วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan
<p>วิวิธวรรณสาร เป็นวารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม เกิดขึ้นจากการความร่วมมือของนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เป็นวารสารรายสี่เดือน โดยกำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับแรกอยู่ในเดือน มกราคม- เมษายน ฉบับที่สองอยู่ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่สามอยู่ในเดือน กันยายน-ธันวาคม กองบรรณาธิการวารสารเปิดรับต้นฉบับบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ตามข้อกำหนดของวารสาร โดยมีขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมสาขาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดังนี้ ภาษาไทย วรรณคดีไทย คติชนวิทยา ภาษาศาสตร์ การสอนภาษา และ ภาษาเพื่อการสื่อสาร บทความที่ส่งให้วารสารเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความ โดยเป็นการประเมินแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย โดยที่ผู้ประเมินและผู้เขียนทั้งสองฝ่ายไม่ได้อยู่ในองค์กรเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความอาจจะแก้ไขบทความต้นฉบับตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ</p>
th-TH
<p>ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของวารสาร การพิมพ์ซ้ำจะต้องได้ร้บการอนุญาตจากบรรณาธิการวารสาร</p>
thithatphu@gmail.com (Assoc. Prof.Dr. Busanoe Triwiset)
spariyat@gmail.com (Asst. Prof. Dr. Somsak Phansiri)
Mon, 30 Dec 2024 20:19:55 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
บทบรรณาธิการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/280436
<p><strong>บทบรรณาธิการ </strong></p> <p><em> </em><em>กลอนสุภาพ </em></p> <p> ปีที่แปดเล่มยี่สิบสี่สถานี<strong>วิวิธ</strong><strong> </strong> <strong>วรรณสาร</strong>เนรมิตสฤษฎ์วิถี</p> <p> สิบเอ็ดบทพจนารถประกาศมี ปรากฏในเล่มนี้ที่ชวนพินิจ</p> <p><em>ร่ายยาว </em></p> <p> บทความหนึ่ง <strong>กลวิธีทางภาษาที่ถ่ายทอดชุดความคิดในวาทกรรมการเมืองในบทละครเรื่อง “เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาลากผ่านเรา”</strong><strong> </strong>มุ่งศึกษาวาทกรรมที่แทรกซึมเข้าในวิถีชีวิตประจำวัน คืออำนาจวัฒนธรรม์สังคมสร้างสมเป็นตัวบท สะท้อนปรากฏผ่านบทละครโทรทัศน์ ศึกษาตามกระบวนวัตรวิจัยทางวาทกรรม วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ผลิตซ้ำกรอบทางสังคมวัฒนธรรม ที่กดข่มโน้มนำงำความนึกคิดของผู้คน</p> <p> บทความสอง <strong>การเห็นคุณค่าในตนเอง : พลังแห่งความคิดเชิงบวกของตัวละครเยาวชน</strong></p> <p><strong>ในวรรณกรรมรางวัลแว่นแก้ว</strong><strong> </strong>วิธีวิจัยอีกแนวที่มุ่งหมายก้าวพ้นไปจากความเพ้อฝัน ชวนพลิกผันพัฒนาวัฒนธรรมการอ่านในสังคมไทย เพื่อประโยชน์ใช้การอ่านให้มีความหมายและเพื่อคุณภาพชีวิต ย่อมขึ้นอยู่กับการครุ่นพินิจย้อนคุณค่าในตัวตน ก้าวเดินสู่หนทางพัฒนาสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดี</p> <p> บทความสาม เมื่อเชื่อมั่นว่าผู้เรียนมีความสามารถ<strong> ผลของกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติต่อความคงทนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี </strong>เป็นการศึกษาตามกระบวนวิธีทดลองทางการศึกษาด้วยกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนา ให้นักศึกษามีคะแนนผลสัมฤทธิ์มากกว่าก่อนอย่างมีนัยสำคัญ</p> <p> บทความสี่ <strong>การสร้างการรับรู้เพื่อส่งเสริมการตลาดด้วยเรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ โอทอปแคฝรั่ง จังหวัดสระแก้ว</strong><strong> </strong>บรรลุผลแล้วเป็นผลสำเร็จ โดยผู้ประกอบการทั้ง 7 แหล่ง แถลงข้อมูลให้ประสบการณ์ ก่อเกิดแรงแรงบันดาลการเรียนรู้สู่ทักษะอาชีพไกลกว้าง ทั้งการสร้างเรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ของโรงเรียน เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนผ่านสื่อสังคมที่หลากหลาย</p> <p> บทความห้า <strong>ความป่วยไข้ของเพศหญิงในนวนิยายเรื่อง “หนึ่งนับวันนิรันดร” </strong>การเชื่อมโยงของระบบคิดปิตาธิปไตยสะท้อนผ่านนวนิยายที่ขยายเรื่องราวความป่วยไข้ของเพศหญิง ที่ความจริงในเรื่องเล่าอาจกล่าวได้ว่า แม้แต่การเยียวยาบำบัดอาการป่วยไข้ ก็ล้วนวิเคราะห์ได้ในการผลิตซ้ำแนววิถีสังคมที่นิยมผู้ชายเป็นใหญ่ทั้งสิ้น</p> <p> บทความหก <strong>การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเมืองเชียงแสนบนพื้นฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อรองรับมหกรรมศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย </strong><strong>2023</strong> มุ่งศึกษาพยายามวิเคราะห์สังเคราะห์ ให้เกิดการสร้างสรรค์ที่เหมาะกับการณ์สมัยของศิลปกรรม ด้วยหลักฐานตำนาน พงศาวดาร เอกสารทุติยภูมิ ปูมเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน ที่ผ่านการศึกษาตามแบบแผนหลายหน่วยงานเข้ามีส่วนร่วมศรัทธา ผลวิจัยที่ปรารถนาคือความทันสมัย ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เกิดเศรษฐกิจที่แบ่งปันรายได้ทั้งในวงธุรกิจและวงชาวบ้าน</p> <p> บทความเจ็ด <strong>การพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี</strong><strong> </strong>เป้าหมายเชิงพื้นที่คือกลุ่มสตรีทอเสื่อกกจันทบูร ให้เจริญรุดหน้าเพิ่มพูนด้วยวิธีวิจัยแบบมีส่วนร่วมในหลายแง่มุมหลากมิติ เพื่อก่อให้เกิดการผลิผลิตสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ผลวิจัยใช้นำต่อยอดความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายและท้าทาย</p> <p> บทความแปด <strong>บทเพลงประกอบซีรีส์วาย: ลักษณะแนวคิดด้านความรักประเภทชายรักชาย </strong>มุ่งศึกษาตีความหมายวรรณกรรมเพลงยุคใหม่ที่ปรากฏประกาศ สู่ความเข้าใจรสชาติแห่งเพศวิถี ความรัก ความต้องการที่วิวัฒน์ไปไกล ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจชีวิตมนุษย์ผ่านวรรณกรรมเพลง ซึ่งไม่ได้เพียงมุ่งบรรเลงเพื่อความหรรษา หากมีเจตนาที่แอบแฝงด้วยรสนิยมที่หลากหลายเหลือจะกล่าว</p> <p> บทความเก้า<strong> </strong>มองอัตลักษณ์ผ่านการกระทำ<strong> วัจนกรรมการตั้งสถานะเฟซบุ๊กของนักศึกษาคณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี</strong><strong> </strong>การศึกษาตามทฤษฎีวัจนกรรม ที่พบการปรากฏซ้ำของการตั้งสถานะเฟซบุ๊กของนักศึกษา แบ่งออกมาเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มที่ยึดถือการชี้นำและสั่งการ กลุ่มชื่นชอบไขขานสานสนทนา กลุ่มมีศรัทธารู้สารู้สึก และสุดท้ายคือกลุ่มสำนึกผูกมัด</p> <p><strong> </strong><strong> </strong>บทความสิบ<strong> </strong><strong>ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมอาหารประเภทกะละแมในประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี</strong><strong> </strong>มุ่งศึกษาตามกระบวนวิธีการวิจัยทางภูมิปัญญาไทย ผลวิจัยสะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมทางอาหารที่นำความหวานชื่นสู่ชีวิต ต่อยอดแนวคิดสู่การสร้างอาชีพในครอบครัวชุมชน ตลอดจนผลิดอกผลสู่การเรียนรู้พัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มพูนผลกำไร</p> <p><strong> </strong>บทความสิบเอ็ด<strong> </strong><strong>การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ </strong><strong>1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะ</strong> การศึกษาที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนภาษาไทย และร่วมผลักดันการศึกษาให้สมสมัยสู่ความเจริญวิวัฒน์พัฒนา</p> <p><strong> </strong></p> <p><em>กาพย์ยานี 11 </em></p> <p> สิบเอ็ดบทกำหนดรู้ การหยัดอยู่มิห่างเหิน</p> <p> ฟันฝ่ากล้าเผชิญ ดำรงวรรณบรรณพิภพ</p> <p><strong>บุณยเสนอ ตรีวิเศษ</strong></p> <p><strong>บรรณาธิการ</strong></p>
