Motivation at Work of Teacher in Childhood Development Center under Local Administrative Organization Amphoe Bang Phae Ratchaburi Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยนำทฤษฎีแรงจูงใจของ Alderfer ซึ่งแบ่งแรงจูงใจไว้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการดำรงชีวิต ด้านสัมพันธภาพ ด้านความเจริญก้าวหน้า การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 50 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าดัชนีความสอดคล้อง = 0.90 และค่าความเชื่อมั่น = 0.964 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ
(F-test) เพื่อพิจารณาค่าความแปรปรวนทางเดียว สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่าง กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หากพบความแตกต่าง จึงวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบเป็นรายคู่ต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า
1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กทั้ง 3 ด้าน มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.32) เมื่อจัดลำดับพบว่า แรงจูงใจด้านสัมพันธภาพมีผลต่อการปฏิบัติงานในระดับมาก (μ = 4.39) รองลงมาคือ ด้านการดำรงชีวิต มีผลระดับมาก (μ = 4.36) และด้านความเจริญก้าวหน้า มีผลระดับมาก (μ = 4.28) ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจแต่ละด้านมีผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ผลปรากฏว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
โกมล บัวพรหม. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กังวาน ชํานาญ. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บงกชธร เพิกนิล. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสัตหีบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชลชลบุรี เขต 3. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ผ่องศรี พันธ์นาสี. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในเขตอำเภอโคกสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรศิลป์ ศรีเรืองไร. (2553). การศึกษาปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542, 17 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 48.
มนต์สิงห์ ไกรสมสุข. (2552). แรงจูงใจในการทํางานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนคาทอริค สังกัดอัครสังฆมลฑลกรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มูหัมมัดมูฟตี ดือราแม. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). สมรรถนะ 7 ด้าน ที่เด็กปฐมวัยต้องมี. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealthcenter.org/campaign/content/detail/40
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุวนีย์ ฤทธิ์ถาพรม. (2555). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Alderfer P. Clayton. (1972). Existence: Relatedness and growth, human needs in organizational setting. New York: Free press.
Herzberg, Frederick. (1967). Work and the Nature of Man. New York: The World Publishing Company.