การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริกรณีศึกษา บ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วินิจ ผาเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนด้านสังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ 4) ข้อเสนอแนะ โดยการรวบรวมจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูล การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ข้อมูลได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำกลุ่มอาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิ และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 25 คน
ผลการวิจัยพบว่า บริบทของชุมชนด้านสังคมมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติอย่างเหนี่ยวแน่น ด้านการเมืองการปกครอง มีการกระจายอำนาจแบ่งการปกครองชุมชนเป็นคุ้มชุมชนต่างๆ มีการตั้งข้อปฏิบัติ กฎ กติกาของหมู่บ้านร่วมกัน ด้านวัฒนธรรมประเพณีมีความเชื่อและพิธีกรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และด้านเศรษฐกิจ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เป็นต้นทุนในการผลิต มีการรวมกลุ่มเพื่อการผลิต การจำหน่ายผลผลิตเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านเกิดจากการรวมตัวกันของผู้นำชุมชนในการค้นหาสาเหตุของปัญหาและความต้องการของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป้องกัน แล้วจึงดำเนินการสร้างความตระหนัก หล่อหลอมแนวคิดและสร้างอุดมการณ์ เพื่อเป็นการจูงใจให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม และส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จที่สำคัญได้แก่ 1)ปัจจัยภาวะผู้นำ 2) ปัจจัยกระบวนการเรียนรู้ 3) ปัจจัยระบบภาคีเครือข่าย 4) ปัจจัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี 5) ปัจจัยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐองค์กรเอกชน และภาคประชาสังคม
จากผลการศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับกระบวนการทำงานของคนในชุมชนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยการส่งผ่านเจตนารมณ์เกี่ยวกับอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารให้คนรุ่นใหม่ให้เกิดความจิตสำนึกต่อชุมชนในการพัฒนาและพร้อมที่จะร่วมมือในการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

Article Details

How to Cite
ผาเจริญ ว. . (2020). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริกรณีศึกษา บ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(2), 113–126. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/222984
บท
บทความวิจัย (Research Article)