Niphphān Phuththa Thās Bhikkhu
Main Article Content
Abstract
ใในโลกใบนี้มีศาสนาหลายศาสนา อาทิเช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละศาสนาอันมีศาสดาหรือเจ้าลัทธิ เป็นผู้ค้นพบหลักธรรมของแต่ละศาสนา หลักธรรมคำสั่งสอนนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นหลักแห่งการประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุขหรือสันติสุข สันติภาพทั้งต่อตัวตนเองและผู้อื่น รวมทั้งมวลมนุษย์ชาติที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ในโลกใบนี้มีศาสนาหลายศาสนา อาทิเช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละศาสนาอันมีศาสดาหรือเจ้าลัทธิ เป็นผู้ค้นพบหลักธรรมของแต่ละศาสนา หลักธรรมคำสั่งสอนนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นหลักแห่งการประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุขหรือสันติสุข สันติภาพทั้งต่อตัวตนเองและผู้อื่น รวมทั้งมวลมนุษย์ชาติที่อาศัยอยู่ในโลกนี้
ความหมายอันแท้จริงของศาสนา คือว่า “ศาสนาจะต้องทำให้ผู้ปฏิบัติตามนั้นพบความสุขและเกิดประโยชน์สุขต่อผู้อื่นและชาวโลก” จึงถือว่าเป็นศาสนาที่แท้จริง แต่ละศาสนานั้นก็มีองค์พระศาสดาที่แตกต่างกันและมีเป้าหมายที่แตกต่างกันมากหรืออาจกล่าวได้ว่าจุดมุงหมายสูงสุดของแต่ละศาสนาแตกต่างกัน ศาสนาคริสต์มีเป้าหมายเพื่ออยู่กับพระเจ้า อิสลามมีเป้าหมายไปรวมอยู่กับพระเจ้า ศาสนาพราหมณ์มีเป้าหมายพรหมเป็นสิ่งสูงสุด แต่พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่ทรงเหตุผลมีคำสอนที่มีระบบ ระเบียบ เป็นสัจจะทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และมีเป้าหมายแห่งชีวิตที่มีศาสนาและปฏิบัติตามศาสนาจะต้องถึงฝั่งแห่งความเป็นอมตะ นิรันดร์ หรือพ้นทุกข์อย่างเด็ดขาดโดยสิ้นเชิง สมบูรณ์แบบที่สุด คือ พระนิพพาน