แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของทักษะชีวิตและอาชีพ ความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อทักษะชีวิตและอาชีพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 381 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ และผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนี PNImodified ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวังในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ พบว่า ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ คือ การบูรณาการทักษะชีวิตและอาชีพในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น
References
กนกดาว เดชก้อง และอนุชา กอนพ่วง. (2563). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารพิกุล, 18(1), 105-123.
ชยางกูร ข้อยุ่น และอัฐพล อินต๊ะเสนา. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(4), 11-19.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2560). การวิจัยแบบผสมวิธี : กระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สมุทราปราการ: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต: บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. http://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf.
อรุณรุ่ง ปภาพสิษฐ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการรู้เท่าทันสื่ดออนไลน์ให้กับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช).
Jansen, A.N.B. (2013). Life Skills that Enable Resilience: A Profile of Adolescents from a Colored Community in Kimberley. Ph.D. Thesis, University of the Free State.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.
Nagy, Z. (2019). Soft Skills to Advance Your Developer Career: Actionable Steps to Help Maximize Your Potential. Berkeley, CA: Apress.
National Assembly. (2007). Lao people's Democratic Republic Peace Independence Democracy Unity Prosperity. National Assembly, No.43/NA. Vientiane: National Assembly.
Shea. (2011). Skill of 21st Century. Washington: The National Academies Press.
Tyson W. (2020). “Interpersonal skills,” in Teaching and Learning Employability Skills in Career and Technical Education, ed. Tyson W. (Cham: Palgrave Macmillan), 109–128.
Wang, C.L. (2008). Entrepreneurial Orientation, Learning Orientation, and Firm Performance. Entrepreneurship Theory and Practice, 32, 635-657.
Weiss, M.R., and others. (2014). Assessing Impact of Physical Activity-Based Youth Development Programs: Validation of the Life Skills Transfer Survey (LSTS). Research quarterly for exercise and sport, 85(3), 263-278.