ค่านิยมที่ปรากฏในเอกสารและสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทรังนก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมที่ปรากฏในเอกสารและสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทรังนก ผลการวิจัยพบว่ามีค่านิยม 5 ประเภท คือ 1) ค่านิยมในการรักษาสุขภาพ ได้แก่ ค่านิยมในการรักษาสุขภาพของผู้รับสาร และค่านิยมในการรักษาสุขภาพของผู้อื่นนอกเหนือจากผู้รับสาร 2) ค่านิยมในการสร้างความรักในครอบครัวและบุคคลอื่น ได้แก่ ค่านิยมในการสร้างความรักของบุคคลในครอบครัว และค่านิยมในการสร้างความรักต่อบุคคลอื่น 3) ค่านิยมในการรักความสวยงาม ได้แก่ ค่านิยมความงามภายนอก ค่านิยมความงามภายใน และค่านิยมความงามเชิงนามธรรม 4) ค่านิยมในการบริโภคสิ่งที่มีคุณค่าและมีราคา ได้แก่ ค่านิยมในการบริโภคสิ่งที่มีคุณค่าต่อร่างกาย และค่านิยม ในการบริโภคสิ่งที่มีราคาทั้งถูกและแพง และ 5) ค่านิยมในการบริโภคสิ่งที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ค่านิยมการบริโภคสิ่งที่ได้จากธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากตัวนก และค่านิยมการบริโภคสิ่งที่ได้จากธรรมชาติที่เป็นสภาพแวดล้อม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
เกษม เพ็ญภินันท์. 2549. สู่พรมแดนความรู้เรื่อง วัฒนธรรมบริโภค: ความเป็นปกติวิสัยของการบริโภควัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พรพิมล เลิศวงศ์วีรชัย. 2551. ค่านิยมเชิงวัฒนธรรมในโฆษณานิตยสารสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. 2549. พุทธศาสนากับบริโภคนิยม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
รัชนินท์ พงศ์อุดม. 2548. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับค่านิยมเกี่ยวกับความงาม: การศึกษาวาทกรรมโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์สิทธิ์ ลิมกุลาคมน์. 2534. กลวิธีการใช้คำในภาษาโฆษณาภาษาไทยทางโทรทัศน์และนิตยสารไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม พรประเสริฐ. 2546. ภาษาและการสื่อสารทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
อุรัชชา อุทัยจันทร์. 2535. คำโฆษณา-ภาษาสื่อสินค้า. กรุงเทพฯ: สารนิพนธ์วารสารศาสตรบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาษาต่างประเทศ
O’Keefe, D. J. 2016. Persuasion: theory and research. London: sage publications.