ธรรมบรรยายของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) : ลักษณะการเชื่อมโยงความที่สื่อธรรมะสำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์

Main Article Content

ธนิดา พิมทะโนทัย
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเชื่อมโยงความที่สื่อธรรมะสำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์ในธรรมบรรยายของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการเชื่อมโยงความที่สื่อธรรมะสำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์ในภาพรวมจะมีลักษณะการเชื่อมโยงความแบบ 1 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การอ้างถึง 2) รูปแทน 3) การละ 4) การซ้ำทุกส่วน 5) การซ้ำบางส่วน 6) การซ้ำโครงสร้าง 7) การพ้องความ 8) การเชื่อมและ 9) การเชื่อมโยงคำศัพท์ ลักษณะการเชื่อมโยงความ แบบ 1 องค์ประกอบนี้ มีความโดดเด่นด้านการซ้ำทุกส่วนของคำ การซ้ำโครงสร้าง นอกเหนือจากนี้พบว่า มีลักษณะการเชื่อมโยงความ มากกว่า 1 ประกอบ ในธรรมบรรยายเพื่อสื่อธรรมะของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) สำหรับบรรพชิต ในแต่ละข้อความธรรมบรรยาย พบว่ามีการเชื่อมโยงความถึง 4 องค์ประกอบ คือ 1) การอ้างถึง 2) รูปแทน 3) การซ้ำทุกส่วน และ 4) การเชื่อมโยงคำศัพท์ ส่วนธรรมบรรยายสำหรับคฤหัสถ์ พบว่ามีการเชื่อมโยงความถึง 5 องค์ประกอบ ในแต่ละข้อความธรรมบรรยาย คือ 1) รูปแทน 2) การซ้ำทุกส่วน 3) การซ้ำโครงสร้าง 4) การเชื่อม และ 5) การเชื่อมโยงคำศัพท์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา กุยสุวรรณ. 2553. วาทกรรมคำสอนของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณะศิษย์. 2556. ทำให้สุด ขุดให้ถึง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ที คิว พี จำกัด.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. 2557. การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลธิชา บำรุงรักษ์. 2558. “ระบบข้อความ.” ใน ดียู ศรีนราวัฒน์ และ ชลธิชา บำรุงรักษ์ (บรรณาธิการ), ภาษาและภาษาศาสตร์, (133-168). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). 2547. เห็นโทษมันก็เลิกได้. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท จำกัด.

______. 2547. การเข้าสู่หลักธรรม. กรุงเทพฯ: เบญจผลการพิมพ์.

______. 2554. โพธิญาณ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

______. 2555. ผู้เลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

______. 2555. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ที คิว พีจำกัด.

______. 2555. ยึดอย่าให้มั่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

______. 2555. ปล่อยได้ วางได้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

______. 2556. ตามดูจิต. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

______. 2555. ภาวนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

______. 2555. ความพอดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอ็น พี พริ้นติ้ง แอนด์แพคเกจจิ้ง.

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). 2556. ตายแล้วไปไหน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

_____ . 2556. เข้าวัดทำไม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอ็น พี พริ้นติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง.

______. 2556. ทางแห่งความสุข. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

______. 2557. ปฏิบัติหรือวิบัติ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

______. 2557. ธรรมที่บรรลุได้. กรุงเทพฯ: เบญจผล.

______. 2557. เกิดมาทำไม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

______. 2558. ทิ้งของหนัก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

______. 2558. อุปสรรคก่อปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

______. 2558. ผู้เห็นภัยในสงสาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

______. 2558. 48 พระธรรมเทศนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

______. 2558. ธรรมะคือธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

รัชดา ลาภใหญ่. 2557. วาทกรรมคำสอนในปาฐกถาธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตโต). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษาต่างประเทศ

De Beaugrande, R. and Dressler, W. 1981. Introduction to Text Linguistics. Singapore: Longman.

Halliday, M.A.K. and Hasan, R. 1976. Cohesion in English. London: Longman.