ผลกระทบของรัฐประหารปี 2557 ต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วรรณทิพา นุชลำยอง
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 ต่อการจัดการบริการสาธารณะ 2) แนวทางการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษาแบบหลายกรณี (multiple case study design) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และการลงพื้นที่สัมภาษณ์บุคลากรจำนวน 16 รายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 5 แห่งในจังหวัดขอนแก่น
ผลการวิจัยพบว่า การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งผลกระทบต่อแนวทางการดำเนินงานของการปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการขาดการเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของท้องถิ่น และส่งผลกระทบในด้านงบประมาณโดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ในด้านการวางแผน การบริการสาธารณะ และความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ไม่ได้รับผลกระทบหรือเปลี่ยนแปลง เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกสั่งการ ควบคุม หรือแทรกแซงด้วยกลไกของรัฐบาลเป็นปกติอยู่แล้ว

Article Details

How to Cite
นุชลำยอง ว., & โล่ห์วัชรินทร์ ก. . (2020). ผลกระทบของรัฐประหารปี 2557 ต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 99–108. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/235948
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2551) .การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ต
กุหลาบ ปุริสาร. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2556)
ไชยะ เทพา.(2559).การรัฐประหารในการเมืองไทย ( ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การเมือง).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พีระพงษ์ สิทธิอมร และคณะ.(2549).ประวัติศาสตร์การเมืองไทย : ปฏิรูป ปฏิวัติ รัฐประหาร ของผู้นำทาง การเมือง พลเรือน ตำรวจ ทหาร.บรรณาธิการ ชม ภู มิภาค. กรุงเทพฯ:หจก. ซี แอนด์ เอ็น
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.(2550).การรัฐประหารในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.