Thai People and Forest
Main Article Content
Abstract
หนังสือเรื่อง คนไทยกับป่า ที่ผู้เขียนสนใจและนำมาวิจารณ์ต่อไปนี้ เป็นผลงานของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ลำดับที่ 83 จัดพิมพ์โดยศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์องค์การค้าคุรุสภา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543 จำนวนพิมพ์ 100,000 เล่ม ฉบับที่ผู้วิจารณ์นำมานี้เป็นการตีพิมพ์ครั้งแรก เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่า จึงได้จัดพิมพ์เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา สำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน และอนุญาตให้ใช้หนังสือนี้ในโรงเรียนได้ แต่งแบบร้อยแก้วความเรียง โดยเลือกใช้วัฒนธรรม ภาษา สำนวนที่เกี่ยวกับป่าอ่านแล้วเข้าใจง่าย มีเนื้อหาเชื่อมโยงกันอย่างน่าสนใจ ผู้แต่งได้อธิบายถึงความเป็นมาของป่าในอดีต และพูดถึงสถานการณ์คนไทยกับป่าในปัจจุบันว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมองไปถึงอนาคต เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าป่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีพ และมนุษย์มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติต้องอิงอาศัยกัน เมื่อมนุษย์ใช้ทรัพยากร ธรรมชาติแบบขาดจิตสำนึกย่อมส่งผลกระทบธรรมชาติ ต่อตนเองและส่วนรวม และผู้แต่งได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทำลายป่าในการพัฒนาและการอนุรักษ์ทำให้ป่ายังอยู่ถาวรแบบอุดมสมบูรณ์ ธรรมชาติไม่เปลี่ยนแปลง นับได้ว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่ง ทั้งทางด้านการศึกษา และการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต