การประเมินโครงการหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554
Main Article Content
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้คือ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 2) เพื่อประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนการรู้ตามหลักสูตรและ 3) เพื่อประเมินคุณภาพนักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 213 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 5 คน คณะกรรมการห้องเรียนพิเศษ 10 คน ครูผู้สอนในหลักสูตร จำนวน 18 คน นักเรียนห้องเรียนพิเศษในหลักสูตร จำนวน 90 คนและผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ในหลักสูตร จำนวน 90 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie& Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร2) แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร 3) แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพนักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตร และ 4) แบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบภายในของหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 รวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56 – 4.88 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตรภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (= 3.60 – 4.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตรภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (= 2.93 – 4.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัญจน์ชญาน์ สรรเสริญ. (2551). การประเมินหลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฆนัท ธาตุทอง. (2552). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนรัช.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตร: ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพ๊อยท.
โรงเรียนบัวขาว. (2562). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กาฬสินธุ์: โรงเรียนบัวขาว.
ศิรินันทน์ พรหมดำรง. (2553). รายงานการวิจัยการประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการสอนสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี พุทธศักราช 2541. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. กรุงเทพฯ: สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สรัล เลาพันธ์. (2552). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา พุทธศักราช 2538 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาพร เรืองปิยะเสรี. (2551). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Byland, H. (2002). What Works : Research-Based Best Practices in Development Education. New York: National Center for Developmental Education.
Mingucci, M. M. (2002). Action Research as ESL Teacher Professional Development. Dissertation Abstracts International, 63(2), 451.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The university of Chicago Press.