“กลวิธีการอ่านทำนองเสนาะ” ในบทอาขยานภาษาไทยช่วงชั้นที่ 1 – ช่วงชั้นที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “กลวิธีการอ่านทำนองเสนาะ” บทอาขยานภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1-ช่วงชั้น ที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการอ่านทำนองเสนาะในหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทอาขยานภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1ช่วงชั้นที่ 4 ผ่านการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน โดยการอ่านทำนองเสนาะในบทอาขยาน จำนวน 63 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการอ่านทำนองเสนาะ ในด้านการศึกษากลวิธีในบทอาขยาน พบกลวิธีที่หลากหลายจากการวิเคราะห์ด้านกลวิธีในฉันทลักษณ์ทั้ง 5 ประเภทหลัก คือ กลอน กาพย์ โคลง ฉันท์ และร่าย โดยพบทั้งหมด 4 กลวิธี ได้แก่ 1. การหลบเสียง 2. การกระแทกเสียง 3. การทอดเสียง จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ 3.1 ทอดเสียงคำ 3.2 ทอดเสียงความ และ 3.3 ทอดเสียงจบ และกลวิธีที่ 4. การเอื้อน จำแนกได้ 4 ลักษณะ คือ 4.1 การหวนเสียง (อือฮึ/ ฮึอือฮึ) ลงท้ายวรรคในวรรณยุกต์เสียงสามัญ 4.2 การครั่นเสียง แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1) การครั่นสั้น (~) ลงท้ายด้วย วรรณยุกต์เสียงเอกกับเสียงโท และ 2) การครั่นกระทบลูกคอ (=) ลงท้ายด้วยวรรณยุกต์เสียงสามัญกับเสียงจัตวา 4.3 การช้อนเสียง (อือ/อือฮึ) ให้เบาลงจากเสียงปกติในคำที่เป็นรูปโท เสียงตรี และเสียงตรี หรือเรียกอีกอย่างว่า การเอื้อนปิดเสียงตรี และลักษณะที่ 4.4 การโหนเสียง หรือผันเสียง (ฮึ อือ) ในขณะหวนเสียงขึ้นท้ายวรรคที่ลงด้วยเสียงจัตวา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2556. หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทอาขยานภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
กำชัย ทองหล่อ. 2509. หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธนบุรี: เทพนิมิตการพิมพ์.
คณพล จันทน์หอม. 2564. “ศิลปะการอ่านร้อยกรองไทย”. เอกสารการอบรมออนไลน์, เสนาะกรรณวัณณนาเพื่อการศึกษา และเยาวชน.
ณัฏฐกฤษฏิ์ อกนิษฐ์ธาดา. 2558. อ่านได้อ่านดี อ่านอย่างมีสุนทรียภาพแนวคีตวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
นันทา ขุนภักดี. 2559. การอ่านทำนองร้อยกรองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.
พิมลศักดิ์ อุ่นวรรณธรรม. 2561. หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วัฒนะ บุญจับ. 2538. การอ่านทำนองเสนาะชั้นต้น. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม.
ศรราม แสงสว่าง. 2559. การแก้ปัญหาการท่องบทอาขยาน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี. วิจัยในชั้นรียน ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สมปอง พรหมเปี่ยม. 2536. ทำนองเสนาะทางสู่สุนทรียภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สกสค. ลาดพร้าว.