การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

ธีร์ ภวังคนันท์
ณัฐภษร พสุสิทธิพงษ์
ภัทรนันฐ์ ไหลงาม
เรืองยศ แวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร และ2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร  จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบที (t-test for dependent samples) และเทคนิคความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Need Index: PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับมาก ตามลำดับ 2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมมีความต้องการจำเป็นเร่งด่วน (PNImodified = 0.34) เรียงตามลำดับ ดังนี้ คือ การสื่อสารดิจิทัล (PNImodified = 0.41) การบริหารทรัพยากรดิจิทัล  (PNImodified = 0.35) การประยุกต์ใช้ดิจิทัล (PNImodified = 0.30) และการบูรณาการดิจิทัล (PNImodified = 0.29) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2567). แผนปฏิบัติการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.depa.or.th/storage/app/media/file/annual-operation-plan-2564.pdf

กะรัต ทองใสพร, กิติมา ศรีขำ, เขมรัตน์ บุญสุข, และมัทนา วังถนอมศักด. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 6(2), 162-270.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2567). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(3), 450-458.

เยาวลักษณ์ จิตต์วโรดม. (2560). บทบาทและทักษะหลักของภาวะผู้นาในสังคมยุคดิจิทัล Role and Key Skills of Digital Society Leadership. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(2), 81-91.

วัชราภรณ์ แสงทิตย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2560). แผนการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. (2566). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มนโยบายและแผน. http://www.sesaskss.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://www.obec.go.th/archives/814223

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนาเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Berry, B. (2019). Teacher Leadership: Prospects and Promises. SAGE Journals. https://www.jstor.org/stable/26677373?seq=6

DigCompEdu. (2017). Digital Competence of Educators (DigCompEdu): Developmentand Evaluation of a Self-assessment Instrument for Teachers’ Digital Competence. DOI: 10.5220/0007679005410548In Proceedings of the 11th International Conference on Computer Supported Education.

Inan, F., & Lowther, D. (2010). Factors affecting technology integration in K-12 classrooms: A path model. Educational Technology Research and Development, 58(2), 137-154.

INTEF’s for Teacher Digital Competence. (2020). Improving Future Teachers’ Digital Competence Using Active Methodologies. JOURNAL OF NEW APPROACHES IN EDUCATIONAL RESEARCH 2020, 9(2), 275-293.

Kaganer, E., Sieber, S. & Zamora, J. (2014). The 5 keys to a Digital Mindset. https://www.forbes.com/sites/iese/2014/03/11/the-5-keys-to-a-digital-mindset/

Redecker, C., Punie, Y. (2017). Competence areas and competencies of the European Framework of Digital Competence for Teachers DigCompEdu. file:///C:/Users/THIS%20PC/Downloads/PDF_digcomedu_A4_FINAL.pdf

UNESCO. (2011). UNESCO ICT Competency Framework for Teachers. http://unesdoc.unesco.org/images/0021/002134/213475e.pdf