การศึกษาเชิงวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับตำรายาแพทย์แผนไทย วัดพรหมพิราม ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาสารัตถะและความถี่ของเภสัชวัตถุในตำรายาแพทย์แผนไทย วัดพรหมพิราม ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.0259 เป็นการวิจัยทางมนุษยศาสตร์เชิงเอกสารต้นฉบับ ซึ่งเอกสารฉบับนี้ไม่ระบุวันเดือนปีและนามผู้บันทึก
ผลการศึกษาพบว่า มีตำรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 453 ตำรับ สามารถจำแนกสารัตถะของตำรับยาตามกลุ่มอาการของโรค 5 อันดับแรกได้ดังนี้ อันดับที่ 1 ยาแก้ไข้ ร้อนใน พบจำนวนทั้งสิ้น 167 ตำรับ อันดับที่ 2 ยาปรับธาตุ บำรุงธาตุ พบจำนวนทั้งสิ้น 114 ตำรับ อันดับที่ 3 ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร พบจำนวนทั้งสิ้น 82 ตำรับ อันดับที่ 4 ยารักษากลุ่มกาฬสิงคลี (ทั้งภายนอกและภายใน)/ฝีในร่างกาย พบจำนวนทั้งสิ้น 64 ตำรับ และอันดับที่ 5 ยารักษากลุ่มโรคสันนิบาต (โรครวม) พบจำนวนทั้งสิ้น 31 ตำรับ พบพืชวัตถุจำนวนทั้งสิ้น 742 ชนิด โดยพบขิงมีความถี่สูงสุด พบสัตว์วัตถุจำนวนทั้งสิ้น 80 ชนิด โดยพบงูเหลือมมีความถี่สูงสุด พบธาตุวัตถุจำนวนทั้งสิ้น 36 ชนิด โดยพบดินประสิวมีความถี่สูงสุด และพบน้ำกระสายยา จำนวนทั้งสิ้น 71 ชนิด โดยพบน้ำมีความถี่สูงสุด ตำรายาแพทย์แผนไทยวัดพรหมพิราม ถือเป็นเอกสารทางการแพทย์แผนไทยสมัยอดีตสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการใช้เภสัชวัตถุที่หลากหลายชนิดในการรักษาโรคของชาวชุมชนวัดพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลกในอดีตได้อย่างดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
กานต์ธีรา จางตระกูล, กุลศรม์ เวชกุล, อาภาภัทร ธนะบุญและภัครพล แสงเงิน. 2563. “วรรณกรรมเภสัชกรรมวัด ท่านา ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์.” ใน รายงานประกอบการสัมมนาทางวิชาการ “พิพิธวิจัย วิจิตรวิทยา ภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2562 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (167-179). พิษณุโลก: สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและราชบัณฑิตยสถาน. 2553. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กระทรวงสาธารณสุข. 2564. รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก.
เกศินี แก้วนิล, นิสิต เมฆแจ้ง, เพ็ญพิชชา พรมแตงและภัครพล แสงเงิน. 2563. “วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดสระไม้แดง ตำบลอรัญญิก อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์.” ศิลป์พิบูล 2 (2): 1-15.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิตและวิเชียร จีรวงส์. 2560. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม 2542. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา.
ชลิตา สอนจันทร์, ศิริวรรณ เพ็ชรมณี, อัจฉราภรณ์ ใจแก้วและภัครพล แสงเงิน. 2564. “สารัตถะในตำรายาวัดสันติกาวาส อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก.” ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (4020-4034). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. 2542. “บทนำเสนอ” ใน ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (1-14). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. ตำรายาแพทย์แผนไทยวัดพรหมพิราม ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. เลขที่ พส.ข.0259. เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
นันทรัตน์ ยอดกระโหม, สาวิตรี แก้วเกตุและภัครพล แสงเงิน. 2564. “สารัตถะในตำรายาวัดกรับพวงเหนือ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก.” ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (4035-4048). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
บัญชียาหลักแห่งชาติ. 2556. บัญชียาจากสมุนไพร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 7 สิงหาคม 2556). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์. 2542. ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พอฤทัย ปัญญาจักร์, มณฑาทิพย์ บุญแก้วและภัครพล แสงเงิน. 2564. “สารัตถะในตำรายาวัดสะพานหิน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก.” ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (3645-3657). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ภัครพล แสงเงิน. 2562. การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตำรายาวัดใหม่พรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ภัครพล แสงเงินและอุเทน วงศ์สถิตย์. 2565. “ตำรับยากวาดคอจากตำรายาแพทย์แผนไทยของอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก.” ไทยศึกษา 18 (1): 29-60.
ราชันย์ ภู่มา. 2559. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา.
ลัดดาวัลย์ ครูปัญญามาตย์ (บ.ก.). 2547. ตำราเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพรรวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง. 2558. “โรคในจารึกสุโขทัยและล้านนา.” ใน ภูมิปัญญาอาเซียน เวชศาสตร์ในจารึกและเอกสารโบราณ ภาษา-จารึก ฉบับที่ 13 การสัมมนาทางวิชาการเนื่องในวาระฉลองครบรอบอายุ 96 ปี ของศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร (139-158). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิวนันท์ ฟองจันทร์, สุรีพันธุ์ วรพงศธร, พนัชกร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคามและเกษม
ชูรัตน์. 2562. “การป้องกันและควบคุมมะเร็งตับ.” วารสารโรคมะเร็ง 39 (2): 64-74.
สาธิยา สุขคุ้ม. 2564. “บทบาทในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับหลังได้รับการรักษาโดยใช้เข็มให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ.” วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 29 (2): 105-114.
สำเนียง เลื่อมใส. 2558. “โรคและการเยียวยารักษาในคัมภีร์พุทธศาสนา.” ใน ภูมิปัญญาอาเซียน เวชศาสตร์ในจารึกและเอกสารโบราณ ภาษา-จารึก ฉบับที่ 13 การสัมมนาทางวิชาการเนื่องในวาระฉลองครบรอบอายุ 96 ปี ของศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร (39-60). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.