ภาวะผู้นำพลังร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำพลังร่วมและระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้าง ภาวะผู้นำพลังร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำพลังร่วมและระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้าง ภาวะผู้นำพลังร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ศึกษาอิทธิพลภาวะผู้นำพลังร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4,072 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.988 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแลกเปลี่ยนหมุนเวียนการเป็นผู้นำ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสื่อสารระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพึงพอใจในงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความผูกพันต่อองค์การ
2. โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ x2 = 18.06 ɖƒ = 13 x2 / ɖƒ = 1.389 P-value = 0.0599 RMSEA = 0.045 SRMR = 0.012 CFI = 0.998 TLI = 0.993
3. อิทธิพลภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 มีค่าน้ำหนักอิทธิพลทางตรงเชิงบวก เท่ากับ 0.901 โดยตัวแปรภาวะผู้นำพลังร่วมในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ได้ร้อยละ 80.90 (R2 = 0.809)