บุณยเสนอ ตรีวิเศษ
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/280436
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
กลวิธีทางภาษาที่ถ่ายทอดชุดความคิดในวาทกรรมการเมือง ในบทละครเรื่อง “เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาลากผ่านเรา”
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276965
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ถ่ายทอดชุดความคิดในวาทกรรมการเมืองในบทละครเรื่อง “เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาลากผ่านเรา” ซึ่งออกกาศเมื่อปี 2565 ทางช่อง one31 และเว็บไซต์ movie.trueid.net จำนวนทั้งสิ้น 8 ตอน โดยใช้กรอบ 3 มิติ ตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ในการศึกษาบทสนทนาและบทบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าผู้เขียนบทละครใช้กลวิธีทางภาษาทั้งหมด 9 รูปแบบ ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้โวหารภาพพจน์ การกล่าวตำหนิ การซ้ำกระสวนประโยค การแสดงทัศนภาวะ การใช้สหวาทกรรม การใช้การเปรียบเทียบ การล้อเลียนและเสียดสีและการใช้สหบท ถ่ายทอดชุดความคิด จำนวน 3 ชุดความคิด ประกอบด้วย 1) ชุดความคิดเสรีนิยมและความเท่าเทียมของมนุษย์ 2) ชุดความคิดการเมืองเป็นเรื่องปกติในชีวิต และ 3) ชุดความคิดอำนาจในระบบการศึกษา แต่ละชุดความคิดมีการปะทะโต้แย้งไปมาระหว่างฝ่ายผู้ครองอำนาจนำและฝ่ายต่อต้าน จะเห็นได้ว่าผู้เขียนบทละครมุ่งเสนอให้คนดูละครในฐานะผู้บริโภควาทกรรมเห็นว่าการเมืองได้แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันของพวกเขา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น นอกจากนั้น บทละครยังปลูกฝังความคิดของผู้คนให้ตีความการใช้อำนาจอย่างที่ตัวละครมอง</p>
เอกชัย แสงโสดา, สุนทรี โชติดิลก
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276965
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การเห็นคุณค่าในตนเอง: พลังแห่งความคิดเชิงบวกของตัวละครเยาวชน ในวรรณกรรมรางวัลแว่นแก้ว
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278565
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลังแห่งความคิดเชิงบวกด้านการเห็นคุณค่าในตนเองของตัวละครเยาวชนในวรรณกรรมรางวัลแว่นแก้ว วิธีวิจัยเริ่มจากรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลตัวบทวรรณกรรม นวนิยายสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัลแว่นแก้ว จำนวน 4 เรื่อง และข้อมูลแนวคิดทฤษฎี คือ แนวคิดการคิดเชิงบวก และแนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเอง จากนั้นจึงเก็บข้อมูลในตัวบทด้วยกระบวนการอ่านคร่าว ๆ อ่านเก็บความคิด และอ่านละเอียด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดระบบ ตีความ และสังเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ตัวละครเยาวชนสะท้อนพลังการเห็นคุณค่าในตัวเองด้านการคิดเชิงบวก 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความมั่นใจและการมองโลกในแง่ดีสู่การรับรู้ว่าตนมีความสามารถ 2) ความเชื่อมั่นและศรัทธาสู่การรับรู้ว่าตนมีความสำคัญ 3) ความกล้าหาญและมุ่งมั่นสู่การรับรู้ว่าตนมีอำนาจ และ 4) ความยึดมั่นในคุณธรรมสู่การรับรู้ว่าตนมีคุณความดี ในภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่าวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้วมีกลวิธีนำเสนอพัฒนาการทางความคิดของตัวละครทำหน้าที่เป็นเครื่องมือชี้แนะเยาวชนเกี่ยวกับการค้นหา “ตน” เพื่อ “พบตน” เพราะเยาวชนจะเกิดพัฒนาการทางความคิดเชิงบวกจากการค้นหาตนเอง การเข้าใจตนเอง และการเห็นคุณค่าในตนเอง ผ่านอิทธิพลและวิธีค้นหาตนเองจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันสังคม เพื่อให้เยาวชนมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างมีสติ ทำให้ต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขในชีวิตได้</p>
