https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/issue/feed
Journal of Variety in Language and Literature
2025-04-26T10:40:35+07:00
Assoc. Prof.Dr. Busanoe Triwiset
thithatphu@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสาร วิวิธวรรณสาร เป็นวารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม เกิดขึ้นจากการความร่วมมือของนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เป็นวารสารรายสี่เดือน โดยกำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่</p> <p>ฉบับแรกอยู่ในเดือน มกราคม- เมษายน ฉบับที่สองอยู่ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมและฉบับที่สามอยู่ในเดือน กันยายน-ธันวาคม</p> <p>กองบรรณาธิการวารสารเปิดรับต้นฉบับบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ตามข้อกำหนดของวารสาร โดยมีขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมสาขาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดังนี้ ภาษาไทย วรรณคดีไทย คติชนวิทยา ภาษาศาสตร์ การสอนภาษา และ ภาษาเพื่อการสื่อสาร</p> <p>บทความที่ส่งให้วารสารเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความ โดยเป็นการประเมินแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย โดยที่ผู้ประเมินและผู้เขียนทั้งสองฝ่ายไม่ได้อยู่ในองค์กรเดียวกัน</p> <p>ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความอาจจะได้รับคำแนะนำให้แก้ไขบทความต้นฉบับตามที่ผู้ทรงคุณวุฒินำเสนอ</p>
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/280929
การวิเคราะห์คำเรียกชื่อปลาภาษาเขมรตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
2025-02-18T11:30:09+07:00
สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล
watsomkiat@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และจัดกลุ่มคำเรียกชื่อปลาภาษาเขมร และ 2) วิเคราะห์แวดวงความหมายที่ปรากฏในคำเรียกชื่อปลาภาษาเขมร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากพจนานุกรมภาษาเขมร ฉบับราชบัณฑิตยสภากัมพูชา (2022) และหนังสือภาษาเขมร ได้แก่ ប្រភេទត្រីរស់នៅក្នុងដែនទឹកសាបនៃប្រទេសកម្ពុជា (2019) และ ប្រភេទត្រីសមុទ្រនៅព្រះរាជអាណាចក្រកម្ពុជា (2008) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประยุกต์แนวคิดแนวคิดอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ที่เสนอโดย Ottenheimer (2006) และ Nida (1979) ผลการวิเคราะห์และจัดกลุ่มคำเรียกชื่อปลาภาษาเขมรตามการใช้คำแบ่งเป็น 1) คำเดี่ยวหรือคำมูล 2) คำประสม และ 3) คำหลักกับหน่วยขยาย หน่วยขยายอาจเป็นคำขยายเดี่ยวหรือกลุ่มคำขยาย ส่วนผลการวิเคราะห์แวดวงความหมายที่ปรากฏในคำเรียกชื่อปลาภาษาเขมรพบ 6 กลุ่ม คือ 1) แวดวงความหมายเกี่ยวกับลักษณะของปลา 2) แวดวงความหมายเกี่ยวกับสัตว์ พืช และคน 3) แวดวงความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ 4) แวดวงความหมายเกี่ยวกับของกินและของใช้ 5) แวดวงความหมายเกี่ยวกับแร่ และ 6) แวดวงความหมายอื่น ๆ </p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/282601
ลักษณะภาษาที่ผิดกฏหมายของไทย
2025-03-17T16:26:40+07:00
ถิรวรรณ กลางณรงค์
thirawan.kl@up.ac.th
นลินภัสร์ เมฆเกรียงไกร
nalinpat.pi@up.ac.th
พูนพงษ์ งามเกษม
poonpong.ng@up.ac.th
วรวรรธน์ ศรียาภัย
warawat.sr@up.ac.th
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะภาษาไทยใช้สื่อสารแล้วส่งผลให้ผู้ใช้ภาษามีความผิดตามกฎหมายของไทย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้สัมฤทธิผล ผู้ใช้ภาษาต้องเข้าใจภาษานั้นอย่างดี ไม่ใช้ภาษาผิดกฎหมาย คือภาษาใช้แล้วเกิดการลดคุณค่าของผู้อื่น ส่งผลให้ผู้นั้นเสื่อมเสียงชื่อเสียง องค์ประกอบของการใช้ภาษาผิดกฎหมาย ประกอบด้วย ผู้ส่งสารมีเจตนาอย่างสำนึกรู้ที่จะสื่อสารความรู้ความคิดของตนผ่านสื่อไปยังผู้รับสาร เมื่อผู้รับสารตีความแล้วแสดงปฏิกิริยาตอบกลับไปยังผู้ส่งสาร หากทั้งสองฝ่ายไม่มีคุณธรรม เกิดสื่อสารการล่วงละเมิด ก็เป็นการผิดกฎหมายทั้งทางอาญาและแพ่ง หน่วยภาษาใช้สื่อสารแล้วผิดกฎหมายเป็นข้อความ ประโยคและวลี หรือถ้อยคำและคำก็ได้ มีความหมายตรงหรือความหมายแฝง หากหน่วยภาษาเข้าองค์ประกอบของการใช้ภาษาผิดกฎหมาย หมายความว่าผู้ใช้ภาษาได้กระทำผิดตามกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือประมวลกฎหมายอาญา</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/279481
