การพัฒนากิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนากิจกรรมการนำหลักธรรมในการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี 2) ศึกษาเปรียบทักษะชีวิตหลังการทำกิจกรรมของผู้เข้าร่วมรับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) ศึกษาเปรียบเทียบทักษะชีวิต ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจ หลังการทำกิจกรรมของผู้เข้าร่วมรับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ แบบวัดทักษะชีวิต จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง จำนวน 20 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) ซึ่งมี 5 ระดับ แบบวัดความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 แบบวัดทักษะชีวิต มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.63 ถึง 0.83 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนากิจกรรมการนำหลักธรรมในการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี 2) ศึกษาเปรียบทักษะชีวิตหลังการทำกิจกรรมของผู้เข้าร่วมรับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) ศึกษาเปรียบเทียบทักษะชีวิต ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจ หลังการทำกิจกรรมของผู้เข้าร่วมรับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) ของวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ แบบวัดทักษะชีวิต จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง จำนวน 20 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) ซึ่งมี 5 ระดับ แบบวัดความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 แบบวัดทักษะชีวิต มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.63 ถึง 0.83 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.62 ถึง 0.84 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ครบ 15 วัน จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 96.5 ไม่ครบ 15 วัน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 แยกตามผลการประเมินหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ผ่านการประเมิน จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 96.5 ไม่ผ่านการประเมิน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4
2. การพัฒนากิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) มีความพึงพอใจ มีทักษะชีวิต และมีการเห็นคุณค่าในตนเอง หลังกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการเปรียบเทียบทักษะชีวิตหลังการพัฒนากิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) จำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ผลการเปรียบเทียบทักษะชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในการพัฒนากิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีเพศต่างกัน ภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน ภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน