ระบบเสียงภาษาไทยพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบเสียงภาษาไทยพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่า ระบบเสียงภาษาไทยพวนประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวจำนวน 20 หน่วยเสียง ได้แก่ /p-/, /t-/, /c-/, /k-/, /ʔ-/, /ph-/, /th-/, /kh-/, /b-/, /d-/, /m-/, /n-/, /ŋ-/, /ɲ-/, /l-/, /f-/, /s-/, /h-/, /w-/, และ /j-/ หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำจำนวน 1 หน่วยเสียง ได้แก่ /khw-/ หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายจำนวน 9 หน่วยเสียง ได้แก่ /-p/, /-t/, /-k/, /-ʔ/, /-m/, /-n/, /-ŋ/, /-w/, /-j/ หน่วยเสียงสระ จำนวน 21 หน่วยเสียง ได้แก่ /i/, /i:/, /e/, /e:/, /ɛ/, /ɛ:/, /ɯ/, /ɯ:/, /ə/, /ə:/, /a/, /a:/, /u/, /u:/, /o/, /o:/, /ɔ/, /ɔ:/, /ia/, /ɯa/, /ua/ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ จำนวน 5 หน่วยเสียง ได้แก่ หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง-ระดับ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ-ตก หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง-ตก หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง-ขึ้น และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ-ขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
ทัศไนย อารมณ์สุข. 2521. การศึกษาเปรียบเทียบเสียงของคำในภาษาพวนกับภาษาไทยมาตรฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โพธิ์ แซมลำเจียก. 2537. ตำนานไทยพวน. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาร.
ยุทธิชัย อุปการดี และคณะ. 2565. การเปรียบเทียบภาษาไทยพวนกับภาษาไทยมาตรฐานจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา ณ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. รายงานการวิจัยประจำรายวิชา 01361541 ภาษาถิ่นของไทย ภาควิชา
ภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัชนี ศรีสุวรรณ. 2527. ลักษณะภาษาไทยพวนที่จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. 2531. ภาษาถิ่นตระกูลไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. 2562. ภาษาและวัฒนธรรมไตคำตี่-ไทยพวน. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://thlg.human.ku.ac.th/?p=2321.
ศิริชัย หอมดวง. 2559. การแปรเสียงพยัญชนะในภาษาไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1), 122-137.
ภาษาต่างประเทศ
Tanprasert, Pornpen. 2003. A Language Classification of Phuan in Thailand: A Study of the tone System. Ph.D. Dissertation Mahidol University