ปาริชาต โปธิ
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278565
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ผลของกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติต่อความคงทนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276615
<p>ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษถือเป็นสิ่งสำคัญในการติดต่อสื่อสารในระดับโลก เนื่องจากเป็นภาษากลางที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในธุรกิจ ชีวิตประจำวัน การศึกษา และวัฒนธรรม การมีทักษะนี้ช่วยให้บัณฑิตสามารถเชื่อมโยงกับผู้คนจากหลากหลายประเทศ สร้างโอกาสการทำงานและเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งใน soft skills ที่สำคัญ ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกับทีม การแก้ไขปัญหา และการปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และศึกษาความคงทนในระยะยาวของทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาจากกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 50 คน จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กันคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการเรียนจำนวน 5 แผน ข้อสอบก่อนเรียน ข้อสอบหลังเรียน และข้อสอบหลังเรียนไปแล้ว 1 เดือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test dependent) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ จากการทดสอบความคงทนของทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนผ่านไป 1 เดือน พบว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
ธิษณา ศรัทธารัตน์ธนา, วิไลพรรณ สุรินทร์ธรรม, ธิดารัตน์ ทิพย์ประเสริฐ
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276615
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การสร้างการรับรู้เพื่อส่งเสริมการตลาดด้วยเรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ โอทอปแคฝรั่ง จังหวัดสระแก้ว
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278191
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเรื่องเล่าทางการตลาดของโอทอปแคฝรั่ง จังหวัดสระแก้ว “โอทอปแคฝรั่ง” เป็นโครงการของโรงเรียนอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยโรงเรียนตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนไทยกัมพูชา ให้การศึกษาแก่ผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในรายวิชา คหกรรมศาสตร์ แก่นักเรียนที่มีความสนใจเลือกประกอบอาชีพทางด้านนี้ในอนาคต ทางโรงเรียนสนับสนุนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติทำขนมหวานและเบเกอรี่ฝึกจำหน่ายโดยมีแบรนด์สินค้าเป็นของโรงเรียนคือ “โอทอปแคฝรั่ง” โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติเป้าหมายของงานวิจัย โดยผู้ให้ข้อมูลของงานวิจัยนี้เป็นผู้ประกอบการโอทอปแคฝรั่ง จำนวนทั้งหมด 7 คน ผลการวิจัยที่ได้เป็นเรื่องเล่าทางการตลาดของโอทอปแคฝรั่งเผยแพร่ผ่านสื่อดิจิทัลและสื่อประสม เนื้อหาเรื่องเล่าประกอบด้วย มิติ 5 ด้านด้วยกัน คือ ที่มาของผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ คุณค่าของผลิตภัณฑ์ การโน้มน้าวการซื้อ และความเป็นไปได้ในการซื้อ</p>
ณัตตยา เอี่ยมคง
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278191
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ความป่วยไข้ของเพศหญิงในนวนิยายเรื่อง หนึ่งนับวันนิรันดร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278592
