การศึกษาการพัฒนาทักษะการออกแบบกราฟิกหน้ากากผีตาโขนของนักศึกษาสาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Main Article Content

อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาทักษะการออกแบบกราฟิกหน้ากาก ผีตาโขนของ นักศึกษาสาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนา ทักษะการออกแบบกราฟิกหน้ากากผีตาโขนของนักศึกษาสาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 26 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า คือ 1) แบบสอบถามการพัฒนาทักษะการออกแบบกราฟิกหน้ากากผีตาโขนของนักศึกษาสาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักศึกษาต่อการพัฒนาทักษะการออกแบบกราฟิกหน้ากากผีตาโขนของนักศึกษาสาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต ภาควิชา มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาทักษะการออกแบบกราฟิกหน้ากากผีตาโขนของนักศึกษาสาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลงานการ ออกแบบ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม ด้านกระบวนการเรียนรู้นำไปใช้ ด้านกระบวนการ ทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านเนื้อหาการเรียนรู้การออกแบบกราฟิก ตามลำดับ

2. ความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการออกแบบกราฟิกหน้ากากผีตาโขนของนักศึกษาสาขาวิชา ดิจิตอลอาร์ต ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านกระบวนการสอน ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านผู้สอนและสื่อและอุปกรณ์สำหรับการทำงาน ตามลำดับ

 

The purposes of research were to study 1) Development skills of phitakhon mask graphic design of digital art program students in the Department of Humanities, Loei Rajabhat University. 2)Satisfaction of phitakhon mask graphic design of digital art program students in the Department of Humanities, Loei Rajabhat University.This is quantitative research using a sample group of 26 digital art program students from the Department of Humanities, Loei Rajabhat University during the academic year 2012. The sample group was selected using purposive sampling. Research tools were a rating scale of the development of skills during phitakhon mask graphic design of digital art program students in the Department of Humanities, Loei Rajabhat University, and a separate rating scale of the students’ satisfaction with this learning activity. The reliability value for the development skills research tool was calculated at .95 and for the satisfaction research tool, the reliability value was .97. Statistics used during analysis of quantitative data were percentage, mean, and standard deviation.

The research findings : Skill development of digital art program students was ranked high in all areas. Ranked from highest to lowest these were: result of design, knowledge program, learning approach, creativity development skills, contents of using knowledge, and graphic design. Similarly, satisfaction was also ranked high in all areas, ranked highest to lowest as follows: teaching development skills, learning climate, instructor and learning material.

Article Details

Section
บทความวิจัย