The basic features of Buddhist

Main Article Content

Phrakhru Wibunsilaprot
Phramaha Mit Thitapanyo

Abstract

หนังสือเรื่อง คุณสมบัติพื้นฐานของชาวพุทธ ซึ่งแต่งโดยอาจารย์วศิน อินทสระเป็นหนังสือดีลำดับที่ 196 ของชมรมกัลยาณธรรม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจใฝ่ธรรมในเชิงปรัชญาชีวิตและศาสนา เป็นการปูพื้นฐานคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี คนเราจะเป็นอะไรที่ดีได้ ก็ต้องมีคุณสมบัติของความเป็นเช่นนั้นโดยทันตแพทย์หญิงอัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์ ผู้เป็นประธานชมรม ได้ขออนุญาตพิมพ์มีจำนวนทั้งหมด 122 หน้าจัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดยชมรมกัลยาณธรรมจัดพิมพ์จำนวน 5,000 เล่ม
หนังสือเรื่อง คุณสมบัติพื้นฐานของชาวพุทธ ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ มี 5 ประการ คือ 1) ศรัทธา ความเชื่อที่มีเหตุผล 2) ศีล ความประพฤติดีทางกาย วาจา การงดเว้น จากการเบียดเบียน 3) ความไม่ถือมงคลตื่นข่าว หนักแน่นในเรื่องกรรม ไม่ถือมงคลภายนอก อันขัดกับหลักกรรม 4) ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา 5) ทำอุปการะ คือบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนาได้อธิบายรายละเอียดทั้ง 5 ประการนี้ไว้พอสมควร เป็นการปูพื้นฐานคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี คนเราจะเป็น อะไรที่ดีได้ ก็ต้องมีคุณสมบัติของความเป็นเช่นนั้น พุทธศาสนิกชนที่แท้จริง ย่อมมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะภายในดวงจิต และมีคุณสมบัติของชาวพุทธที่แท้จริงอันเป็นเครื่องหมายแห่ง “พุทธะ” คือผู้มีที่พึ่งอันประเสริฐ คือ “พระธรรม” ไม่ว่าชีวิตภายนอกอันเกี่ยวข้องกับ “โลกธรรม” จะผันผวนปรวนแปรไปเพียงไร แต่จิตใจ หรือโลกภายในของผู้เป็นชาวพุทธที่แท้ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ทุกข์กายและความสูญเสียภายนอก อาจมาระคายจิตใจได้บ้าง แล้วแต่ภูมิจิตภูมิธรรมของแต่ละท่าน ชาวพุทธที่แท้ย่อมมีความต้านทานทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง และไม่มีวันที่จะหันไปพึ่งพาสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากพระรัตนตรัยในความเป็นจริงของสังคมของเรายังมีสิ่งแอบแฝง ปลอมปนอยู่ในความเป็นพุทธมากมาย ทั้งไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังและพวกนอกลัทธิต่างๆ และอาศัยศาสนาหากิน เป็นต้น หากผู้นำสังคมไม่เอาใจใส่ ไม่ให้การศึกษา และไม่ส่งเสริมการเผยแผ่ธรรมที่ถูกตรง ย่อมมีผู้หลงคว้าที่ยึดเกาะผิด ๆ เป็นอันมาก ทั้งในส่วนตัวบุคคล ก็ต้องเป็นผู้ที่ทำบุญดีมาแต่ปางก่อน และมีความใส่ใจรักษา ไม่ศรัทธาอย่างงมงาย เราจึงจะได้เป็นหนึ่งในชาวพุทธที่มีคุณสมบัติอย่างแท้จริง จนถึงเรื่องสุดท้ายในเล่ม คือ “มนุสปฏิวัติ” ที่ช่วยปลุกสติเร้าใจให้พวกเราชาวพุทธ ตามหาแก่นแท้แห่งพุทธธรรมเพื่อความคุ้มค่าแห่งศักยภาพที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา อันเป็นหนทางดำเนินไปสู่อิสรภาพของชีวิตและจิตวิญญาณอย่างแท้จริง

Article Details

Section
ปกิณกะ (Miscellany)

References

Boonyotayan, B. (1985). Human and society. 7th edition. Bangkok :Thammasat University.

Intasara, W. (2013). The basic features of Buddhists. Bangkok : Khun Thong Industry and Printing Co., Ltd.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2012). Buddhadhamma extended edition. 32th edition. Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya University printing house.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2016). Dictionary of Buddhism pramuandhamma. 34th edition. Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya University printing house.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2016). The situation of Buddhism, the current superstition. 12th edition. Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya University printing house.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto. (2018). Dictionary of Buddhism Glossaryissue. 31th edition. Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya University printing house.

Suphap, S. (2000). Thai society and culture: values, family, religion, tradition. 11th edition. Bangkok : Thai Wattana Panich.