ภูมิทัศน์ภาษาบริเวณถนนเส้นริมฝั่งแม่น้ำโขงเขตเทศบาลเมืองนครพนมจังหวัดนครพนม
2025-01-14T14:38:34+07:00
อ้อมทิพย์ มาลีลัย
aomthip_k@npu.ac.th
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาและรูปแบบข้อความหลายภาษาที่ปรากฏในป้ายสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนบริเวณถนนริมฝั่งแม่น้ำโขง เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยใช้กรอบแนวคิดของ Siwina (2020) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากป้ายสาธารณะจำนวน 611 ป้าย แบ่งเป็นป้ายภาครัฐ 229 ป้าย (ร้อยละ 37.48) และป้ายภาคเอกชน 382 ป้าย (ร้อยละ 62.52) ผลการศึกษาพบว่า ด้านการใช้ภาษา ภาษาไทยถูกใช้มากที่สุด รองลงมาคือ ภาษาลาว ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม รูปแบบภาษาที่ปรากฏ พบว่า ป้ายหนึ่งภาษา ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทย รองลงมาคือ ภาษาอังกฤษ ส่วนป้ายหลายภาษา ที่พบมากที่สุดคือ ไทย-อังกฤษ ด้านรูปแบบข้อความหลายภาษา ป้ายภาครัฐใช้รูปแบบแปลตรงตัวมากที่สุด รองลงมาคือ แบบแปลบางส่วนและแปลอิสระ ในขณะที่ป้ายภาคเอกชนใช้รูปแบบแปลบางส่วนมากที่สุด รองลงมาคือ แบบแปลอิสระและแปลตรงตัว ผลวิจัยสะท้อนถึงความสำคัญที่ภาครัฐให้ต่อความหลากหลายทางเชื้อชาติในพื้นที่ ซึ่งแสดงถึงการปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนและเวียดนาม ขณะที่ภาคเอกชนมุ่งเน้นสร้างภาพลักษณ์ความเป็นสากล ทั้งสองภาคส่วนยังคงใช้ภาษาไทยเป็นหลักเพื่อคงไว้ซึ่งภาษาประจำชาติ การใช้ภาษาอังกฤษสะท้อนถึงการปรับตัวต่อกระแสโลกาภิวัตน์และความทันสมัย ตลอดจนการแปลข้อความที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/279444
การวิเคราะห์เนื้อหาในสารคดีกลุ่มชาติพันธุ์ไทของบุญยงค์ เกศเทศ
2024-12-12T10:36:24+07:00
สุริยา คำกุนะ
dean.suriyakhamguna@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอด้านเนื้อหาในงานเขียนสารคดีกลุ่มชาติพันธุ์ไทของบุญยงค์ เกศเทศ โดยศึกษาจากงานเขียนสารคดีกลุ่มชาติพันธุ์ไทของบุญยงค์ เกศเทศ จำนวน 8 เรื่อง ผลการศึกษาพบการนำเสนอด้านเนื้อหา คือ 1.ด้านการสร้างที่อยู่อาศัย พบว่าคนกลุ่มชาติพันธุ์ไทจะสร้างบ้านเป็นบ้านไม้หลังใหญ่ ยกพื้นสูง ด้านบนเป็นพื้นที่โล่ง นิยมปลูกสร้างบ้านหรือตั้งหมู่บ้านชุมชนใกล้แหล่งน้ำ เอื้อต่อการเพาะปลูกเพื่อใช้ในการทำการเกษตร 2.ด้านความเชื่อ มีความเชื่อเรื่องเทวดา หมายถึงเชื่อว่าเทวดาอยู่ในภพภูมิที่สูงกว่ามนุษย์ มีอำนาจบันดาลให้มนุษย์ได้รับสิ่งที่ดีงามตามที่ร้องขอ สามารถปกปักรักษามนุษย์ให้รอดพ้นจากสิ่งไม่ดีได้ ความเชื่อเรื่องผี หมายถึงเชื่อว่าวิญญาณของคนที่เสียชีวิตไปแล้วหรือผีบรรพชนคือญาติที่ตายไปแล้วยังคอยคุ้มครองลูกหลานตลอดเวลาต้องทำพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การแสดงความเคารพ การบวงสรวง การเซ่นไหว้ เป็นต้น ความเชื่อเรื่องขวัญ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เป็นเหมือนจิตวิญญาณของมนุษย์ให้ความสำคัญว่าเป็นของสูง และความเชื่อเรื่องกรรม ซึ่งหมายถึงความเชื่อที่เกิดจากอิทธิพลของศาสนาพุทธเชื่อว่าใครทำดีย่อมได้ผลตอบแทนดี และ 3.ด้านพิธีกรรม คนกลุ่มชาติพันธุ์ไทมีพิธีกรรมการขับมดซึ่งเป็นพิธีกรรมของหมอในการเสี่ยงทางหรือวินิจฉัยก่อนทำการรักษาอาการเจ็บป่วย พิธีกรรมในการสู่ขวัญและพิธีกรรมในการแต่งงาน</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278449
การวิเคราะห์ภาษาจากป้ายร้านอาหารและคาเฟในอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรีตามแนวคิดภูมิทัศน์ภาษาศาสตร์
