การพัฒนาการปกครองท้องถิ่นตามสภาพของสังคมไทยโดยมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์: ข้อที่ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการปกครองตนเองของประชาชนจะทำให้ประชาชนมีอำนาจและบทบาทอย่างแท้จริง และประชาชนจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด, ข้อที่ 2 ) เพื่อศึกษาการเมืองภาคประชาชน, และข้อที่ 3) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมของการปกครองตนเอง. เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive), โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research), ที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview), การระดมสมองและโฟกัสกรุ๊ป (Brainstorming and Focus Group), โดยกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants), ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย งานด้านบริหารยุทธศาสตร์, ผู้อำนวยการแผนและนโยบายกระทรวงมหาดไทย, ผู้อำนวยการกองสารนิเทศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาความร่วมมือภาคเอกชนกระทรวงมหาดไทย, นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ งานประสานเครือข่ายระดับส่วนกลาง จังหวัดและกลุ่มจังหวัดและอนุภูมิภาค, ภาคการปกครองท้องถิ่นและเอกชน, กระทรวงมหาดไทย, และกลุ่มงานประสานเครือข่ายภาคีภาครัฐร่วมภาคการปกครองท้องถิ่นและเอกชน, กระทรวงมหาดไทย จำนวน 10 ท่านพบว่า: แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศในระยะสั้นที่มีลักษณะแผนที่เป็นขั้นตอน จึงกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นกลไกการขับเคลื่อนประเทศในระยะเริ่มต้น ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการเชื่อมต่อกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวสู่การปฏิบัติ อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมคน สังคม และ ระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงได้กำหนดแนวคิดและกลไกการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อกำกับให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีทิศทางและเกิดประสิทธิภาพ เป็นไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต่อไป