ยา : การประกอบสร้างคำในภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประกอบสร้างคำของคำว่า “ยา”
ในภาษาไทย โดยผู้ศึกษาได้ตั้งข้อสังเกตจากคำที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ซึ่งพบลูกคำการใช้คำว่า “ยา” ขึ้นต้นคำเป็นจำนวน 60 คำ การศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยมีวิธีประกอบสร้างคำว่า “ยา” เพื่อสร้างคำใหม่ และมีโครงสร้างและรูปแบบการประกอบสร้างคำที่ใช้หน่วยคำมาประกอบกันจนกลายเป็นคำใหม่ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในด้านลักษณะของ
การประกอบสร้างคำ มีการใช้คำว่า “ยา” เป็นหน่วยคำแรก และใช้หน่วยคำอื่นเป็นส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เพื่อบ่งชี้หรือขยายให้เห็นลักษณะเด่นของคำนั้น รวมถึงลักษณะความหมายของการประกอบสร้างคำ เมื่อนำคำว่า “ยา” มาประกอบกับอีกหน่วยคำแล้วเกิดแนวทางของความหมายที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือต่างออกไปจากความหมายของหน่วยคำที่นำมาประกอบ
โครงสร้าง รูปแบบ ลักษณะ และความหมายของคำที่ได้ประกอบสร้างจนกลายเป็นลูกคำของคำว่า “ยา” นั้น ช่วยทำให้มีคำใช้ในภาษาเพียงพอแก่การสื่อสารเพิ่มมากขึ้น จากความงอกงามของภาษานั้น แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการด้านภาษา ความร่ำรวยของถ้อยคำ รวมถึงสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองและสังคม และวิวัฒนาการทางการแพทย์ด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
จำนงค์ ทองประเสริฐ. 2528. ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
นิตยา กาญจนะวรรณ, เสาวลักษณ์ อนันตศานต์, และ ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. 2546. ลักษณะและการใช้ภาษาไทย.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บรรจบ พันธุเมธา. 2525. ลักษณะการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประยูร กุยสาคร. 2527. ภาษาไทยเชิงภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ผะอบ โปษะกฤษณะ. 2538. ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
พรพิลาส เรืองโชติวิทย์. 2535. การวิเคราะห์ความหมายของคำ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วรเวทย์พิสิฐ, พระ. 2505. หลักภาษาไทย. พระนคร: โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิค.
วิจินตน์ ภานุพงศ์. 2520. โครงสร้างของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมทรง บุรษพัฒน์. 2552. วากยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2544. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อัญชลี สิงห์น้อย. 2548. คำนามประสม: ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างคำไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.