<p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความป่วยไข้ของเพศหญิงในนวนิยายเรื่อง <em>หนึ่งนับวันนิรันดร</em> บทประพันธ์ของ กิตติศักดิ์ คงคา ที่เชื่อมโยงกับระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นได้แก่ 1) ความป่วยไข้ของเพศหญิงกับเรื่องเหนือธรรมชาติ 2) ความป่วยไข้ของเพศหญิงกับการบำบัด 3) ความป่วยไข้ของเพศหญิงในฐานะกลวิธีการเล่าเรื่อง 4) ความป่วยไข้ การเมือง ความเป็นอื่น ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทนำเสนอให้เพศหญิงผู้ป่วยไข้เชื่อมโยงกับเรื่องเหนือธรรมชาติผ่านปรากฏการณ์การเดินทางข้ามเวลาและวิญญาณสวมร่าง เมื่อพิจารณาการบำบัดอาการป่วยไข้ของเพศหญิงพบว่า ตัวบทนำเสนอการใช้ยาและการไม่ใช้ยาควบคู่กันไป ซึ่งการบำบัดดังกล่าวไม่ได้ทำให้อาการป่วยไข้ของเพศหญิงดีขึ้น น่าสนใจคือผู้เขียนนำมุมมองของตัวละครที่ป่วยไข้มาใช้เป็นกลวิธีการเล่าเรื่อง โดยการเล่าเรื่องผ่านสายตาของผู้ป่วยทำให้เรื่องราวขาดช่วง ไม่ปะติดปะต่อ เสมือนการรับรู้ของผู้ป่วยด้วยโรคทางสมอง นอกจากนั้น ตัวบทยังเชื่อมโยงตัวละครเพศหญิงผู้ป่วยไข้กับการแสดงทัศนะทางการเมืองและความเป็นอื่นในระบอบชายเป็นใหญ่ ซึ่งโดยสรุปแล้ว บทความเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ความป่วยไข้ของเพศหญิงไม่ใช่เพียงความผิดปกติทางร่างกายแต่ยังได้รับการนำเสนอภายใต้วิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่</p>
อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278592
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเมืองเชียงแสนบนพื้นฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อรองรับมหกรรมศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278131
<p> งานวิจัยฉบับนี้ มีจุดประสงค์ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน และเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมร่วมสมัยจากข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน มีขั้นตอนการศึกษา ประกอบด้วย ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนจากเอกสารปฐมภูมิประเภทตำนาน พงศาวดาร และเอกสารทุติยภูมิประเภทงานประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ นำข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อจัดทำภาพจิตรกรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเชียงแสน ตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ศิลปิน นักวิจัย และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ โดยวิธีการประชุมแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ สำหรับจัดทำภาพจิตรกรรมประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน เริ่มตั้งแต่ยุคราชวงศ์ลวจักราช พ.ศ. 1181 ถึง ปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงตามยุคสมัย ได้แก่ ช่วงที่ 1 ยุคราชวงศ์ลวะจักราช พ.ศ. 1181 - 1802 จำนวน 6 ภาพ, ช่วงที่ 2 ยุคราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1802 - 2100 จำนวน 26 ภาพ, ช่วงที่ 3 ยุคเป็นเมืองขึ้นของพม่า พ.ศ. 2101 - 2317 จำนวน 4 ภาพ, ช่วงที่ 4 ยุคเป็นส่วนหนึ่งของสยาม 2347 ถึงยุคการเปลี่ยนการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พ.