2024-11-26T11:42:19+07:00
พัชรินทร์ เสือสาวะถี
kittysin56@gmail.com
สมปอง มูลมณี
sinsub.yy@bru.ac.th
อภิสรา โคตรโยธา
sinsub.yy@bru.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกภาษาจากป้ายร้านอาหารและคาเฟในอำเภอเมืองจันทบุรีและวิเคราะห์หน้าที่ของภาษาจากป้ายร้านอาหารและคาเฟในอำเภอเมืองจันทบุรี โดยใช้แนวคิดภูมิทัศน์ภาษาศาสตร์ของ Landry and Bourhis ในการวิเคราะห์ภาษาที่ปรากฏและหน้าที่ของภาษา โดยการเก็บข้อมูลจากป้ายร้านอาหารและร้านคาเฟในอำเภอเมืองจันทบุรีทั้งหมดจำนวน 677 ป้าย ผลการวิจัย พบว่า ภาษาที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ในอำเภอเมืองจันทบุรีมีทั้งหมด 7 ภาษา ป้ายร้านอาหารและคาเฟที่พบมากที่สุด คือ ภาษาไทย รองลงมาคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเกาหลี และภาษาอิตาลีตามลำดับ ซึ่งป้ายร้านอาหารและร้านคาเฟในอำเภอเมือง หน้าที่ในการให้ข้อมูลด้านภาษาและการสื่อความหมายมากกว่าหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์และองค์ประกอบการออกแบบ โดยหน้าที่ในการให้ข้อมูลคิดเป็นร้อยละ 62.48 และหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์คิดเป็นร้อยละ 37.52 ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าในอำเภอเมืองจันทบุรีเป็นพื้นที่ พหุภาษา เนื่องจากพื้นที่ในอำเภอเมืองจันทบุรีมีลักษณะเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว มีสถานที่สำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังมีแหล่งซื้อขายอัญมณีในตลาดพลอย และมีการส่งออกผลไม้ ซึ่งถือว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/279166
รูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ
2024-11-26T11:26:07+07:00
พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ
pimpaporn.b@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศและเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชาวจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รายวิชา TCF 224 การฟังและการพูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 37 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นนำ ทบทวนความรู้เดิมและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ผ่านการสนทนา วีดิทัศน์ และกรณีศึกษา ขั้นสอน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ การเสนอคำศัพท์และโครงสร้างประโยค การเสนอเนื้อหา และการฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรมคัดสรร ขั้นสรุป ใช้การอภิปรายและเขียนสรุปโดยผู้เรียน ขั้นวัดและประเมินผล ใช้แบบทดสอบหลังเรียน กิจกรรมคัดสรรทั้ง 8 กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีการบูรณาการทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18) ทั้งด้านจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม สื่อและอุปกรณ์ และการประเมินผล ผลการเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาไทยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียน (ร้อยละ 76.90) สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน (ร้อยละ 52.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เรียนมีคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 51.28 ซึ่งอยู่ในระดับพัฒนาการสูง แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของผู้เรียนชาวต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/281524
ลักษณะหลังสมัยใหม่ในภาพยนตร์เรื่องขุนแผน ฟ้าฟื้น
2025-03-13T08:25:14+07:00
มิ่งมนัสชน จังหาร
