ประติมากรรมชนเผ่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตอนใต้: แนวคิดสัญศาสตร์และคติชนวิทยาสู่การนำเสนอภาพตัวแทนในศิลปะร่วมสมัย
DOI:
https://doi.org/10.14456/tiat.2024.4คำสำคัญ:
ประติมากรรมชนเผ่า, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตอนใต้, สัญศาสตร์, คติชน, ศิลปะร่วมสมัยบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง“ประติมากรรมชนเผ่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตอนใต้ : รูปแบบ ภูมิปัญญา และสุนทรียภาพสู่การสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัญศาสตร์และคติชนในประติมากรรมชนเผ่าประติมากรรมชนเผ่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและนำมาเป็นกรอบแนวคิดสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยในประเด็นการสำรวจอัตลักษณ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการวิพากษ์สังคม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มเป้าหมายคือชนเผ่ากะตูบ้านกันดอนใหม่ แขวงเซกอง 15 คน เครื่องมือได้แก่การสังเกต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดสัญศาสตร์ของโซซูร์และคติชนวิทยาของเวสฮิลล์ ผลการศึกษาพบว่าประติมากรรมชนเผ่าเป็นวัตถุคติชนที่สะท้อนพลวัตสังคม มีบทบาทตามความเชื่อวิญญาณนิยม สอดคล้องกับโซซูร์ที่เปรียบประติมากรรมเป็นหน่วยไวยากรณ์สื่อความหมายโดยรูปทรงและเรื่องราวจะมีความหมายสมบูรณ์เมื่อเชื่อมโยงกับบริบทพิธีกรรม ผู้คน และชุมชน ส่งอิทธิพลต่อ“การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยด้วยกระบวนการทางมานุษยวิทยา” ซึ่งสอดคล้องกับเวสฮิลล์ที่กล่าวว่า“คติชนของวัฒนธรรมท้องถิ่นคือสิ่งที่ผลักดันศิลปะร่วมสมัยมาตลอด” จากการสื่อสารมโนทัศน์ของชนเผ่าที่หลากหลายวัฒนธรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของรัฐชาติเป็นการรักษาอัตลักษณ์ในระดับมโนทัศน์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ จึงทำให้ชนเผ่าต้องปรับตัวการดำรงอยู่ของประติมากรรมจึงเป็นการดำรงรักษา อัตลักษณ์ที่หลากหลายของบรรดาชนเผ่าโดยประติมากรรมและพิธีกรรมเป็นการนำภูมิปัญญาคติชนมาปรากฏเป็นการแสดงอัตลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบันพิธีกรรมเป็นการนำเสนอภาพตัวแทนของชนเผ่าที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้การปรับตัวสร้างความหมายและหน้าที่ใหม่ให้แก่ประติมากรรมที่ซ้อนทับความเชื่อดั้งเดิม ดังนั้นการนำเสนอประติมากรรมสู่ศิลปะร่วมสมัยจึงต้องให้ความสำคัญกับบริบทสื่อความหมาย
References
บัญชา ควรสมาคม. (2565). ประติมากรรมชนเผ่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอนล่าง: กระบวนการวิเคราะห์และ สร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัย. การ ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ศิลปกรรมวิจัยประจำปี 2565 (FAR8) “ศิลป์ท้าเวลา เวลาท้าศิลป์” The Future of Arts : The Challenges of Artists (216-231). ขอนแก่น : คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุปรางค์ จันทวานิช. (2565). ทฤษฎีสังคมวิทยา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abraham, C. (2021). Toppled Monuments and Black Lives Matter: Race, gender, and decolonization in the public space. An interview with Charmaine A. Nelson. Atlantis. 42(1) : 1-17.
Borysovych, O. V., Chaiuk, T. A., & Karpova, K. S. (2020). Black lives matter: Race discourse and the semiotics of history reconstruction. Journal of History Culture and Art Research. 9(3) : 325-340.
Cobley, P. & Jansz, L. (2014). Introducing semiotics: A graphic guide. London : Icon Books Ltd.
Dundes, A. (1966). The American concept of folklore. Journal of the Folklore Institute. 3(3): 226-249.
Forsyth, T., & Michaud, J. (2011). Rethinking the Relationships between Livelihoods and Ethnicity. Moving mountains: Ethnicity and livelihoods in highland China, Vietnam, and Laos. Vancouver : UBC Press.
Hill, W. (2015). How folklore shaped modern art: a post-critical history of aesthetics. New York : Routledge, Taylor & Francis Group.
Kuonsama khom, B. (2023). Southern Laos People’s Democratic Republic Tribal Sculptures: The Influence of Social and Economic Change on the Inheritance., Process and Cultural Significance. Tuijin Jishu/Journal of Propulsion Technology. 44(5) : 1640-1654.
Lyotard, J. F. (1984). The postmodern condition: A report on knowledge (Vol. 10). Minneapolis : University of Minnesota Press.
Petridis, C. et.al. (2022). The Language of Beauty in African Art. Chicago : The Art Institute of Chicago.
Rigg, J. (2020). Rural development in Southeast Asia: Dispossession, accumulation, and persistence. Cambridge : Cambridge University Press.
Saussure, F. de, & Baskin, W. (Trans.). (2011). Course in General Linguistics. New York : Columbia University Press. (Original work published 1916).
Schneider, A., & Wright, C. (Eds.). (2020). Contemporary art and anthropology. London : Routledge, Taylor & Francis Group.
Turner, C. (2004). Art and social change: Contemporary art in Asia and the Pacific. Canberra : Pandanus Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Asian Journal of Traditional and Innovative Arts and Textiles

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.