใช้เวลาเรียนรู้เฉลี่ย 9.17 นาที เมื่อปรับลดขนาดภาพเป็น 20x20, 30x30 พิกเซล มีค่าความถูกต้องเป็นร้อยละ 84.83 และ 85.60 ใช้เวลาเรียนรู้ 5.51 และ 8.09 นาทีตามลำดับ และเมื่อเพิ่มขนาดภาพเป็น 800x800 และ 1,024x1,024 พิกเซล มีค่าความถูกต้องเป็นร้อยละ 86.65 และ 86.70 ใช้เวลาเรียนรู้ 28.56 และ 31.06 นาทีตามลำดับ <br />โดยผลการศึกษาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าขนาดของภาพเอกซเรย์ทรวงอกมีผลทำให้เวลาของการเรียนรู้ของเครื่องและประสิทธิภาพการจำแนกภาพแปรผันตาม</p> เกรียงศักดิ์ โยธาภักดี, ธนัญชัย บุญหนัก, ศราวุฒิ เจริญคุณ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261311 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 ปกวารสาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267291 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267291 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 ปกใน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267292 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267292 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267293 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267293 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700 สารบัญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267294 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267294 Wed, 30 Aug 2023 00:00:00 +0700