ไม้คางโค : ประวัติทางภาษาและลักษณะการใช้จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Main Article Content

ชวัลภา พรหมาซุย
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์คําว่า “ไม้คางโค” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติทางภาษาของคําว่า “ไม้คางโค” และลักษณะการใช้ไม้คางโคจากในอดีตมาสู่ปัจจุบัน การศึกษาพบว่าคำดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงไปถึงประวัติทางภาษาได้หลายมิติ ทั้งมิติด้านความเชื่อ ความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา และมิติการสร้างอรรถรสให้วรรณกรรม รวมถึงได้ทราบลักษณะการใช้ไม้คางโคในมิติด้านค่านิยมความงามของผู้หญิงอินเดียที่มีมายาวนานตั้งแต่ในสมัยอดีตถึงปัจจุบัน แม้ว่าการใช้เพื่อประโยชน์ด้านความงามจะมีความเปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไปตามกาลเวลาก็ตาม ไม้คางโคยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและภาษามากกว่าการเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมความงามให้ผู้หญิงเพียงเท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. 2525. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมศิลปากร. 2555. เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2555. พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 6. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ธัญญลักษณ์ ศรีชารัตน์. 2561. วัฒนธรรมการแต่งกายของประเทศอินเดีย. สืบค้น 29 กันยายน 2564, จาก https://sites.google.com/site/tanyarak10384/wathnthrrm-kar-taeng-kay.

พระศรีคัมภีรญาณ และคณะ. 2557. พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณรวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพจพีเอ็นโปร สตูดิโอ (ไทยกระจ่าง). 2562. ทำไมชาวอินเดียจึงเคารพบูชาวัว. สืบค้น 30 กันยายน 2564, จาก https://www.youtube.com/ watch?v=itRXPvwcAc.

มติชน. 2547. พจนานุกรมฉบับมติชน. สืบค้น 2 ตุลาคม 2564, จาก https://books.google.co.th/books?id=MlxjDwAAQBAJ&printsec=Frontcover&hl=th#v=onepage&q&f=false.

รามัญคดี. 2560. โบสถ์มอญมหาอุดวัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี. สืบค้น 30 กันยายน 2564, จาก https://www.facebook.com/612365295504993/post/1562904153784431/?d=n.

ล้อม เพ็งแก้ว. 2547. ภูมิพื้นภาษาไทย (๓) ข้อเขียนว่าด้วยความหมายและที่มาของ คำในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. 2556. สะโพกสุดเสียงสังข์. สืบค้น 30 กันยายน 2564, จาก https://guru.sanook.com/13717/

สัมภาษณ์ บุญยงค์ เกศเทศ. เสวนาวิชาการ ภาษาวรรณศิลป์: ถอดรหัสหลักการและสุนทรียภาพ. 18 กันยายน 2564.

Citipati. 2560. การเต้นรำประจำชาติของอินเดียชนิดต่าง ๆ. สืบค้น 30 กันยายน 2564, จาก http://mycitipati.blogspot.com/2017/01/blog-post_21.Html.

iPrice Thailand. 2564. ชุดอินเดีย. สืบค้น 29 กันยายน 2564, จาก https://images.app.goo.gl/jPtckBfWwmfwUsfm8.