ศ. 2475 จำนวน 8 ภาพ, ช่วงที่ 5 ยุคหลังการประกาศการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2476 ถึงปีสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2539 จำนวน 3 ภาพ และช่วงที่ 6 ยุคประวัติศาสตร์ร่วมสมัย พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน จำนวน 3 ภาพ</p> <p> แนวทางการคัดเลือกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเชียงแสน มาจัดทำภาพจิตรกรรม สัมพันธ์กับแนวคิดกระบวนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ 4 ประการ คือ 1) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองเชียงแสนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม 2) เป็นข้อมูลที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับและสามารถอธิบายให้คำตอบได้ 3) เป็นข้อมูลที่ตอบจุดมุ่งหมายงานวิจัย และ 4) เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมและแหล่งศิลปกรรมเมืองเชียงแสน</p> <p> การจัดทำภาพจิตรกรรมประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน ได้จัดทำ 2 รูปแบบ คือ 1) เทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 45 x 60 ซม. เป็นงานศิลปะร่วมสมัย ใช้สีที่หลากหลายตามเรื่องราวที่ปรากฎ โดยมีศิลปินผู้สร้างสรรค์เพียงคนเดียว 2) เทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 42 x 86 ซม. เป็นงานศิลปะลายคำล้านนาร่วมสมัย คือ ใช้สีพื้นผ้าใบเป็นสีแดงเลือดนก ภาพเป็นสีทอง โดยมีศิลปินผู้สร้างสรรค์หลายคน รูปแบบภาพจิตรกรรมที่เหมาะสมกับลักษณะการเล่าเรื่อง ศิลปินนำภาพต้นแบบไปวาดบนกำแพงในเขตพื้นเมืองเชียงแสน และการสร้างสรรค์โดยศิลปินหลายคน คือ ภาพจิตรกรรมแบบศิลปะลายคำล้านนาร่วมสมัย จึงเป็นรูปแบบที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับจัดทำภาพจิตรกรรมทั้ง 50 ภาพ</p> <p> การนำภาพจิตรกรรม จำนวน 50 ภาพ และข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเชียงแสนคืนสู่ชุมชนในรูปแบบนิทรรศการทางศิลปะ จึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์แก่ชุมชน มีจุดหมายปลายทางที่ผลประโยชน์ด้านธุรกิจท้องถิ่น และความรุ่มรวยของชุมชน</p>
สมหวัง อินทร์ไชย, อาภิสรา พลนรัตน์
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278131
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276067
<p>การวิจัยเรื่องการพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์การทอและลวดลายเสื่อกก 2) พัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกเสม็ดงามด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม และ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากลวดลายอัตลักษณ์เสื่อกกจันทบูร ให้แก่ชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 1 ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมสัมภาษณ์และจัดการสนทนากลุ่ม โดยเก็บข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มสตรีทอเสื่อกกจันทบูร ชุมชนเสม็ดงาม จำนวน 50 คน โดยจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สมาชิกผู้ทอเสื่อกก จำนวน 20 คน สมาชิกช่างตัดเย็บ แปรรูปเสื่อ จำนวน 10 คน และสมาชิกผู้ผลิตเส้นกก ปอ และสมาชิกทั่วไป จำนวน 20 คน โดยการสุ่ม/เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การวิจัยระยะที่ 2 กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ลายเสื่อกกและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมจัดประชุมสมาชิกกลุ่มผู้ทอเสื่อเสม็ดงาม จำนวน 25 คน เพื่อปฏิบัติการค้นหาอัตลักษณ์ใหม่ นำอัตลักษณ์ใหม่เข้าสู่การออกแบบลาย การทอ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของการทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงามมีอัตลักษณ์ดั้งเดิม 2 ลักษณะได้แก่ อัตลักษณ์กกน้ำกร่อยเรียกว่ากกจันทบูร และอัตลักษณ์การทอลายเสื่อเสม็ดงาม ผลการพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกบ้านเสม็ดงามด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ทำให้ได้ลวดลายใหม่ 5 ลาย และนำไปใช้ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้งหมด ได้แก่ กระเป๋าสตรี และกระเป๋าแฟชั่น</p>
สมปอง มูลมณี, อภิสรา โคตรโยธา , วุฒินันท์ สุพร
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276067