mingmanuschon@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะหลังสมัยใหม่ภาพยนตร์เรื่องขุนแผน ฟ้าฟื้น ผลการศึกษา ปรากฏลักษณะหลังสมัยใหม่ 4 ลักษณะ คือ 1) การสร้างความเป็นสัมพันธบท ได้แก่ สัมพันธบทที่ปรากฏในข่าว และสัมพันธบทที่เกิดขึ้นในสังคม 2) การล้อ ได้แก่ การล้อภาพยนตร์เรื่องอื่น ล้อขนบของภาพยนตร์ลักษณะต่าง ๆ และล้อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 3) การผสมผสานความจริงกับความมหัศจรรย์ มีการใช้ความเป็นแฟนตาซีเข้ามาผสมผสานในเนื้อเรื่องเพื่อให้มีความสนุกสนาน 4) การใช้รูปแบบวรรณกรรมยอดนิยม โดยภาพยนตร์เรื่องขุนแผน ฟ้าฟื้น เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี คอเมดี ซึ่งผู้ชมเข้าถึงง่าย อาศัยรูปแบบและประเภทของภาพยนตร์เป็นพาหะในการนำพาแนวความคิดไปสู่ผู้ชม จากลักษณะความเป็นสมัยใหม่ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าภาพยนตร์เรื่องขุนแผน ฟ้าฟื้น เป็นภาพยนตร์ที่ได้เข้าร่วมกระแสทางสังคมวัฒนธรรมและความเป็นหลังสมัยใหม่ และเป็นภาพยนตร์ที่วิพากษ์ภาวะหลังสมัยใหม่ได้โดดเด่นและน่าสนใจ</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/279570
คุณค่าคำสอนผู้หญิงล้านนาในบทเพลงของ จรัล มโนเพ็ชร
2025-02-21T11:43:26+07:00
กานต์พิชชา เชื้อสะอาด
thirawan.cartoon@gmail.com
อลิศรา แก้วชะเนตร
sinsub.yy@bru.ac.th
มัฆวาน ภูมิเจริญ
sinsub.yy@bru.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้กล่าวถึงคุณค่าของคำสอนผู้หญิงล้านนาเมื่อปรากฏในบทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร ผู้ซึ่งได้ฉายาว่าเป็นราชาเพลงโฟล์คซองคำเมือง ส่วนมากบทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร กล่าวถึงวิถีชีวิตชาวล้านนา และมีบทเพลงจำนวนหนึ่งกล่าวถึงคำสอนผู้หญิงไว้ด้วย เช่นตัวอย่างที่ยกมา 10 บทเพลง ได้แก่ สาวเชียงใหม่ ล่องแม่ปิง เจ้าดวงดอกไม้ นางนอน กำแม่ เจ้นดินเจ้นฟ้า น้ำใจสาวเหนือ สามปอยหลวง ยินดีเจ้า และรางวัลแด่คนช่างฝัน บทเพลงเหล่านี้ มีทำนองนุ่มนวลชวนฝันและยังมีเนื้อเพลงกล่าวถึงคำสอนหญิงสาวในสังคมล้านนาด้วย มีทั้งที่เป็นคำสอนโดยตรง และสอนแบบโดยอ้อม เมื่อสรุปเนื้อหาคำสอนโดยรวม แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ความประพฤติส่วนตน เช่น รักในเกียรติและศักดิ์ศรีผู้หญิง ภูมิใจในล้านนา 2) การครองตนในสังคม เช่น การเลือกคู่ การเชื่อฟังพ่อแม่ การแก้ปัญหาชีวิต 3) การครองเรือนในฐานะภรรยาที่ดี 4) ความรัก สอนให้รักมั่นคง รักเดียว รักษาสัจจะ 5) ประเพณีวิถีชีวิตและคติความเชื่อ ซึ่งการเผยแพร่คำสอนผู้หญิงล้านนาผ่านบทเพลงที่ไพเราะนั้น ทำให้คำสอนถูกเผยแพร่ไปในวงกว้าง เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมอีกแบบหนึ่ง ที่ทำให้ผู้คนยุคต่อไปทั้งในสังคมล้านนาและสังคมต่างวัฒนธรรมได้ทราบว่า มีคำสอนที่ลึกซึ้งเหล่านี้ในสังคมล้านนามานานแล้ว</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/280136
กลวิธีการนำเสนอตัวละครหญิงในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนของ พงศกร
2025-01-14T14:45:17+07:00
ภูรีรัตน์ สายลุน
lookplaphureerat@gmail.com
ราชันย์ นิลวรรณาภา
sinsub.yy@bru.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอตัวละครหญิงในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนของพงศกร จำนวน 6 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการนำเสนอตัวละครหญิง 3 กลวิธี คือ กลวิธีการนำเสนอด้านบุคลิกภาพนักสืบของตัวละครหญิง กลวิธีการนำเสนอด้านปฏิสัมพันธ์ และกลวิธีการนำเสนอด้านสถานภาพและบทบาท ซึ่งกลวิธีการนำเสนอตัวละครหญิงให้มีความสามารถในการไขคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนมีการนำเสนอกลวิธีด้านบุคลิกภาพที่หลากหลาย ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความละเอียดรอบคอบ ใจเย็น อดทนอดกลั้น มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความกล้าหาญ เป็นคนช่างสังเกต กล้าตัดสินใจ มีไหวพริบปฏิภาณสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สามารถคลี่คลายเรื่องราวในคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นได้ด้วยความถูกต้องและยุติธรรม กลวิธีการนำเสนอด้านปฏิสัมพันธ์พบปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวและสังคม โดยส่วนใหญ่นำเสนอการช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละ และให้อภัย และกลวิธีการนำเสนอด้านสถานภาพพบการนำเสนอบทบาทที่หลากหลาย เช่น บทบาทความเป็นลูกสาว บทบาทความเป็นแม่ และบทบาทความเป็นภรรยา เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง โดยมีสถานภาพและบทบาทของตัวละครหญิงในบริบททางสังคมที่มีมิติวัฒนธรรมของชนชั้น ชาติพันธุ์ เพศ สถานะ ความเชื่อ เพื่อสร้างความยอมรับ ความเท่าเทียมกันระหว่างตัวละครชายและตัวละครหญิง</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/280638
การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ โดยใช้เพลงร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2025-01-14T13:21:54+07:00
สุกัญญา แย้มยิ้ม
sukanya.yg66@ubru.ac.th
นิศานาจ โสภาพล
sinsub.yy@bru.ac.th
ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์
sinsub.yy@bru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ โดยใช้เพลงร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เพลงร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียง คำควบกล้ำ โดยใช้เพลงร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบก จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่ม แบบกลุ่มด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาห้วยข่าเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน และ 3) แบบสอบถาม ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่าที <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>1. ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านออกสียงคำควบกล้ำ โดยใช้เพลงร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย 27.84 คิดเป็นร้อยละ 92.80 ซึ่งตรงตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ผลการเปรียบเทียบโดยใช้เพลงร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/279984
การเปรียบเทียบผลการสื่อสารภาษาไทย ระหว่างการถ่ายเสียงด้วยสัทอักษรกับวิธีการถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน โดยใช้คู่มือการสนทนาสำหรับชาวต่างประเทศ
2025-01-21T09:18:08+07:00
จุลณีย์ บุญมี
krujaajaa@gmail.com
วาสินี มีเครือเอี่ยม
sinsub.yy@bru.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือสนทนาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติระหว่างวิธีการถ่ายเสียงด้วย สัทอักษรกับวิธีการถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน 2) เปรียบเทียบผลการสื่อสารภาษาไทยของผู้เรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยการใช้คู่มือสนทนาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติระหว่างวิธีการถ่ายเสียงด้วยสัทอักษรกับวิธีการถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมันและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน และการใช้คู่มือสนทนาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติระหว่างวิธีการถ่ายเสียงด้วยสัทอักษรกับวิธีการถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง quasi - experimental design กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับต้นที่ลงเรียนหลักสูตรภาษาไทยเบื้องต้นของสถาบัน we learn Thai จังหวัดเชียงใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2567 จำนวน 20 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง Purposive sampling ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือสนทนาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติระหว่างวิธีการถ่ายเสียงด้วยสัทอักษรและอักษรโรมันมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.30/92.67 และ 80.10/90.93 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลการสื่อสารของนักเรียนที่เรียนด้วยคู่มือสนทนาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติด้วยวิธีการถ่ายเสียงด้วยสัทอักษรและอักษรโรมัน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน และการใช้คู่มือสนทนาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติด้วยวิธีการถ่ายเสียงด้วยสัทอักษรอยู่ในระดับมาก และพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและการใช้คู่มือสนทนาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติด้วยวิธีการถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมันอยู่ในระดับมาก เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/277671
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะ
2024-10-28T12:06:54+07:00
ฐานิตา พรหมบุตร
thanita.prombut@gmail.com
อลงกต ยะไวทย์
Alongkot_yaw@vu.ac.th
ชิตพล ดีขุนทด
Chitapol_dee@vu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ของ Kemmis & McTaggart โดยดำเนินการปฏิบัติการ 2 วงรอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านหนองยาง จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบฝึกทักษะ 3) แบบประเมินทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน 5) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 6) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบการแจกแจงโค้งปกติของคะแนนการประเมินทักษะโดยใช้สถิติ Kolmogorov-Smirnov พบว่า แจกแจงของคะแนนเป็นโค้งไม่ปกติ จึงทดสอบโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก (Wilcoxon Signed-Ranks Test) และสร้างข้อสรุปโดยการพรรณนา</p> <p> ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่า ผลการปฏิบัติการวงรอบที่ 1 นักเรียนบางคนไม่สามารถนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในสาระสำคัญของเรื่องได้ เขียนเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง มีการเขียนฉีกคำ เขียนสะกดคำผิด ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย นักเรียนขาดสมาธิ อธิบายคำตอบไม่ชัดเจน และส่งงานล่าช้า ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 3 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่ผู้วิจัยกำหนด จึงนำผลไปปรับปรุงในปฏิบัติการวงรอบที่ 2 ทำให้นักเรียนสามารถเขียนเรื่องตามจินตนาการได้และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ผลการประเมินทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการในวงรอบที่ 2 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และมีส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 0.21</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/280990
การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามทฤษฎีสหบทเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2025-02-18T11:21:15+07:00
สิริกันยา นรินทร์
cevep.everq@gmail.com
ขวัญชนก นัยจรัญ
sinsub.yy@bru.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามทฤษฎีสหบทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2 </sub>ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามทฤษฎีสหบท กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองอุมลัว โดยผู้วิจัยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามทฤษฎีสหบท 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงสร้างสรรค์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S<strong>.</strong>D.) และทดสอบค่าที <strong>(</strong>t<strong>-</strong>test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามทฤษฎีสหบทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 80.83/80.62 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 2) ความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276710
การศึกษาการออกเสียงพยัญชนะภาษาไทยในการสื่อสารของยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีใต้ที่พูดภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
2024-09-23T20:12:06+07:00
ชมชนก ธนาวีราภรณ์
sinsub.yy@bru.ac.th
อนันต์ ลากุล
