รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสีชมพูศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ (2) ออกแบบและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ และ(4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการค้นหาปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา, แบบวิเคราะห์ปัญหาวิจัย, แบบบันทึกแนวทางแก้ไขปัญหาและออกแบบกิจกรรม, คู่มือการใช้รูปแบบ, แผนการจัดการเรียนรู้, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แบบวัดทักษะอาชีพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสติติพื้นฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า (1) มีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และปัจจัยและเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ (3) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานอาชีพร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.53/85.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ(5) ทักษะอาชีพผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อย 88.58 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น
References
กนกนภัส สีหราช. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เรื่องการถนอมอาหารและแปรรูปอาหาร สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเวียงชัยวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยพะเยา.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). คู่มือประเมินแผนพัฒนาการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. https://www.klai.go.th/datacenter/doc_download/a_160322_143115.pdf
กระทรวงมหาดไทย. (2565). คุณลักษณะสำคัญในการดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่. http://www.law.moi.go.th/newlaw/main/?
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563-2565). https://kku.world/oz1dk
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570. https://kku.world/i3uus
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, บุญเลิศ ส่องสว่าง และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชู งามขำ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการงานอาชีพและ เทคโนโลยีที่มีต่อ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2547). แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
ประเวศ วะสี. (2544). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2563). การเสริมสร้างการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นด้วยชุดกิจกรรมเชิงจิตวิทยา. วารสารสังคมศาสตร์, 9(2), 86-96.
วรรนิสา หนูช่วย. (2561). รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์รปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา.
สุจิตรา สังข์เสวี. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้กับการเรียบปกติ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
อิสริยา หนูจ้อย. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา เรื่อง ระบบนิเวศในนาข้าว สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Al-Balushi, S., M., , & Al-Aamri, S., S.,. (2014). The effect of environmental science projects on students’ environmental knowledge and science attitudes, International Research in Geographical and Environmental Education. International Research in Geographical and Environmental Education, 23(3), 213-227.
Bell, S. (2010). Project-based learning for the 21st century: Skills for the future. The Clearing House: A Journal of Educational Strategies, Issues and Ideas, 83(2), 39-43.
Capraro, R. M., Capraro, M. M., & Morgan, J. (2013). Why pbl? Why stem? Why now? An introduction to stem project-based learning: An integrated science, technology, engineering, and mathematics (stem) approach. STEM Project-Based Learning: An Integrated Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) Approach, 1-5.
Katz, L. G., & Chard, C. (2000). Engaging Children’s Minds: The Project Approach. 2nded. Connecticut: Ablex Publishing Corporation, Stamford.
Kioupi, V. & Arianoutsou, M. (2016). Greek Students Research the Effects of Fire on the Soil System through Project-based Learning. DOI: 10.1080/00219266.2015.1117509
Shet, R. M., Iyer, N. C., Nissimgoudar, P. C., & Ajit, S. (2015). Integrated experience: Through project-based learning, New Delhi.
Smith, S. C. and Piele, P. K. (2006). School Leadership: Handbook for excellence in Student learning (4 Eds.). Thousand Oaks, CA. Corwin.