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
บทเพลงประกอบซีรีส์วาย: ลักษณะแนวคิดด้านความรักประเภทชายรักชาย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278488
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “บทเพลงประกอบซีรีส์วาย : ลักษณะแนวคิดด้านความรักประเภทชายรักชาย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะแนวคิดด้านความรักประเภทชายรักชายที่ปรากฏในบทเพลงประกอบซีรีส์วาย ผลการวิจัยพบลักษณะแนวคิดด้านความรักประเภทชายรักชายที่ปรากฏในบทเพลงประกอบซีรีส์วายจำนวน 4 แนวคิดหลัก ได้แก่ 1. แนวความคิดด้านความรักประเภทชายรักชายที่สมหวัง พบว่ามี 8 แนวคิดย่อย ได้แก่ ความรักคือความสุข ความรักคือการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ความรักคือสิ่งที่ไม่ต้องการเหตุผล ความรักคือพรหมลิขิต ความรักคือรักที่ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ความรักคือความใกล้ชิด ความรักคือการไม่เปลี่ยนแปลง และความรักคือการเข้าใจ 2. แนวความคิดด้านความรักประเภทชายรักชายที่สมหวังแต่เป็นทุกข์ พบว่ามี 4 แนวคิดย่อย ได้แก่ ความรักคือการกลัวการจากลา ความรักที่รู้สึกผิด ความรักคือการคิดถึง และความรักคือการตัดสินใจ 3. แนวความคิดด้านความรักประเภทชายรักชายที่ไม่สมหวัง พบว่ามี 7 แนวคิดย่อย ได้แก่ ความรักคือการหลอกหลวง ความรักคือรักที่เกินตัว ความรักคือการแอบรัก ความรักคือความช้ำใจ ความรักคือการไม่หวัง 6ความรักคือการรอ และความรักคือการถูกรัก และแนวความคิดด้านความรักประเภทชายรักชายที่ยังไม่สมหวังและยังไม่สมหวัง พบว่ามี 6 แนวคิดย่อย ได้แก่ ความรักคือการค้างคา ความรักคือการหวงแหน ความรักคือความกลัว ความรักคือการครอบครอง ความรักคือความลังเล ความรักคือการทดลอง</p>
ปรัชญา ทองแพ, บุญเลิศ วิวรรณ์
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278488
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
วัจนกรรมการตั้งสถานะเฟซบุ๊กของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/279095
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทวัจนกรรมการตั้งสถานะเฟซบุ๊กของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการโพสต์ตั้งสถานะในเฟสบุ๊กของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Samping) โดยใช้วิธีการจับสลาก ผู้วิจัยวิเคราะห์เฉพาะข้อความการตั้งสถานะที่ใช้ภาษาเท่านั้น ไม่วิเคราะห์ข้อความที่ใช้รูปภาพ และเป็นข้อความมีผู้กดถูกใจมากที่สุดเรียงตามลำดับจำนวน 30 สถานะต่อสถานะที่โพสต์ของนักศึกษาแต่ละคน จำนวน 300 สถานะ ผู้วัจัยวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทฤษฎีเรื่องวัจนกรรม (Speech acts) ของ Johm R. Serle ผลการศึกษาพบว่าการตั้งสถานะในเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พบวัจนกรรม 4 กลุ่มคือ 1) วัจนกรรมกลุ่มชี้นำ ได้แก่ การสั่ง การขอร้อง การชักชวน การแนะนำ การห้าม และการถาม จำนวน 121 สถานะ คิดเป็นร้อยละ 40.67 2) วัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าว ได้แก่ การเสนอแนะ การให้ข้อมูล และการคาดคะเน จำนวน 111 สถานะ คิดเป็นร้อยละ 37 3) วัจนกรรมกลุ่มความรู้สึก พบการแสดงความรู้สึกที่เป็นด้านบวกและด้านลบ จำนวน 51 สถานะ คิดเป็นร้อยละ 17 และ 4) วัจนกรรมกลุ่มผูกมัด ได้แก่ การสนับสนุน การข่มขู่ และการปลอบโยน จำนวน 16 สถานะ คิดเป็นร้อยละ 5.33 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มวัจนกรรมกล่าวประกาศไม่พบใช้ตั้งสถานะในเฟสบุ๊กของนักศึกษา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษาที่มีข้อจำกัดในบริบทของสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ และชี้ให้เห็นถึงความโดดเด่นของวัจนกรรมกลุ่มชี้นำ (Directive) และวัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าว (Assertive) ในการสื่อสารออนไลน์ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา</p>
