การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบประเมินความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PPSSE Model ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นแก้ปัญหา 3) ขั้นสรุป 4) ขั้นฝึกทักษะ 5) ขั้นประเมินผล ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 80.94/81.88 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านที่นักเรียนพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
Article Details
References
Bunargard, V. (2013). The Effects of The STAD Cooperative Learning Technique towards Learning Achievement and Critical Thinking Skills in Mathematics of Pratomsuksa 6 Students. Master of Education. Graduate School : Rambhai Barni Rajabhat University College.
Harnpitak, K. (2016). The effect of learning management based on Constructivist theory of mathematical concepts and problem-solving ability on the topic of Triangles of grade 5 students. Master's thesis. Graduate School : Burapha University.
Noyshomphoo, K. (2012). The Development of Learning Activities based on Constructivist Theory Focusing on Mathematical Problem Solving Skills in Combined Addition, Subtraction, multiplication and Division. Prathomsuksa 3. Journal of Education Graduate Studies Research Khon Kaen University, 5(3), 9-16.
Office of Academic Affairs and Educational Standards. (2008). Indicators and core learning content Learning math According to the basic education curriculum 2008. Bangkok : Printing house, Agricultural Cooperative of Thailand Limited.
Phapim, D. (2013). A study of mathematics learning achievement on Factors of a number using a cooperative teaching method with STAD techniques Grade 6. Graduate Education Thesis Mathematics. Graduate School : Udon Thani Rajabhat University.
Saduakkan, P. (1995). Effects of teaching mathematics based on the constructivist theory on lower secondary school students' mathematics learning achievement and transfer of learning abilities. Doctor of Philosophy Thesis. Graduate School : Chulalongkorn University.
Srichomphu, P. (2015). A study of mathematics learning achievement on the subject Probably by organizing a cooperative learning group STAD technique for students of grade 5, preparatory school Suwanit Wong. Master's thesis. Graduate School : Mahasarakham University.
Srisawat, C. (2012). The Development of Mathematics Learning Activitics using the Constructivist Learning Approach on “The Power Number” for Mathayomsuksa I Students. Journal of Education Graduate Studies Research Khon Kaen University, 6(1), 7-17.