พระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา พระครูเมธีธรรมนันท์ (เมธนันท์ สุเมโธ) วัดป่าหนองชาด ตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง พระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน จำแนกตามเพศ อายุ หมู่บ้านที่อาศัย แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนในตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนในเขตตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 330 คน โดยใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีระดับค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe')
ผลการวิจัยพบว่า
1. พระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.26) รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม (
= 4.25) ด้านวัฒนธรรม (
= 4.22) และด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยน้อที่สุด (
= 4.13)
2. ผลการเปรียบเทียบพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน จำแนกตาม เพศ อายุ หมู่บ้านที่อาศัย โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ประชาชนมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนในตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เรียงลำดับตามความถี่จากมากไปน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ ควรส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้งบประมาณในการที่พระสงฆ์จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนในหลายๆ ด้าน และประชาชนไม่มีความเข้าใจในการที่พระสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือบูรณะด้านวัฒนธรรม เช่น เรื่องของเก่า วัตถุโบราณ เป็นต้น
Article Details
References
Charoen-aksorn, K. (1998). The knowledge of Civil Religion. Bangkok : Chulalongkorn University.
Khamnin, S. (2010). The role of Buddhist monks in community development in Wanghai and Utaphao villages. Master of Arts. Graduate School : Chulalongkorn University.
Paksa, N. (2011). Work Performance under Strategy Development of Kaset Wisai Sub-district Administration Organization, Kaset Wisai district, Roi-et Province as the Opinion of the People. Maha Sarakham : Rajabhat Maha Sarakham University.
Phra Ratchaworamunee (Prayudh Payutto). (2007). Sangha Institute and Thai society. Bangkok : Foundation For Komolkhimthong.
Phramaha Boonmee Wanwiset. (2011). The Roles of Buddhist Monk on School Development: A Case Study of Venerable Phra Dhammavisuddhimangala (Bua Nanasampanno). Nakhon Pathom : Mahamakut Buddhist University.
Phramaha Paiboon Wipulo (Boon Lamlert). (2012). The role of Buddhist Monks on moral development in secondary schools, Nakhonchaisi district, Nakhon Pathom Province. Master of Arts Program in Buddhist Studies. Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Sutep Sukhoyachai. (2007). The role of Buddhist Monks for Resolving in moral and ethics of the youths in Khon Kaen Province. Khon Kaen : Khon Kaen University.
Saihu, P. (1968). The roles of Community Development of the Northeastern in Village Sociology Northeast. Bangkok : Chulalongkorn University.
Srisa-at, B. (2010). Elementary Research. Bangkok : Suriyasan publisher.
Srithongdaeng, C. (2009). Factors Affected on the Role of Buddhist Monks in Community development, Mueang, Roi-et Province. Master of Political Science. Graduate School : Rajabhat Mahasarakham University.