การประเมินโครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท, ปัจจัยนำเข้า, กระบวนการ, ผลผลิต และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า 1) บริบทของโครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามตัวชี้วัดความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยนำเข้าของโครงสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามตัวชี้วัดบุคลากร และทรัพยากรของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) กระบวนการของโครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามตัวชี้วัดกิจกรรมการดำเนินงาน 5 กิจกรรม โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลผลิตของโครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีผลสำเร็จตามตัวชี้วัดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น
References
ขวัญใจ กาศก้อง. (2551). รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนวัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. นครราชสีมา: โรงเรียนบ้านดอนวัว.
จารุวรรณ ควนวิไล. (2562). รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสูง โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model). กระบี่: โรงเรียนบ้านทุ่งสูง.
ณลิชา ผลยะฤทธิ์. (2563). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนรัตนพลวิทยา ปีการศึกษา 2562. เชียงราย: โรงเรียนรัตนพลวิทยา.
ประทีปแสง พลรักษา. (2558). การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ HOME โรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. หนองบัวลำภู: โรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร.
ปิยะวุฒิ ศรีชนะ. (2559). การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพนงามพิทยาคาร จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. ยโสธร: โรงเรียนโพนงามพิทยาคาร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายและจุดเน้น ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://www.obec.go.th/archives/814223
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
สิทธิศักดิ์ แก้วสอนทะเล. (2561). การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ.
Stufflebeam, D. L. (2004). The 21st century CIPP model. In Alkin, M.C. (Ed). Evaluation roots: tracing theorists' views and influences. London, England: SAGE.
Torma, S.C. (1999). The Perceptions of Elementary Guidance in the Virginia Beach City Public Schools (Guidance). http://www.od.arc.nrru.ac.th/dao/detail.nsp