anan.la@vru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะภาษาไทยในการสื่อสารของยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีใต้ ที่มีการพูดภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จำนวน 5 คน ผ่านช่องยูทูบจำนวน 4 ช่อง รวมทั้งหมด 8 วิดีโอ ตามแนวคิดการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของการออกเสียงพยัญชนะ โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ คลิปวิดีโอการสื่อสารภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีใต้ จำนวน 8 คลิปวิดีโอ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะภาษาไทยในการสื่อสารของยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีใต้ มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว เป็นการออกเสียงพยัญชนะต้นคลาดเคลื่อน 2. ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะต้นควบ เป็นการออกเสียงพยัญชนะต้นควบในคำที่จำเป็นต้องออกเสียงพยัญชนะต้นควบ และ 3. ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะท้าย </p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/284228
บทบรรณาธิการ
2025-04-26T09:05:07+07:00
บุณยเสนอ ตรีวิเศษ
wiwitwannasaan@gmail.com
<p>ปีที่เก้าเล่มยี่สิบห้าวารสาร</p> <p>ยังยืนกรานเรื่องภาษากล้าศักดิ์ศรี</p> <p>เป็นสะพานเชื่อมความคิดมิตรไมตรี</p> <p>เป็นเวทีเผยคุณค่าวิชาการ</p> <p>วารสารวิวิธวรรณสาร (Journal of Variety in Language and literature) เล่มนี้ เป็นปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2568) เป็นเล่มที่ 25 แล้ว สำหรับการเดินทางของเครือข่ายนักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรม ในเล่มนี้ มีบทความหลากหลายเป็นพิเศษ เพราะมีถึง 14 บทความ โดยอาจจัดกลุ่มเนื้อหาได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่เน้นการวิเคราะห์ภาษา ได้แก่ (1) การวิเคราะห์คำเรียกชื่อปลาภาษาเขมรตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (2) ลักษณะภาษาที่ผิดกฎหมายของไทย (3) ภูมิทัศน์ภาษาบริเวณถนนเส้นริมฝั่งแม่น้ำโขง เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม (4) การวิเคราะห์ภาษาจากป้ายร้านอาหารและคาเฟในอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรีตามแนวคิดภูมิทัศน์ภาษาศาสตร์ กลุ่มที่เน้นการวิเคราะห์วิจารณ์เชิงวรรณกรรม ได้แก่ (5) กลวิธีการนำเสนอตัวละครหญิงในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนของพงศกร (6) คุณค่าคำสอนผู้หญิงล้านนาในบทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร (7) ลักษณะหลังสมัยใหม่ในภาพยนตร์เรื่องขุนแผนฟ้าฟื้น (8) การวิเคราะห์เนื้อหาในสารคดีกลุ่มชาติพันธุ์ไทของบุญยงค์ เกศเทศ และกลุ่มที่เน้นการสอนภาษาและการสื่อสาร ได้แก่ (9) รูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ (10) การศึกษาการออกเสียงพยัญชนะภาษาไทยในการสื่อสารของยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีใต้ที่พูดภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (11) การเปรียบเทียบผลการสื่อสารภาษาไทย ระหว่างการถ่ายเสียงด้วยสัทอักษรกับวิธีการถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน โดยใช้คู่มือการสนทนาสำหรับชาวต่างประเทศ (12) การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามทฤษฎีสหบทเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (13) การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เพลงร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (14) การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะ ขอขอบคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่ส่งบทความคุณภาพมาให้พิจารณา ทำให้ผู้อ่านได้มีตัวเลือกหลากหลายในการเลือกอ่านตามความสนใจและความจำเป็นเฉพาะตน</p> <p>สิบสี่บทปรากฏกล้า</p> <p>เชิญค้นหาอักษราสาร</p> <p>เก่ง ฉลาด รู้ สู่เชี่ยวชาญ</p> <p>ย่อมประกาศอำนาจตน </p>
2025-04-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม