การวิจัยปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ บ้านศรีอุทุมพร ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์

Main Article Content

พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์

Abstract

กลุ่มปุ๋ยชีวภาพบ้านศรีอุทุมพรเป็นกลุ่มชุมชนที่ผลิตผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ ถ่านไม้ น้ำส้มควันไม้ และหมอนถ่าน เพื่อสุขภาพเพื่อเป็นอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยมุ่งให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้านและทรัพยากรที่มีใน ท้องถิ่นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ และสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ การออกแบบเพื่อ พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจึงมีความสำคัญต่อการปกป้องสินค้าและส่งเสริมการ ขาย งานวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ คำนึงถึงหลักการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-design) สำหรับหมอนถ่านคาร์บอนเพื่อสุขภาพของกลุ่มปุ๋ย ชีวภาพบ้านศรีอุทุมพร ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research ) ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การ สังเกต และการค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล เพื่อการประเมินสภาวะพื้นฐานบริบทชุมชน แนวคิดที่ใช้ในการ ออกแบบ รวมทั้งการวิเคราะห์และการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์

ค่าความพึงพอใจต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับหมอนถ่านคาร์บอนเพื่อสุขภาพอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจดีมาก และรูปแบบถุงผ้าทำจากผ้าสปันบอนด์พิมพ์ลายกราฟิกที่แสดงถึงเอกลักษณ์ประจำจังหวัดนครสวรรค์เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงสุดคิดเป็นจำนวนร้อยละ 62.5 สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ได้ตามหลักการ ออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-design) ขณะที่ชุมชนสามารถทำบรรจุภัณฑ์ได้เองโดยไม่ต้องผ่านโรงพิมพ์ซึ่ง มีผลต่อการประหยัดค่าใช้จ่าย ความร่วมมือระหว่างกลุ่มปุ๋ยชีวภาพบ้านศรีอุทุมพรและหน่วยงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์เพื่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์การวิจัยปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้เป็นประโยชน์ในการนำไปสู่การสร้างรายได้ ให้กับชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้การมีความรู้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังสามารถนำไปใช้ใน การออกแบบบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ของชุมชนต่อไปในอนาคต

 

Sri Uthumporn bio-fertilizer group is a local community that produces bio-fertilizer, charcoal, wood vinegar and charcoal health pillows to be a career for the people of the community while focusing on the importance of wisdom and locally available resources in order to generate higher quality, distinctive and identified products. Therefore suitable packaging design is importance in protecting and merchandising products. This research is to create an appropriate package, bases on development of packaging design with regard to eco-design for containing charcoal health pillows of Sri Uthumporn group using participatory research and action research including interviews, questionnaires, observations and studying documents and informative resources to evaluate the urban context and concept for designing, together with analysis and packaging design.

Complacence with packages designed for charcoal health pillow is high satisfying level. Bags made from spunbond cloth and printed graphic logo regarding to Nakhon Sawan province are the most satisfy at score 62.5 whilst being recycle subjects that respond to eco-designing concept. Furthermore the community could create additional packages themselves leading to cost saving and also higher income. Association of Sri Uthumporn bio-fertilizer group and Nakhon Sawan Rajabhat University (NSRU) in developing the package in this participatory and action research is significant usefulness. Moreover, given knowledge involved eco-packaging design could be useful for further improvement of other remaining packages derived from the community.

Article Details

Section
บทความวิจัย