การพัฒนาดัชนีและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระดับภาคของประเทศไทย

Main Article Content

รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล
รศ.ดร.จิราวัลย์ จิตรถเวช

Abstract

การศึกษานี้ได้พัฒนาดัชนีและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภาค โดยการ
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและค้นหาข้อมูลที่ส่วนราชการได้จัดเก็บเป็นประจำตาม
อำนาจหน้าที่ของตนเอง เพื่อนำมาคำนวณค่าดัชนีและตัวชี้วัด มิติของดัชนีการพัฒนา
ที่ยั่งยืนที่นำเสนอในการศึกษานี้ครอบคลุมแรงขับเคลื่อน (driving force) แรงกดดัน
(pressure) สภาวะ (state) และผลกระทบ (impact) ตามกรอบแนวคิด DPSIR
มิติแรงขับเคลื่อน ประกอบด้วย แรงขับเคลื่อนของภาคเกษตรกรรม ภาค
อุตสาหกรรมและภาคประชาชน มิติแรงกดดัน ประกอบด้วยการใช้วัตถุดิบ การใช้
พลังงาน และการบริหารจัดการของเสีย มิติสภาวะ ประกอบด้วย คุณภาพสภาวะ
แวดล้อมและคุณภาพสุขภาพ และมิติผลกระทบ ประกอบด้วย ดัชนีโครงสร้างทาง
เศรษฐกิจ ดัชนีความยากจน ดัชนีความมั่นคงของชีวิตและทรัพย์สิน ดัชนีความเสมอภาค ทางเพศ ดัชนีสถานที่อยู่อาศัย และดัชนีวัดโอกาสการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีในระดับมิติของภาคเหนือ สรุปได้ว่าการพัฒนา
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีทุกมิติในทิศทางที่แย่ลง ค่าดัชนีฯ ในปี 2550 ลด
ลง ร้อยละ 0.20 และในปี 2552 มีค่าลดลงร้อยละ 2.39 เมื่อเทียบกับปี 2548 ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ค่าดัชนีลดลงร้อยละ 0.97 ในปี 2550 และร้อยละ 1.03 ในปี

2552 เมื่อเทียบกับปี 2548 ภาคกลางเป็นภาคเดียวที่มีค่าดัชนีเปลี่ยนแปลงในทิศทาง
ที่ดีขึ้น ในปี 2550 มีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.96 และในปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83
เมื่อเทียบกับปี 2548 ภาคใต้ก็เช่นเดียวกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ
การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีในทิศทางลบ คือ ค่าดัชนีลดลงร้อยละ 1.85 ในปี 2550
และลดลงร้อยละ 3.81 ในปี 2552 เมื่อเทียบกับปี 2548
ในภาพรวมของประเทศ สรุปได้ว่าการพัฒนาในช่วงปี 2548–2552 มีการ เปลี่ยนแปลงในทิศทางลบเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2548 กล่าวคือ มีค่าดัชนีเปลี่ยนแปลง
ในปี 2550 ลดลงร้อยละ 0.04 และในปี 2552 มีค่าดัชนีลดลง 0.63 ตัวชี้วัดและดัชนี
การพัฒนาที่ยั่งยืนที่นำเสนอสามารถสะท้อนสถานการณ์ในระดับภาคของประเทศได้
ในระดับหนึ่ง และสามารถนำไปประเมินผลและกำหนดนโยบายการพัฒนา

Article Details

Section
Articles