สุทธิดา จันทร์ดวง
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/279095
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมอาหารประเภทกะละแมในประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276392
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทำกะละแมของชาวมอญ ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามผ่านการสัมภาษณ์และการสังเกต และใช้แนวคิดจากอังกูล สมคะเนย์กับสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่าการกระบวนการทำกะละแมและวัตถุดิบที่นำมาใช้ยังคงเป็นแบบดั้งเดิม คือ กะละแมของชาวมอญบางตะไนย์เป็นกะละแมเม็ด ที่ทำจากข้าวเหนียวและกะทิที่นำมาคั้นน้ำกะทิเองเพื่อความเข้มข้นของรสชาติและให้ได้กะละแมที่มีคุณภาพ แม้ว่าในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้จะเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม เช่น มีการใช้เตาแก๊สแทนเตาฟืน มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตแต่ยังคงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนชาวมอญบางตะไนย์ การศึกษากระบวนการผลิตการทำกะละแม ทำให้พบภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 ประการ ได้แก่ 1. ภูมิปัญญาด้านคติความเชื่อที่เชื่อว่ากะละแมเป็นขนมหวานที่นำความสุขและความหวานชื่นมาสู่ชีวิต 2. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพที่พบว่ามีการนำกะละแมที่เคยทำในช่วงเทศกาลมาต่อยอดเป็นอาชีพของครอบครัว 3. ภูมิปัญญาด้านการสร้างสรรค์ ชาวมอญบางตะไนย์ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลิตและนำพลาสติกมาเป็นบรรจุภัณฑ์แทนใบตองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการจัดจำหน่าย</p>
หยาง หลวี่, ขนิษฐา จิตชินะกุล
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276392
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน ร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/277616
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำ<br />ในภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนมัธยมหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นการลงมือปฏิบัติ 3) ขั้นสังเกตการณ์ และ 4) ขั้นการสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนของนักเรียน 4) แบบบันทึกการสัมภาษณ์นักเรียน และ 5) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t – test) และสร้างข้อสรุปโดยการพรรณนา</p> <p> ผลวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะ ในปฏิบัติการวงรอบที่ 1 นักเรียนบางคนสร้างคำไม่ถูกต้องและผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จึงนำผลไปปรับปรุงในปฏิบัติการวงรอบที่ 2 จนนักเรียนสามารถทำคะแนนในแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้</li> </ol> <p> 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียน<br />ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ในปฏิบัติการวงรอบที่ 1 โดยภาพรวมไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.80 คิดเป็นร้อยละ 69.33 และปฏิบัติการวงรอบที่ 2 ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.80 คิดเป็นร้อยละ 82.67 แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะสูงกว่าเกณฑ์<br />ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดาษอัจฉริยะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23</p>
ชาลิสา หาญกิจ, อลงกต ยะไวทย์, ชิตพล ดีขุนทด
Copyright (c) 2024 วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/277616
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700