ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องรางของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พนิดา ตันศิริ -

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 4E , การตัดสินใจซื้อ , เครื่องราง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องรางของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ประเภทเครื่องรางและอาศัยในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 58.5 ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 19-21 ปี ร้อยละ 90.3  ประเภทสินค้าเสริมดวงที่ซื้อส่วนใหญ่เป็นเครื่องราง ร้อยละ 67.3 แพลตฟอร์มที่ซื้อผ่าน Facebook ร้อยละ 47.3  สาเหตุที่ซื้อเพื่อความสบายใจ ร้อยละ 62.0 และร้อยละ 43.5  มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อต่อครั้ง 3,001-4,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 4E ด้านความคุ้มค่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องรางของผู้บริโภค รองลงมาคือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ ด้านการสร้างประสบการณ์ และด้านการเข้าถึง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยทั้ง 4 ด้านร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อเครื่องรางได้ ร้อยละ 51.4 และสามารถสร้างเป็นสมการในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้         

สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ

gif.latex?\hat{Y} = 2.259 + .264(X2) + .248(X4) + .141(X1) - .134(X3); R2 = 0.264

สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน

gif.latex?\hat{Z}= .324(Z2) + .320(Z4) + .156(Z1) - .148(Z3)

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2566). 'มูเตลูไทย' เฟื่องฟู ดัน 'ธุรกิจกิจกรรมด้านความเชื่อเพื่อสนับสนุนการตลาด' คึกคัก เปิดรายได้รวมปลายปีถึงกับร้อง 'ว้าว'. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567, จาก https://www.dbd.go.th/news/1679892049622.

ณัฐวุฒิ แก้ววิมล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเช่าพระเครื่องออนไลน์ เว็บไซต์ G-pra. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567,จาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/

/TU_ 2015_5704010361_4726_2870.pdf

ถวัลรัตน์ กัลชาญกิจ, และธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2559). บุคลิกภาพผู้บริโภค ความเชื่อโชคลางและพฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับหินสีมงคล. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 9(2), 39-61.

ทิฆัมพร สกลบริสุทธิ์สุข. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าเครื่องรางของผู้บริโภคในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567, จาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/ bitstream/123456789/3330/1/TP%20BM.077%202562.pdf

ธนูศักดิ์ อินทร์ราช, และอรชร มณีสงฆ์. (2566). พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยต่อการเช่าบูชาวัตถุมงคล. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/ article/view/260933/178886

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (น.554-555) (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

พรรณปพร จันทร์ฉาย, ธัญญรัตน์ ศรีพัฒนะโชติ, และวรางคณา ประภาวงศ์. (2566). พฤติกรรมและทัศนคติด้านความเชื่อในการเช่าซื้อเครื่องรางประเภทกำไลหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/ article/view/264828/178823.

พรรณวดี หิรัญศุภโชค. (2564). ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567, จาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/ viewcontent.cgi?article=6215&context=chulaetd

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 80-90.

สุภาวดี กังวานวาณิชย์. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคกับความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลังในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567, จาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/ bitstream/123456789/463/1/TP%20MM.022%202556.pdf

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2566). 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566, จาก https://tradestrategies.utcc.ac.th/wp-content/uploads/2024 /01/10-ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง-ปี-67.pdf

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Thailand Internet User Behavior. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566, จาก https://www.etda.or.th/th/Our-Service/statistics-and-information/IUB2022.aspx

อุมาวรรณ วาทกิจ. (2566). ส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภคผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/262430/178654

Daoud, J. I. (2017). Multicollinearity and Regression Analysis. In Journal of Physics: Conference Series. 949(1), 012009. IOP Publishing.

Epuran, G., Ivasciuc, I. S., & Micu, A. (2015). From 4P’s to 4E’s–How to avoid the risk of unbalancing the marketing mix in today hotel businesses. Annals of Dunarea de Jos University of Galati Fascicle I Economics and Applied Informatics, 21(2), 78-85.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). NJ: Pearson Prentice Hall.

Jílková, P., & Králová, P. (2019). Customer purchase behavior and shopping in B2C e-commerce. In Proceedings of 6th International Scientific Conference Contemporary Issues in Business, Management And Economics Engineering ‘2019. doi (Vol. 10).

Kotler, P., Keller, K. L., Ancarani, F., & Costabile, M. (2014). Marketing Management 14/e. Pearson.

Stankevich, A. (2017). Explaining the consumer decision-making process: Critical literature review. In Journal of International Business Research and Marketing, 2(6),7-14.

The Knowledge. (2565). ECO-NO มู(เตลู). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2566, จาก https://www.okmd.or.th/upload/pdf/2565/PDF/The_Knowledge_vol_24.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30