The Community Based Creative Tourism and Culture: A Case Study of Hong Moon Mung KhonKean City Museum, KhonKaen Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาแนวทางการทางการพัฒนาโฮงมูนมังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ของการดำเนินงานแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา: โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา: โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา: โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key-Informants) แบบเฉพาะเจาะจง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้กำหนดนโยบาย 2) กลุ่มหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 3) ผู้ประกอบการภาคเอกชนและนักท่องเที่ยว และ 4) ผู้นำชุมชน โดยการใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหานำข้อมูลมาสรุปและเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวทางการทางการพัฒนาโฮงมูนมังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรมส่งเสริมและพัฒนาองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว 2) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาเครือข่าย 3) ด้านการประดิษฐ์คิดค้น 4) ด้านการคุ้มครอง และ 5) ด้านการจูงใจ
2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการพัฒนาโฮงมูนมังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรม คือ 1) ปัจจุบันเยาวชนคนรุ่นใหม่หลงใหลในวัฒนธรรมตะวันตก จนคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมอีสานนั้นเสื่อมถอยลง คนรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์สืบทอดสืบสานในวิถีอีสาน 2) ขาดการบริหารจัดการองค์ความรู้ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่า ร่วมกันอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมวิถีอีสานอันดีงามไม่ให้เกิดการสูญหาย 3) ไม่มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรมแบบองค์รวม หรือแบบครบวงจร
สรุป แนวทางการพัฒนาโฮงมูนมังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนต้นทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา: โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นั้น ต้องเริ่มจากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของมรดกบนต้นทุนทางวัฒนธรรม วิถีอีสาน ประเพณีอันดีงาม และให้เยาวชนหันมาอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบสานวิถีความเป็นอีสาน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ควรค่าแก่การสืบทอดไม่ให้สูญหายจากรุ่นสู่รุ่น