การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พระสังฆาธิการที่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธ์ จำนวน 257 รูป โดยวิธีคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. พระสังฆาธิการมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการวิเคราะห์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและด้านการจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2. ผลเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามสังกัดคณะสงฆ์ พรรษา ระดับการศึกษาทางธรรมและตำแหน่งทางคณะสงฆ์ โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นระดับการศึกษาทางโลกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ข้อเสนอแนะการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ควรจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการวางแผนจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และควรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์
Article Details
References
กนกวรรณ ช่างหลอม. (2557). ปัญหาและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย.
กรสา แพน้อย. (2556). ปัญหาของนักศึกษาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ชริสา พรหมรังสี. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นิรุธ ลิ้มตระกูล. (2554). การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มสมรรถนะองค์การ กรณีศึกษาธนาคารกสิกรไทยในเขต 45. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรรษชล ไตรพิริยะ. (2560). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการงานด้านวิชาการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พระสุระ สนิทชัย และรชพล ศรีขาวรส. (2562). บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ, ครั้งที่ 6 วันที่ 30 มีนาคม 2562. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
สมเกียรติ เพ็ชรมาก และนุชจรี บุญเกต. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อชุมชนของคณะสงฆ์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(3), 357-368.
สินธพ ศรีลารักษ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
หทัยชนก มาตย์แสงและคณะ. (2557). การบริหารงานระบบสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. เข้าถึงได้จาก http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/jmcukk/article/view/2127